Skip to main content

จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ

พวกคุณผู้ใหญ่หรือใครก็ตามที่คิดว่าสนใจการเมือง พวกคุณโดยเฉพาะพวกผู้ใหญ่ๆ น่ะ สนใจการเมืองแบบไหน แล้วการเมืองแบบที่พวกคุณสนใจน่ะ ทำไมพวกนักศึกษา พวกวัยรุ่นในปัจจุบันเขาถึงไม่สนใจกัน แล้วหากพวกนักศึกษาเขาสนใจการเมืองแบบอื่นล่ะ พวกคุณจะอยากเข้าใจเขาไหม หรือเพราะเขาสนใจการเมืองในแบบที่พวกคุณไม่เข้าใจ ไม่สนใจ พวกคุณจึงมองเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ แล้วก็คอยดูแคลนพวกนักศึกษาสมัยนี้ว่าพวกเขาไม่สนใจการเมือง

การเมืองของนักศึกษาในปัจจุบันไม่เหมือนการเมืองรุ่นพวกคุณผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะการเมืองของพวกเขาไม่ได้มีเผด็จการใส่ชุดเขียว-สวมรองเท้าบู๊ท-ยืนถือปืนให้เห็นตรงไปตรงมาเป็นคู่ต่อกรด้วย การเมืองของพวกเขาไม่ใช่ต้องต่อสู้กับทุนนิยมหยาบช้าที่คอยขูดรีด-สะสมทุน-กักตุนความมั่งคั่ง

แต่การเมืองของพวกเขาคือการต่อสู้กับเผด็จการใกล้ตัวที่ปากถือศีล คือการต่อต้านอำนาจบงการควบคุมร่างกาย คำพูด ภาษา การแสดงออกในนามของศีลธรรมอันดีงามและความเป็นไทย การเมืองของพวกเขาต่อสู้กับการกดทับผ่านระเบียบ พิธีกรรมไร้สาระที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน การเมืองของพวกเขาต่อสู้กับการควบคุมการใช้ร่างกาย การดื่มกิน ในนามของสุขภาวะ 

มันไร้สาระสิ้นดีหากคุณจะไปเที่ยวคอยอบรมสั่งสอนให้พวกนักศึกษามีจิตสาธารณะ แต่เมื่อพวกเขาชวนคุยเรื่องเครื่องแบบ เรื่องสิทธิในการได้รับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกด้วยการแต่งกาย เรื่องการเรียนการสอนที่ต้องเปิดกว้างทางความคิด พวกคุณบอกนักศึกษาพวกนี้ยังต้องได้รับการฝึกฝนวินัย

มันไร้สาระสิ้นดีที่พวกคุณจะไปคอยเปิดวีดีโอ 14 ตุลา 6 ตุลา ให้พวกเขาดู แต่เมื่อเขาหันมาวิพากษ์พวกคุณอย่างรุนแรง ตรงไปตรงมา ในประเด็นการเมืองเรื่องร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิการแสดงออกขั้นพื้นฐาน พวกคุณกลับจะเรียกเขามา "ตักเตือน" 

มันไร้สาระสิ้นดีที่พวกคุณติดป้ายโพนทะนาไปทั่วว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว แต่เมื่อเขาใช้เสรีภาพนั้น พวกคุณบอก ต้องมีขอบเขตบ้าง ต้องคำนึงถึงศีลธรรมอันดีงามบ้าง ทำไมไม่คุยกับเขาตรงไปตรงมาล่ะ ว่าเหตุผลของเขาเป็นอย่างไร แล้วเหตุผลของพวกคุณน่ะ เพียงพอที่จะโต้เถียงเขาไหม

การเมืองของนักศึกษาและวัยรุ่นปัจจุบันคือการเมืองวัฒนธรรม การเมืองของการแสดงตัวตน การเมืองอัตลักษณ์ การเมืองในชีวิตประจำวัน การเมืองเหล่านี้ส่งผลต่อการเมืองภาพใหญ่ในระยะยาว และไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สนใจการเมืองภาพใหญ่ แต่ต่อให้พวกเขาชวนคุณสนทนาถึงการเมืองที่ใหญ่กว่านี้ คุณจะมีใจเปิดกว้างพอให้พวกเขาหรือเปล่า พวกคุณน่ะ ไม่ก้าวหน้าในการเมืองภาพใหญ่เท่าพวกเขาหรอก เชื่อเหอะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี