Skip to main content

แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 

เสกสรรค์ไม่ได้เสนออะไรใหม่ ข้อนี้ไม่ต้องมาบอกกันก็รู้ แต่ถ้าใครประเมินปาฐกถานี้ของเสกสรรค์จากเพียงเกณฑ์แค่นี้ ผมก็ว่าเป็นการดูเบาปาฐกถานี้เกินไป อย่างน้อยที่สุด วิธีประกอบสร้างความคิด การใช้ถ้อยคำในการนำเสนอ การเรียบเรียงภาษา พร้อมทั้งการแสดงปาฐกถา ล้วนประกอบเข้าด้วยกันอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นเสกสรรค์ ประเสริฐกุล 

ผมคิดว่าเขาแสดงจุดยืนชัดเจนว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2549 เอาเถอะ แม้จะพูดช้าเกินกาลไปมาก แต่ก็ไม่แย่นักที่จะยอมแตกหักกับมิตรสหายและ "อดีต" (ex...) ของเขา เสกสรรค์กล่าวถึงพฤษภา 53 ในฐานะที่เป็นความรุนแรงโดยรัฐเช่นเดียวกับตุลา 16, ตุลา 19 และพฤษภา 35 ประเด็นเหล่านี้ทำให้เขายืนอยู่บนเวทีหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ในบ่ายวันที่ 13 ตค. 56 ได้จนจบการปาฐกถา 

มีบางประเด็นที่ยังความปลาบปลื้มส่วนตนมาสู่ผม คือการที่เสกสรรค์ใช้คำศัพท์ที่ทีมวิจัยผมใช้ ตลอดจนการที่เสกสรรค์มองปัญหาเชิงโครงสร้างในกรอบเดียวกัน คือปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกลางเก่า (มวลชนเสื้อเหลือง) กับชนชั้นกลางใหม่ (มวลชนเสื้อแดง) โดยมีชนชั้นนำเก่าและชนชั้นนำใหม่เป็นพันธมิตรด้วย สำหรับคนที่ทำงานวิชาการ แค่ได้รู้ว่ามีคนอ่านงานและนำไปใช้ในมิติสาธารณะอย่างนี้ก็เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่แล้ว 

ประเด็นหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจเป็นพิเศษและเกินไปจากที่เคยคิดคือ การที่เสกสรรค์พยายามประคับประคองและหาหนทางปรองดองการต่อสู้ของชนชั้นกลางใหม่ในระบอบรัฐสภากับการเลือกตั้งให้ไปด้วยกันได้กับการเมืองภาคประชาชน เขาพยายามย้ำว่า การเมืองสองส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์กันในท่ามกลางความขัดแย้งระลอกใหม่นี้ ประเด็นนี้ผมว่าคนเสื้อแดงที่นั่งฟังอยู่ยังไม่ "ซื้อ" นัก 

ที่ว่าไม่ซื้อ เพราะที่ผ่านมาบรรดาผู้ที่ขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชนเป็นปฏิปักษ์กับการเมืองของชนชั้นใหม่อย่างร้าวลึก พวกเขาเป็นหัวขบวนของการเมืองภาคประชาชนผู้ต่อต้านทุนนิยม และเรียกร้องประชาธิปไตยทางตรงผ่านการเดินขบวน การเคลื่อนไหวทางการเมืองทางตรง และต้องการตรวจสอบควบคุมนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง พวกเขาคิดว่าตนเองรู้ดีกว่าประชาชนทั่วไปว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของประชาชนเหล่านั้น หัวขบวนของการเมืองภาคประชาชนนั้นก็คือส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางเก่านั่นเอง และดังนั้น นักการเมืองภาคประชาชนเก่านี้จึงไม่ลังเลที่จะสนับสนุนการรัฐประหาร 2549 และการรัฐประหารครั้งต่อๆ หากจะมีขึ้นมาอีกได้ เพื่อโค่นอำนาจของชนชั้นนำใหม่ซึ่งเป็นผู้นำของทุนนิยมเสรี 

นึกอีกที ผมอยากรู้ว่าหากเสกสรรค์พูดกับฝ่ายชนชั้นกลางเก่่า พูดกับสหายการเมืองภาคประชาชนของเขา เขาจะพูดอย่างไร เขาจะทำให้พวกนั้นยอมรับความผิดพลาดที่ไปสนับสนุนการรัฐประหาร 2549 จนเหตุการณ์บานปลายมาถึงการปราบปรามปราชนเมื่อ พฤษภา 53 หรือไม่ ผมไม่มั่นใจ และดังนั้น ผมไม่คิดว่าเสกสรรค์จะสามารถพูดให้สหายการเมืองภาคประชาชนของเขายอมฟังคำปาฐกถาของเขาจนจบได้เท่ากับที่สหายเสื้อแดงชนชั้นใหม่ของเขายอมฟังเขาจนจบ 

ผมจึงคิดว่า ปาฐกถาของเสกสรรค์คือคำขอการปรองดองระหว่างชนชั้นใหม่กับสหายการเมืองภาคประชาชนของเขา เป็นความพยายามประสานรอยร้าวระหว่างปีกสังคมนิยมและการเมืองภาคประชาชนในชนชั้นกลางเก่า กับปีกเสรีนิยมและประชาธิปไตยตัวแทนในชนชั้นกลางใหม่ แต่เทียบเชิญเพื่อการปรองดองนี้จะต้องส่งไปทั้งสองฝ่าย เสกสรรค์อาจประสบความสำเร็จในการเป็นทูตเจรจากับฝ่ายชนชั้นกลางใหม่ แต่กับชนชั้นกลางเก่า ผมไม่แน่ใจว่าพวกนั้นเขาจะฟังเสกสรรค์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว