Skip to main content

ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้

ผมเดาว่าการลดประชากรนักเรียนนั้นมีเหตุส่วนหนึ่งมาจากการลดน้อยลงของประชากร คือเด็กเกิดน้อยลง จากที่เคยมีลูก 7-8 คน ปัจจุบันในชนบทก็มีกันแค่ 2-3 คนเป็นอย่างมาก แต่จากประสบการณ์ตอนที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งไม่ได้ห่างไกลกรุงเทพฯ มากมายเลย ผมมีข้อสังเกตต่อนโยบายนี้สั้นๆ ว่า 

1) โรงเรียนในหมู่บ้านที่ผมศึกษามีปัญหามากในการรักษาจำนวนนักเรียนให้ได้เกินร้อย วิธีหนึ่งก็คือการดึงเด็กไปเข้าโรงเรียนเร็วขึ้น คือเด็กจะเรียนชั้นอนุบาลและประถมเร็วขึ้น ซึ่งนั่นก็อาจจะก่อปัญหาอีกลักษณะหนึ่ง คือเด็กยังไม่พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้แบบกระทรวงศึกษาประเทศไทย

2) แต่เอาเข้าจริงๆ โรงเรียนไม่มีครูเพียงพอแก่การสอน วิธีแก้ปัญหาของครูใหญ่ (จะเรียกหรูๆ ว่าผู้อำนวยการโรงเรียนก็ได้) วิธีหนึ่งคือ ใช้โครงการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เปิดทีวีนำสัญญาญภาพทางไกลมาให้นักเรียนดู เป็นครูตู้ไป ดังนั้นปัญหาการขาดแคลนครูมีไม่น้อยกว่าปัญหาการขาดแคลนเด็กนักเรียน 

3) เมื่อยุบโรงเรียน ปัญหาหนึ่งคือการเดินทาง อย่าคิดว่าเส้นทางสัญจรในชนบทจะดีเหมือนในกรุงเทพฯ ในกทม. ฝนตกหน่อยเราก็ร้องแทบเป็นแทบตายว่ารถติด เฉอะแฉะ เด็กเปียกปอน กลัวลูกหลานเป็นหวัด ฯลฯ 

แต่ในต่างจังหวัด ถนนไม่ได้ดีอย่างนี้ ถนนภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังเป็นลูกรัง แล้วพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำท่วมทุกปี ถนนพังเสมอ ใครที่ว่าอบต. มักหากินกับการรับเหมาก่อสร้าง ก็ควรเข้าใจด้วยว่า ในชนบทน่ะ ถนนไม่ได้คอยถูกเนรมิตให้เรียบเนียน สะอาด แบบถนนหน้าบ้านพวกคุณในกทม.

เมื่อโรงเรียนถูกยุบรวมกัน นักเรียนต้องเดินทางไปต่างหมู่บ้านที่ไกลกันสัก 5-10 กิโลเมตร เส้นทางแค่นี้ดูไม่ไกลสำหรับคนมีรถขับในกทม. แต่ผู้ปกครองในต่างจังหวัดอย่างมากก็มีมอร์เตอร์ไซค์รับส่งลูก น้อยนักที่จะมีรถกะบะ หรืออย่างหรูปลอดภัยกว่ามอร์'ไซค์ก็รถอีแต๋น-อีแต๊กซึ่งก็ทุลักทุเล ไม่มีหรอกรถโรงเรียน หรือแม้แต่รถประจำทางก็แทบไม่มี การคงโรงเรียนขนาดเล็กในบางท้องถิ่นจึงช่วยในเรื่องความปลอดภัยและความสะดวกของผู้ปกครอง

4) ผมเห็นโรงเรียนที่ถูกปิดตัวลงแล้วก็น่าเห็นใจ เพราะขนาดค่อนข้างใหญ่ ก็ไม่รู้ว่าหลังจากปิดตัวลงแล้วที่ดินและทรัพยากรที่รกร้างเห่านั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป

5) หากไม่มองปัญหาแบบเหมารวมรวบยอดและคิดว่าจะแก้ไขได้ด้วยการใช้นโยบายเดียวกันสาดไปทั่วประเทศ บางทีอาจจะต้องคิดถึงการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ไปว่า พื้นที่ไหนควรจัดการการศึกษาอย่างไร เช่น พื้นที่ไหนพร้อมที่ท้องถิ่นจะจัดการโรงเรียนเองได้ ก็ปล่อยเขาไปโดยกระทรวงศึกษาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่กำกับควบคุม พื้นที่ไหนยุบรวมแล้วไม่ก่อปัญหากับนักเรียนและผู้ปกครอง ก็สามารถทำได้เลย พื้นที่ไหนจำเป็นต้องยอม "ขาดทุน" แต่ในเมื่อต้นทุนทางสังคมสูงกว่าหากจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก รัฐก็ต้องยอมขาดทุน ยอมจ่ายเพื่อเด็กๆ บ้างจะไม่ได้เชียวหรือ

คำพูดของรัฐมนตรีฯ สั้นๆ แต่มีความหมายและมีผลใหญ่หลวง หากแต่การศึกษาข้อเท็จจริงและทางเลือกของการแก้ปัญหาในระยะยาวแบบเข้าใจโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม เข้าใจโครงสร้างปัญหาที่นอกเหนือจากความคุ้มทุนที่คำนวนเฉพาะจำนวนนักเรียนกับห้องเรียน เห็นปัญหาการขาดแคลนครู รวมทั้งเห็นทางเลือกอื่นๆ เช่นการสร้างโรงเรียนนิติบุคคลให้อบต.ดูแลแล้วผู้ปกครองในท้องถิ่นมีส่วนร่วม จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าไหม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก