Skip to main content

จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ

การค้านนิรโทษกรรมอย่างคับแคบของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ มุ่งค้านการล้างผิดทักษิณ ชินวัตรโดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นของการนิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 และความจำเป็นในการรักษาหลักการของการไม่งดเว้นความผิดให้ผู้สั่งการใช้ความรุนแรงแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้รัฐก่อการทำร้ายประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดได้อีก 

จากรายงานของ ศปช. และจากคำสั่งศาลในการไต่สวนการตายหลายกรณีที่ผ่านมา ให้ข้อสรุปชัดเจนตรงกันหลายกรณีแล้วว่า พลเรือนหลายรายเสียชีวิตจากวิถีกระสุนที่มาจากเจ้าหน้าที่ และผู้ตายเหล่านั้นไม่มีอาวุธ นอกจากนั้น ผู้ตายจำนวนมากยังไม่ได้เป็นผู้ร่วมชุมนุม แต่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา นี่ยังไม่นับว่ามีคนเจ็บและผู้ต้องขังจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่กลับต้องมีมลทินและต้องโทษโดยที่ตนเองไม่ได้มีความผิด 

นี่เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่อย่างน้อยครั้งที่ 4 แล้วที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังปราบปรามประชาชน การที่ประชาชนส่วนหนึ่งคัดค้านการเหมาเข่งนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะผู้สั่งการไปด้วยนั้น แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า สังคมได้ก้าวหน้ามาถึงจุดที่ไม่อาจยอมรับการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกต่อไปแล้ว 

แต่ที่น่าละอายใจคือ คณาจารย์ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนต่อไปของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ กลับกระตือรือล้นท่ีจะคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอยเหมาเข่งนี้ ด้วยการเน้นสาระสำคัญของการคัดค้านอยู่ที่การคัดค้านการล้างผิดคนโกง โดยไม่ให้ความสำคัญกับการคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ไม่ได้ใส่ใจกับหลักการไม่งดเว้นความผิดให้กับผู้สั่งการสลายการชุมนุม 

หากจะไม่ลำเลิกกันเกินไป ข้าพเจ้าก็ขอตั้งคำถามว่า คณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์นี้จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับการเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่ได้เคยแยแสกับการสลายการชุมนุมด้วยการใข้กำลังอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุ ไม่ได้เคยเหลียวแลที่จะต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 มาก่อนเลยนั้น มาบัดนี้ทำไมจึงลุกขึ้นมาปกป้องหลักนิติธรรม 

หรือหลักนิติธรรมของท่านมีเพียงเพื่อป้องกันการกลับมาสู่อำนาจใครบางคนที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับท่านเท่านั้น หลักนิติธรรมของท่านครอบคลุมไปถึงประชาชนที่ได้รับผลการะทบจากการสลายการชุมนุม ที่ท่านเองอาจมีส่วนเผลอไผลยุยงหรือทำเป็นปิดตาข้างเดียวมองไม่เห็นหรือไม่ และนั่นยิ่งทำให้น่าสงสัยว่า เจตนาของแถลงการณ์นี้จะเป็นไปเพื่อเร่งกระแสการต่อต้านรัฐบาลและเป็นตัวกระตุ้นความขัดแย้งในสังคม หรือเพื่อธำรงความยุติธรรมของสังคมนี้กันแน่ 

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่อาจเห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่คัดค้านร่างพรบ.ฉบับสุดซอยเหมาเข่งนี้ 

ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์