Skip to main content
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา

 
โจทย์ข้างต้นเป็นหัวข้อเสวนาวานนี้ (18 สิงหาคม 2556) ที่ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จัดโดยกลุ่มสภาหน้าโดมและ New Culture ผมเป็นผู้ร่วมเสวนาคนหนึ่ง ผมเสนอว่าระบบการศึกษาไทยที่ผมต่อสู้อยู่ด้วยนั้นมี 3 ลัทธิ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา (ไม่ใช่ท่านรองอธิการบดีที่รักของผมนะครับ) และลัทธิแบบฟอร์มของระบบประกันคุณภาพ เอาไว้ค่อยเล่าถึง 3 ลัทธินี้ในโอกาสอื่น แต่ตอนนี้อยากเล่่าบรรยากาศที่น่าประทับใจในการเสวนาวานนี้ก่อน
 
1) เมื่อวานนี้คนมาเยอะมาก เต็มห้อง น่าจะสัก 100 กว่าคน น่าสังเกตว่าส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา นี่แสดงว่านักเรียนนักศึกษา พูดง่ายๆ คือวัยรุ่นกลุ่มใหญ่พอสมควรทีเดียวให้ความสำคัญกับการศึกษามากๆๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าการศึกษาจะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่เท่านั้น แต่พวก "เด็กๆ" เขาก็สนใจอย่างจริงจังเหมือนกัน แม้ว่าส่วนใหญ่พวกเขาจะมาพร้อมกับความอึดอัด แต่พวกเขามีประเด็นดีๆ มาเสนอมากมาย 
 
เช่นว่า มีการวิพากษ์แบบเรียนที่ ในภาษาของผมคือ "งมงาย" ในหลายๆ มิติ คำถามน่าสนใจหนึ่งคือ หากนักเรียนสอบตกมาก ครูหรือนักเรียนกันแน่ที่โง่ ทำไมการศึกษาไทยให้ความสำคัญกับสายวิทย์มากกว่าสายศิลป์ และยังถามไปถึงความรุนแรง ความงมงายของระบบโซตัสในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
 
คำถามคือ พวกผู้ใหญ่น่ะเปิดโอกาสให้เขาแสดงออกแค่ไหน เปิดโอกาสให้เขาพูดในวิธีและเนื้อหาที่เขาสนใจแค่ไหน อยากฟังเขาพูดหรือไม่ หากยังเห็นแค่ว่าพวกเขาเรียกร้องอะไรก็เพียงเพื่อจะได้ไม่ต้องทำการบ้านมากนัก ให้มีเสรีภาพในการแต่งเนื้อแต่งตัวตามใจชอบมากขึ้นเท่านั้น ให้เรียนแต่เรื่องง่ายๆ จบง่ายๆ แค่นั้นละก็ คุณก็จะไม่ได้รับรู้ทัศนะจากคนที่ "รับการศึกษา" ซึ่งรับรู้และเข้าใจปัญหาการศึกษาไม่น้อยไปกว่า "ผู้ให้การศึกษา" 
 
2) นอกจากเนื้อหา วิธีการแสดงออกก็สำคัญ บางทีการแสดงออกของวัยรุ่นอาจดูขัดหูขัดตาบ้าง บางคนพูดในลีลาชาวฮิปฮอป บางคนอาจพูด "คำหยาบ" ปนบ้าง มีคำว่า "แม่ง" "เฮ้ย" "วะ" ฯลฯ บ้่าง แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า นั่นคือส่วนหนึ่งกระบวนการคิดในชีวิตประจำวันของพวกเขา พวกเขาคิดด้วยคำเหล่านั้น คำหยาบ คำแสลงมีไวยากรณ์ของมันเอง ไม่เชื่อลองคิดและเขียนผ่านคำหยายดู ไม่ง่ายเลยนะครับ 
 
ไม่ใช่ว่าไม่มี "เด็กๆ" คนไหนพูดภาษาของผู้ใหญ่ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า กว่าที่พวกเขาจะใช้ภาษาผู้ใหญ่ได้ เขาอาจหลงลืมประเด็นหรือข้อคิดเห็นแบบตรงไปตรงมาของเขาไปหมดแล้ว เขาอาจถูกขัดเกลาไปจนเชื่องหมดแล้ว ภาษาคือเครื่องประกอบความคิด คนเราคิดผ่านภาษา หากเราพยายามแยกวัยรุ่นออกจากภาษาของพวกเขา เราก็จะแยกความคิดออกจากภาษาของพวกเขา ออกจากการแสดงออกของพวกเขา แล้วพวกเขาก็จะไม่แสดงความคิดเห็น พวกเขาก็จะไม่คุยกับคุณ แล้วปัญหาของพวกเขาก็จะไม่ได้ถูกรับรู้ ถึงขนาด wisdom ของพวกเขาที่แสดงออกในแบบของเขาก็จะไม่ได้รับการใส่ใจในสังคม 
 
3) ในแง่โครงสร้างสังคมไทยโดยกว้าง หากเทียบกับนักเรียนรุ่นก่อนหน้า คือรุ่น "คนเดือนตุลา" ผมคิดว่าลักษณะพิเศษของคนรุ่นนี้คือ พวกเขามาจากโรงเรียนที่เชื่อมโยงกับ "คนชั้นกลางใหม่" หรือ "ชนชั้นกลางระดับล่าง" ไม่ใช่โรงเรียนแถวปากคลอง หรือโรงเรียนแถวสามย่านอีกต่อไป น่าสนใจอีกจุดหนึ่งของวันนี้ คือ มีวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่เรียน "เมืองนอก" อยู่ที่มหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ มาร่วมฟังและแสดงความเห็นอย่างเอาใจใส่กระทั่งใส่อารมณ์ร่วมอยู่หลายคน แต่พวกเขาไม่ใช่เด็กเนิร์ดเชื่องๆ พวกเขามีความเห็นที่ก้าวหน้า ไม่ต่างจากนักเรียนจากชนชั้นกลางใหม่ น่าคิดว่า ผู้นำทางความคิดในรุ่นต่อไปอาจจะมาทั้งจากคนที่มีพื้นฐานกว้างออกไป ผสมกับคนที่มีพื้นฐานจากชนชั้นกลางเก่า หากแต่มีแนวคิดที่แตกต่างอย่างยิ่งจากพ่อแม่ของพวกเขา
 
คนรุ่นนี้สนใจปัญหาใกล้ตัว ปัญหาตนเอง แล้วจึงค่อยๆ ขยายไปสู่สังคมวงกว้าง ต่างจากสมัยก่อนที่สนใจปัญหาคนอื่น ปัญหาไกลตัว และมีลักษณะเหมือนไปกอบกู้ ช่วยเหลือ สงเคราะห์ "ชนชั้นผู้ทุกข์ยาก" ในที่สุดแล้วทุกวันนี้นักศึกษากลุ่ม "เดือนตุลา"ส่วนหนึ่งจึงกลายเป็น "ชนชั้นกลางระดับสูง" ที่ขัดแย้งกับ "ชนชั้นกลางระดับล่าง" ที่พวกเขาไม่ได้รู้จักจริงจัง แต่เคยพยายามเป็นตัวแทนต่อสู้ให้มาก่อน มาวันนี้ คนชั้นกลางระดับล่างเหล่านี้ลุกขึ้นมาสู้ด้วยตนเองแล้ว ลูกหลานของพวกเขาเข้ามาอยู่ในระบบโรงเรียน ออกมาต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำ ต่อสู้กับการครอบงำที่ไร้เหตุผลของระบบ "ด้วยตนเอง" มากขึ้นแล้ว นี่ยังไม่นับว่า "คนเดือนตุลา" ยังจะต้องทนกับความคิดแตกต่างของลูกหลานตนเอง ที่ก้าวหน้ากว่าพวกตน อย่างน้อยก็เท่าที่เห็นในวันนี้
 
4) ดูจากบรรยากาศวันนี้แล้ว ผมว่าสังคมไทยมีความหวังมาก แม้ว่าเราจะยังไม่ค่อยได้พูดกันถึงทางออกที่เป็นรูปธรรม ยังสร้างบทสรุปสำหรับผู้บริหารที่อ่านอะไรยาวๆ เกินแปดบรรทัดไม่เป็นก็ตาม (ก็ช่วยไปคิดกันเอาเองบ้างเถอะครับพวกผู้บริหารน่ะ จะมาคอยอ่านบทสรุปอย่างเดียวก็ไม่รู้จะจ้างพวกคุณมาทำอะไร) แต่ผมคิดถึงว่า วันรุ่นพวกนี้เขามาไกลพอสมควรแล้ว ผมสงสัยว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นวันนี้จะจัดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านเราที่ไหนได้บ้าง ที่เวียดนาม ลาว สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่าน่ะไม่มีทาง ที่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ผมไม่รู้ รู้แต่ว่าหากเราไม่มุ่งหวังถึงขนาดเป้าหมายสูงส่งอย่างในยุโรป ในอเมริกา การศึกษาในประเทศไทยมีความหวังกว่าเพื่อนบ้านหลายประเทศมากนัก แต่แน่นอนว่า เราควรใฝ่สูง ฝันไกลๆ เอาไว้กับการศึกษาไทยไว้ด้วย
 
สุดท้าย อาจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณผู้ร่วมเสวนาให้ข้อคิดสำคัญว่า การศึกษาไม่ได้แยกขาดจากสังคมด้านต่างๆ จะมุ่งคิดแก้ปัญหาการศึกษาอย่่างเดียวไม่ได้ บก.ลายจุดซึ่งนั่งเสวนาอยู่ด้วยกันอีกคนชวนให้คนที่วิพากษ์การศึกษาออกมาทำโรงเรียน ทำมหาวิทยาลัยขนาดย่อม ที่ตอบโจทย์การมีชีวิตมากกว่าปัจจุบัน แต่ผมเสนอให้สู้ในระบบ ผมเลือกจะสู้ในระบบ 
 
ผมคิดว่่ามหาวิทยาลัยและโรงเรียนต้องเป็นอิสระจากระบบราชการให้มากกว่านี้ ขณะนี้มหาวิทยาลัยเลี้ยงตัวเองมากขึ้นจนเกินครึ่งตัวในทางเศรษฐกิจ แต่ยังถูกควบคุมครอบงำอยู่มากในทุกด้าน ทั้งด้านการจัดการศึกษา การสร้างความรู้ และการบริการสังคม โรงเรียนและมหาวิทยาลัยยังไม่ได้เปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเข้าไปมีส่วนบริหาร ธรรมศาสตร์กำลังจะมี แต่ยังไม่รู้ว่าจะฝ่าด่านการสืบทอดอำนาจบริหารในมหาวิทยาลัยไปได้แค่ไหน แต่นั่นเป็นเพียงข้อเสนอห้วนๆ ที่ยังต้องการรายละเอียดอีกมากมายยิ่งนัก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน