Skip to main content

นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ

ใครก็ตามที่ดูเบาการเคลื่อนไหวเรื่องเครื่องแบบนักศึกษา ทรงผมนักเรียน คงไม่เข้าใจการเมืองในความหมายหลังมาร์กซิสม์ ที่ลงรายละเอียดไปถึงเรื่องเรือนร่าง พื้นที่ ถ้อยคำ กระทั่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ นี่เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาทางสังคมศาสตร์เปลี่ยนไปรวดเร็วจนทันได้เห็นความล้าหลังของคนรุ่นก่อนหน้าและลูกศิษย์ลูกหา(บ)ของพวกเขาได้ทันตาในชั่วอายุคน

ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์ที่บรรดาครูบาอาจารย์รุ่นเก่าก่อน บรรดา "คนเดือนตุลา" บางคนที่หยุดพัฒนาการทางความคิดของตนไปแล้วเคยสมาทาน กำลังส่อเค้าเป็นเผด็จการมากขึ้นนั้น (ตั้งแต่ทศวรรษ 1920 แล้ว) จนเสื่อมสลายลงไปในยุโรปตะวันออกโดยสิ้นเชิงในที่สุด (ในทศวรรษ 1980) กระแสวิชาการในสายที่ภายหลังเรียกกันว่า "มาร์กซิสม์สายตะวันตก" บ้างล่ะ "มาร์กซิสม์สายวัฒนธรรม" บ้างล่ะ ก็ได้เริ่มก่อตัวขึ้น นักคิดคนสำคัญของสายนี้ได้แก่ Antonio Gramsci (1891-1937) 

กรัมชีเสนอแนวการวิเคราะห์ปัญหาการครอบงำทางวัฒนธรรม/อุดมการณ์ (hegemony) ซึ่งซ้อนทับกับการครอบงำด้วย "กำลังบังคับ" (coersion) ที่สำคัญคือ การครอบงำด้วยอำนาจทางวัฒนธรรมนี้ได้มาด้วย "การสมยอม" (consent) ของประชาชน และโอกาสที่ประชาชนจะต่อต้านไม่ยอมรับการสมยอมนั้น

งานของกรัมชีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการวิพากษ์วัฒนธรรมต่อเนื่องมาถึงสำนักแฟรงค์เฟิร์ท สำนักมาร์กซิสม์สายวัฒนธรรมอื่นๆ ที่โด่งดังได้แก่ Louis Althusser (1918-1990) ผู้วิเคราะห์กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ แนวคิดเหล่านี้สานต่อมาสู่การวิเคราะห์สัญญะว่าเป็นมายาคติ ผ่านงานของ Roland Barthes (1915-1980)  

ในทศวรรษ 1970 กลุ่มนักวิชาการมาร์กซิสม์สายตะวันตกที่พัฒนางานจนกระทั่งสร้างงานเชิงทฤษฎีที่เชื่อมโยงกับงานวิจัยได้อย่างดีคือนักวิชาการมาร์กซิสม์ในอังกฤษ มีสำนักวัฒนธรรมศึกษาที่เบอร์มิงแฮมเป็นแกนกลาง นักวิชาการคนสำคัญผู้เป็นคนชายขอบชาวเวลช์ที่พัฒนาแนวคิดของกรัมชี จนสร้างแนวการวิเคราะห์วัฒนธรรมของตนเอง คนหนึ่งชื่อ Raymond Williams (1921-1988) 

แนวคิดสำคัญของวิลเลี่ยมส์ได้แก่การวิเคราะห์โครงสร้างอารมณ์ (structures of feelings) วิลเลียมส์ชี้ว่า อุดมการณ์นั้นมีทั้งฝ่ายครอบงำและต่อต้าน และทั้งสองด้านของอุดมการณ์ไม่ได้แบ่งแยกได้ง่ายๆ ชัดเจนว่าเป็นฝ่ายใด ต่างหยิบยืม ฉกฉวยกันและกัน และต่างก็มีพลวัตเปลี่ยนแปลงสูง จนมีทั้งภาวะเป็นอารมณ์และภาวะที่เป็นตัวเป็นตนมีโครงสร้าง 

ในระยะเดียวกันนั้น นักคิดในฝรั่งเศสที่ได้รับอิทธิพลจากนิชเชอร์ (และผมว่าเวเบอร์ด้วยนะ) อย่าง Michel Foucault (1926-1984) ได้ปลิดการวิพากษ์วัฒนธรรม ให้พ้นจากคราบไคลของมาร์กซิสม์ แล้วเสนอแนวการวิเคราะห์ "โบราณคดี" และ "วงศาวิทยา" ของวาทกรรม เสนอให้เห็นถึงการที่อำนาจแผ่ซ่านผ่านปฏิบัติการของภาษา ความรู้ และการจัดการระเบียบวินัยในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์นี้ดึงเอารัฐและชนชั้นออกไป เพราะเห็นว่า ไม่ว่าจะคนชนชั้นใด หรือไม่ว่าใครจะสังกัดองค์กรทางการเมืองหรือไม่ ต่างก็มีส่วนใช้อำนาจครอบงำต่อกันได้ทั้งสิ้น 

แนวคิดเหล่านี้เสนออะไรใหม่ๆ ให้กับสังคมศาสตร์หลังทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาบ้าง ประการแรก การวิพากษ์การเมืองรุ่นใหม่หยิบประเด็นทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิบัติการในชีวิตประจำวันต่างๆ มาเป็นประเด็นวิพากษ์อย่างสำคัญ การเมืองของแนววิเคราะห์เหล่านี้จึงไม่ได้จำเป็นต้องเป็นการเมืองมวลชน การเมืองของสถาบันทางการเมือง หรือการเมืองของชนชั้นอีกต่อไป 

ประการที่สอง การวิพากษ์แนวนี้วิเคราะห์ว่าการครอบงำของอำนาจมีอยู่ทุกหัวระแหงของปริมณฑลที่วัฒนธรรมทำงานอยู่ การวิเคราะห์แนวนี้ไม่ได้มองวัฒนธรรมเป็นสิ่งดีงามที่ตกทอดมา แต่มองว่าวัฒนธรรมเป็นอุดมการณ์ครอบงำ ที่ตัวมันเองก็มีพลวัต

ประการที่สาม อย่างไรก็ดี การครอบงำนี้มีขีดจำกัด มีการต่อต้าน มีการพลิกผัน มีการเสนอทางเลือกใหม่ๆ ในกระบวนการทางวัฒนธรรมนี้ตลอดเวลา

ข้อเสนอสำคัญอีกประการหนึ่งคือ นักวิพากษ์เหล่านี้ไม่เสนอแนวทางปฏิวัติสังคม ไม่เสนอทางเลือกที่เป็นระบบ เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดการครอบงำแบบใหม่ดังที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติรัสเซียอีกต่อไป บางคนเสนอว่าจะเป็นการปฏิวัติอันยาวนาน ค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในกระบวนการของการครอบงำและต่อต้านนี้ 

การวิพากษ์การเมืองของนักศึกษาสมัยนี้จึงใหม่ แตกต่างจากแนววิพากษ์ของคนรุ่นก่อนหน้า และไม่ใช่ว่าพวกเขาที่ต่อสู้ในการเมืองเรือนร่างนี้จะไม่สนใจการเมืองภาพใหญ่ แต่การวิพากษ์อำนาจบนเรือนร่างก็เป็นการเมืองแบบหนึ่งเหมือนกัน ใครที่ยังดูเบาการเมืองแบบนี้ก็ควรหาเวลาศึกษาการวิพากษ์การเมืองเพิ่มเติม 

ส่วนใครที่เป็นหัวๆ ในขบวนการนักศึกษารุ่นก่อน แล้วยังติดกับการเมืองแบบเก่าและคิดว่านักศึกษาปัจจุบันควรแสดงบทบาทเชิงวิพากษ์ด้วยการสนใจการเมืองของสาธารณชนนั้น ที่จริงแล้วควรภูมิใจที่นักศึกษาปัจจุบันก้าวหน้ากว่านักศึกษารุ่นคุณๆ ที่หยุดแสวงหาไปนานแล้วมากนัก เพราะพวกคุณเหล่านั้นได้กลายไปเป็นผู้สร้างอำนาจครอบงำสังคมปัจจุบันเสียเองแล้ว

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก