Skip to main content

อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ผมรู้จักอาจารย์ชาญวิทย์มาตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่่ายการนักศึกษา ผมทำกิจกรรมนักศึกษา จึงมีโอกาสโต้เถียงท้าทายท่านบ้าง ตามประสาคู่กัด "รองฯ ฝ่ายการฯ กับเด็กกิจกรรม" สมัยนั้น

แต่ผมน่ะเป็นเพียงระดับรองบ่อน พวกพี่ๆ ที่ปะทะคารมกับอาจารย์ซึ่งๆ หน้า สมันนั้นน่ะเหรอ เอ่ยชื่อมาก็ล้วนแต่เป็นคนที่ทำกิจกรรมสังคมร่วมกันกับอาจารย์ชาญวิทย์ในขณะนี้แทบจะทั้งสิ้น

ผมไม่ได้เคยทำงานใกล้ชิดอาจารย์เลย ส่วนใหญ่ก็เห็นท่านเพียงห่างๆ แต่ก็ได้ร่วมสนทนากับท่านบ้างก็เมื่อผมศึกษาปริญญาเอกจบแล้ว ท่านมักให้โอกาสไปบรรยายในงานวิชาการที่ท่านจัดขึ้นบ่อยๆ

เวที "วิชาการสไตล์อาจารย์ชาญวิทย์" นั้นเป็นเวทีพิเศษ แตกต่างจากเวทีวิชาการที่ผมคุ้นเคยตรงที่มีผู้คนสนใจกว้างขวาง ผู้เข้ารับฟังส่วนใหญ่เรียนรู้ประเด็นและเนื้อหาใหม่ๆ ที่ต้องนำเสนอแบบ "เคี้ยวได้ ย่อยง่าย ไม่ต้องปีนบันไดเรียน" ผมไม่มีทางนำเสนองานแบบท่านได้ แต่ก็ได้เรียนรู้และพยายามปรับวิธีการสื่อสารกับสังคม จากการได้เข้าร่วมเวทีวิชาการของอาจารย์ชาญวิทย์

แต่ที่ประทับใจมากคือครั้งหนึ่งและทำให้ผมรู้สึกสนิทใจที่จะพูดคุยสนทนากับอาจารย์เสมอมาคือ เมื่อหลายปีก่อนที่อาจารย์ไปประชุมที่ฮานอย ระหว่างนั้นผมยังค้นคว้าและเก็บข้อมูลภาคสนามอยู่ที่นั่น ช่วงนั้นมีเพื่อนๆ นักวิชาการไทยวิจัยที่เวียดนามอยู่พร้อมๆ กันหลายคน พวกเรา 4-5 คนชวนอาจารย์ไปนั่งกินดื่มเบียร์สดสไตล์ฮานอยกันที่ร้านข้างถนนแห่งหนึ่ง 

ผมทึ่งว่าอาจารย์สุขภาพดีมาก คอแข็งมาก คุยสนุกมาก อาจารย์เปรยว่า "พวกที่เมืองไทยมันไม่กล้ามาคุยกับผมแบบนี้หรอก มันกลัว เลยไม่สนุก" เราพูดคุยกันจนดึกดื่น แล้วพวกเราก็เดินจากร้านมาส่งอาจารย์ถึงที่พัก ฮานอยเดือนนั้นอากาศดี เดิน 4-5 กิโลฯ ก็ยังไม่เหนอะหนะ

จนเมื่อเร็วๆ นี้ ผมแทบไม่เชื่อว่าอาจารย์จะก้าวออกมาอยู่แนวหน้าของการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องหลักการประชาธิปไตย ความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งขัน 

อาจารย์ชาญวิทย์ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพียงในฐานะ "นักวิชาการบัญชีหางว่าว" อาจารย์ไม่เพียงเคลื่อนไหวแต่ในนาม หากแต่ท่านยังแสดงตัว พูด เขียน ออกสื่อ เผยแพร่ความคิดให้ประชาชน เพื่อนนักวิชาการ และสหายใน "สังคมชนชั้นนำ" ให้เข้าใจชีวิต ความหวัง และความเดือดร้อนของประชาชนสามัญ

ข้อเขียนนี้สั้นเกินไปที่จะบอกกล่าวความนับถือที่ผมมีต่ออาจารย์ชาญวิทย์ น้อยไปที่จะบอกเล่าความภูมิใจที่ได้ร่วมงานแม้เพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของกิจกรรมต่างๆ ที่อาจารย์สร้างสรรค์ขึ้น 

แต่ผมก็อยากใช้พื้นที่เล็กน้อยนี้กล่าวว่า อาจารย์ชาญวิทย์เป็นแบบอย่างของนักวิชาการที่ไม่หวาดหวั่นต่อความสุ่มเสี่ยงในการนำชื่อเสียงของตนเองมาปกป้องเพื่อนมนุษย์ ไม่กอดกุมเสวยสุขจากบารมีทางวิชาการของตนเองจนหันหลังให้ประชาชนในที่สุด

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ