Skip to main content

แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 

เสกสรรค์ไม่ได้เสนออะไรใหม่ ข้อนี้ไม่ต้องมาบอกกันก็รู้ แต่ถ้าใครประเมินปาฐกถานี้ของเสกสรรค์จากเพียงเกณฑ์แค่นี้ ผมก็ว่าเป็นการดูเบาปาฐกถานี้เกินไป อย่างน้อยที่สุด วิธีประกอบสร้างความคิด การใช้ถ้อยคำในการนำเสนอ การเรียบเรียงภาษา พร้อมทั้งการแสดงปาฐกถา ล้วนประกอบเข้าด้วยกันอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นเสกสรรค์ ประเสริฐกุล 

ผมคิดว่าเขาแสดงจุดยืนชัดเจนว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2549 เอาเถอะ แม้จะพูดช้าเกินกาลไปมาก แต่ก็ไม่แย่นักที่จะยอมแตกหักกับมิตรสหายและ "อดีต" (ex...) ของเขา เสกสรรค์กล่าวถึงพฤษภา 53 ในฐานะที่เป็นความรุนแรงโดยรัฐเช่นเดียวกับตุลา 16, ตุลา 19 และพฤษภา 35 ประเด็นเหล่านี้ทำให้เขายืนอยู่บนเวทีหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ในบ่ายวันที่ 13 ตค. 56 ได้จนจบการปาฐกถา 

มีบางประเด็นที่ยังความปลาบปลื้มส่วนตนมาสู่ผม คือการที่เสกสรรค์ใช้คำศัพท์ที่ทีมวิจัยผมใช้ ตลอดจนการที่เสกสรรค์มองปัญหาเชิงโครงสร้างในกรอบเดียวกัน คือปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกลางเก่า (มวลชนเสื้อเหลือง) กับชนชั้นกลางใหม่ (มวลชนเสื้อแดง) โดยมีชนชั้นนำเก่าและชนชั้นนำใหม่เป็นพันธมิตรด้วย สำหรับคนที่ทำงานวิชาการ แค่ได้รู้ว่ามีคนอ่านงานและนำไปใช้ในมิติสาธารณะอย่างนี้ก็เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่แล้ว 

ประเด็นหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจเป็นพิเศษและเกินไปจากที่เคยคิดคือ การที่เสกสรรค์พยายามประคับประคองและหาหนทางปรองดองการต่อสู้ของชนชั้นกลางใหม่ในระบอบรัฐสภากับการเลือกตั้งให้ไปด้วยกันได้กับการเมืองภาคประชาชน เขาพยายามย้ำว่า การเมืองสองส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์กันในท่ามกลางความขัดแย้งระลอกใหม่นี้ ประเด็นนี้ผมว่าคนเสื้อแดงที่นั่งฟังอยู่ยังไม่ "ซื้อ" นัก 

ที่ว่าไม่ซื้อ เพราะที่ผ่านมาบรรดาผู้ที่ขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชนเป็นปฏิปักษ์กับการเมืองของชนชั้นใหม่อย่างร้าวลึก พวกเขาเป็นหัวขบวนของการเมืองภาคประชาชนผู้ต่อต้านทุนนิยม และเรียกร้องประชาธิปไตยทางตรงผ่านการเดินขบวน การเคลื่อนไหวทางการเมืองทางตรง และต้องการตรวจสอบควบคุมนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง พวกเขาคิดว่าตนเองรู้ดีกว่าประชาชนทั่วไปว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของประชาชนเหล่านั้น หัวขบวนของการเมืองภาคประชาชนนั้นก็คือส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางเก่านั่นเอง และดังนั้น นักการเมืองภาคประชาชนเก่านี้จึงไม่ลังเลที่จะสนับสนุนการรัฐประหาร 2549 และการรัฐประหารครั้งต่อๆ หากจะมีขึ้นมาอีกได้ เพื่อโค่นอำนาจของชนชั้นนำใหม่ซึ่งเป็นผู้นำของทุนนิยมเสรี 

นึกอีกที ผมอยากรู้ว่าหากเสกสรรค์พูดกับฝ่ายชนชั้นกลางเก่่า พูดกับสหายการเมืองภาคประชาชนของเขา เขาจะพูดอย่างไร เขาจะทำให้พวกนั้นยอมรับความผิดพลาดที่ไปสนับสนุนการรัฐประหาร 2549 จนเหตุการณ์บานปลายมาถึงการปราบปรามปราชนเมื่อ พฤษภา 53 หรือไม่ ผมไม่มั่นใจ และดังนั้น ผมไม่คิดว่าเสกสรรค์จะสามารถพูดให้สหายการเมืองภาคประชาชนของเขายอมฟังคำปาฐกถาของเขาจนจบได้เท่ากับที่สหายเสื้อแดงชนชั้นใหม่ของเขายอมฟังเขาจนจบ 

ผมจึงคิดว่า ปาฐกถาของเสกสรรค์คือคำขอการปรองดองระหว่างชนชั้นใหม่กับสหายการเมืองภาคประชาชนของเขา เป็นความพยายามประสานรอยร้าวระหว่างปีกสังคมนิยมและการเมืองภาคประชาชนในชนชั้นกลางเก่า กับปีกเสรีนิยมและประชาธิปไตยตัวแทนในชนชั้นกลางใหม่ แต่เทียบเชิญเพื่อการปรองดองนี้จะต้องส่งไปทั้งสองฝ่าย เสกสรรค์อาจประสบความสำเร็จในการเป็นทูตเจรจากับฝ่ายชนชั้นกลางใหม่ แต่กับชนชั้นกลางเก่า ผมไม่แน่ใจว่าพวกนั้นเขาจะฟังเสกสรรค์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้