Skip to main content

แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 

เสกสรรค์ไม่ได้เสนออะไรใหม่ ข้อนี้ไม่ต้องมาบอกกันก็รู้ แต่ถ้าใครประเมินปาฐกถานี้ของเสกสรรค์จากเพียงเกณฑ์แค่นี้ ผมก็ว่าเป็นการดูเบาปาฐกถานี้เกินไป อย่างน้อยที่สุด วิธีประกอบสร้างความคิด การใช้ถ้อยคำในการนำเสนอ การเรียบเรียงภาษา พร้อมทั้งการแสดงปาฐกถา ล้วนประกอบเข้าด้วยกันอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นเสกสรรค์ ประเสริฐกุล 

ผมคิดว่าเขาแสดงจุดยืนชัดเจนว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2549 เอาเถอะ แม้จะพูดช้าเกินกาลไปมาก แต่ก็ไม่แย่นักที่จะยอมแตกหักกับมิตรสหายและ "อดีต" (ex...) ของเขา เสกสรรค์กล่าวถึงพฤษภา 53 ในฐานะที่เป็นความรุนแรงโดยรัฐเช่นเดียวกับตุลา 16, ตุลา 19 และพฤษภา 35 ประเด็นเหล่านี้ทำให้เขายืนอยู่บนเวทีหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ในบ่ายวันที่ 13 ตค. 56 ได้จนจบการปาฐกถา 

มีบางประเด็นที่ยังความปลาบปลื้มส่วนตนมาสู่ผม คือการที่เสกสรรค์ใช้คำศัพท์ที่ทีมวิจัยผมใช้ ตลอดจนการที่เสกสรรค์มองปัญหาเชิงโครงสร้างในกรอบเดียวกัน คือปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกลางเก่า (มวลชนเสื้อเหลือง) กับชนชั้นกลางใหม่ (มวลชนเสื้อแดง) โดยมีชนชั้นนำเก่าและชนชั้นนำใหม่เป็นพันธมิตรด้วย สำหรับคนที่ทำงานวิชาการ แค่ได้รู้ว่ามีคนอ่านงานและนำไปใช้ในมิติสาธารณะอย่างนี้ก็เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่แล้ว 

ประเด็นหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจเป็นพิเศษและเกินไปจากที่เคยคิดคือ การที่เสกสรรค์พยายามประคับประคองและหาหนทางปรองดองการต่อสู้ของชนชั้นกลางใหม่ในระบอบรัฐสภากับการเลือกตั้งให้ไปด้วยกันได้กับการเมืองภาคประชาชน เขาพยายามย้ำว่า การเมืองสองส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์กันในท่ามกลางความขัดแย้งระลอกใหม่นี้ ประเด็นนี้ผมว่าคนเสื้อแดงที่นั่งฟังอยู่ยังไม่ "ซื้อ" นัก 

ที่ว่าไม่ซื้อ เพราะที่ผ่านมาบรรดาผู้ที่ขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชนเป็นปฏิปักษ์กับการเมืองของชนชั้นใหม่อย่างร้าวลึก พวกเขาเป็นหัวขบวนของการเมืองภาคประชาชนผู้ต่อต้านทุนนิยม และเรียกร้องประชาธิปไตยทางตรงผ่านการเดินขบวน การเคลื่อนไหวทางการเมืองทางตรง และต้องการตรวจสอบควบคุมนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง พวกเขาคิดว่าตนเองรู้ดีกว่าประชาชนทั่วไปว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของประชาชนเหล่านั้น หัวขบวนของการเมืองภาคประชาชนนั้นก็คือส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางเก่านั่นเอง และดังนั้น นักการเมืองภาคประชาชนเก่านี้จึงไม่ลังเลที่จะสนับสนุนการรัฐประหาร 2549 และการรัฐประหารครั้งต่อๆ หากจะมีขึ้นมาอีกได้ เพื่อโค่นอำนาจของชนชั้นนำใหม่ซึ่งเป็นผู้นำของทุนนิยมเสรี 

นึกอีกที ผมอยากรู้ว่าหากเสกสรรค์พูดกับฝ่ายชนชั้นกลางเก่่า พูดกับสหายการเมืองภาคประชาชนของเขา เขาจะพูดอย่างไร เขาจะทำให้พวกนั้นยอมรับความผิดพลาดที่ไปสนับสนุนการรัฐประหาร 2549 จนเหตุการณ์บานปลายมาถึงการปราบปรามปราชนเมื่อ พฤษภา 53 หรือไม่ ผมไม่มั่นใจ และดังนั้น ผมไม่คิดว่าเสกสรรค์จะสามารถพูดให้สหายการเมืองภาคประชาชนของเขายอมฟังคำปาฐกถาของเขาจนจบได้เท่ากับที่สหายเสื้อแดงชนชั้นใหม่ของเขายอมฟังเขาจนจบ 

ผมจึงคิดว่า ปาฐกถาของเสกสรรค์คือคำขอการปรองดองระหว่างชนชั้นใหม่กับสหายการเมืองภาคประชาชนของเขา เป็นความพยายามประสานรอยร้าวระหว่างปีกสังคมนิยมและการเมืองภาคประชาชนในชนชั้นกลางเก่า กับปีกเสรีนิยมและประชาธิปไตยตัวแทนในชนชั้นกลางใหม่ แต่เทียบเชิญเพื่อการปรองดองนี้จะต้องส่งไปทั้งสองฝ่าย เสกสรรค์อาจประสบความสำเร็จในการเป็นทูตเจรจากับฝ่ายชนชั้นกลางใหม่ แต่กับชนชั้นกลางเก่า ผมไม่แน่ใจว่าพวกนั้นเขาจะฟังเสกสรรค์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม