Skip to main content

เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ

ที่น่าสนใจคือ ดูเหมือน "คนรุ่นใหม่" อยากใส่ชุดนักศึกษามากยิ่งกว่า "คนรุ่นก่อนหน้า" (เช่นคนรุ่นผมหรือรุ่นน้องผม ที่ไม่ได้ปกป้องฟูมฟายกับการแต่งเครื่องแบบนักศึกษามากนัก) ปฏิกิริยาของคนรุ่นเดียวกับคุณอั้ม เนโกะ (เหมือนปฏิกิริยาของคนรุ่นเดียวกันต่อนักเรียนที่เรียกร้องให้ยกเลิกผมเกรียน) มีมากทีเดียว ทำไมพวกเขาจึงอยากอยู่ในระเบียบวินัย ทำไมพวกเขาอยากใส่ชุดนักศึกษา ผมอยากเสนอว่า ชุดความหมายเกี่ยวกับเคร่ืองแบบนักศึกษามีหลายชุดความหมาย เครื่องแบบนักศึกษาเป็นรหัสทางวัฒนธรรมที่ซับซ้อนทีเดียว ในขณะนี้ ดูเหมือนความหมายบางความหมายกำลังกลายเป็นความหมายนำ เป็นความหมายที่สังคมยกย่องเชิดชูกันขึ้นมา 
 
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม" ใช้จัดกลุ่ม เหมือน "ชุดประจำชาติ" "เครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธ์ุ" ใช้ระบุว่าใครเป็นใคร ความหมายนี้เป็นความหมายที่ active เป็นสัญลักษณ์แห่งการแสดงตัวตน เครื่องแบบตามความหมายนี้นำความภูมิใจมาสู่ผู้สวมใส่ ผมคิดว่าความหมายนี้แหละที่กำลังเป็นความหมายนำอยู่ แต่ผู้ที่สวมเครื่องแบบด้วยความหมายนี้จะมองเห็นหรือเปล่าว่า ยังมีความหมายอะไรอื่นอีกล่ะที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ขุดนักศึกษาอันน่าภูมิใจ 
 
"เครื่องแบบนักศึกษาทำให้คนเท่ากัน" ความหมายนี้เป็นความหมายที่พูดกันมาก ว่าเครื่องแบบทำให้นักศึกษาไม่ว่าจะจากฐานะไหน ยากดีมีจน เหมือนกันหมดและจึงเท่ากันหมด แต่จะจริงหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเครื่องแบบนักศึกษานำมาซึ่งการดูแลรักษาความสะอาด ถ้าเสื้อขาวเปื้อนกับเสื้อยืดสีหม่นๆ เปื้อน เราจะใส่เสื้อขาวเปื้อนต่อหรือไม่ เสื้อยืดไม่รีดเราอาจใส่ได้ แต่เสื้อเชิ้ตยับๆ เราสักกี่คนจะใส่กัน ความสิ้นเปลืองไฟ เวลา ค่าแรงเพื่อการรีดชุดนักศึกษายังจะทำให้ชุดนักศึกษาเป็นเครื่องหมายของความเท่าเทียมกันไหม เนื้อผ้า แฟชั่น ของชุดนักศึกษาที่เราเห็นกันในปัจจุบัน จะยังรักษาอุดมการณ์ความเท่าเทียมกันภายใต้เครื่องแบบอยู่อีกไหมหากคิดถึงต้นทุนและชนชั้นทางสังคมที่สามารถแบกรับต้นทุนเหล่านั้น
 
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเคร่ืองแสดงชนชั้น" คนที่คิดอย่างนี้อาจจะไม่ได้คิดแบบนี้ตั้งแต่แรกหรอก หรือเขาอาจคิดแบบนี้โดยไม่ตั้งใจ คำพูดประเภทที่ว่า "ไม่ใช่ทุกคนจะได้ใส่" เป็นหนึ่งในนั้น แต่ชนชั้นของการมีเครื่องแบบ ความพิเศษของการได้ใส่เครื่องแบบ ความภูมิใจในการได้ใส่เครื่องแบบ เหล่านี้ก็สร้างชนชั้นของคนใส่เครื่องแบบนักศึกษา ให้เหนือคนไม่มีโอกาสได้ใส่หรือไม่ คนที่ได้ใส่นักศึกษาน่าจะมีความคิดความอ่านเพียงพอจะเข้าใจความหมายนี้เองได้
 
"เครื่องแบบนักศึกษากลายเป็นวัตถุทางเพศ" บางคนบอกว่า "จะร่วมเพศกันไม่ต้องใส่เครื่องแบบนักศึกษาก็ได้" นั่นก็ถูก เพราะที่จริงการร่วมเพศไม่ต้องสวมอะไรเลยด้วยซ้ำ แต่อย่าลืมว่าเครื่องแบบนักศึกษาเป็นภาพแทนความอ่อนวัย ความสดใส ความบริสุทธิ์ ความหมายแฝงเหล่านี้หรือไม่ที่ทำให้เครื่องแบบนักศึกษากลายเป็นสิ่งดึงดูดใจทางเพศ แล้วการที่เครื่องแบบนักศึกษาไทยพัฒนาความเซ็กซี่ขึ้นมา ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะเคร่ืองแบบนักศึกษาหญิงเท่านั้น มันบอกความหมายเฉพาะของเครื่องแบบนักศึกษาไทยที่เชื่อมโยงกับเซ็กซ์หรือไม่ มันบอกการกดขี่หรือการใช้ชุดนักศึกษาเป็น "เครื่องเพศ" หรือไม่ คนใส่เครื่องแบบอย่างเซ็กซี่คงรู้ตนเองดี
 
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ" ที่ใช้ควบคุมระเบียบของสังคม ข้อนี้ไม่ต่างอะไรกับชุดพนักงานในสำนักงานต่างๆ ที่มีเครื่องแบบ สังเกตบ้างไหมว่าคนที่แต่งเครื่องแบบมีแต่คนด้อยอำนาจตำแหน่งเล็กๆ หรือตำแหน่งลูกน้องเท่านั้นแหละที่แต่ง มีผู้จัดการธนาคารที่ไหนแต่งเครื่องแบบ มีกรรมการบริหารบริษัท ประธานบริษัทที่ไหนแต่งเครื่องแบบที่ให้พนักงานใส่ แม้แต่ตำรวจชั้นสัญญาบัตรเขายังไม่แต่งเครื่องแบบไปทำงานประจำวันเลย
 
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเครื่องมือผลิตซ้ำอุดมการณ์ครอบงำ" ง่ายที่สุดเลยคืออุดมการณ์เพศ ภายใต้เครื่องแบบนักศึกษา คนสวมใส่เป็นได้เพียง ถ้าไม่ชาย ก็หญิง ระเบียบของการแบ่งเพศเข้ามามีบทบาทในการแต่งชุดนักศึกษาอย่างเห็นได้ชัด เกินจากนั้น ภายใต้เครื่องแบบ คนสวมจะแสดงตัวตนได้ไม่มากนัก เมื่อสวมเครื่องแบบ คุณจึงถูกเครื่องแบบกำกับพฤติกรรม เพราะถูกมอง ถูกคาดหวังต่อบทบาทตามเครื่องแบบ
 
ถึงที่สุดแล้ว ความหมายต่างๆ ของชุดนักศึกษาไม่อาจมีความหมายใดเป็นความหมายนำอีกต่อไป ความหมายที่เคยแน่นิ่ง ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนก็แทบไม่เคยมีอำนาจนำ กำลังถูกกวนให้ขุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่ต้องคิดด้วยคือ ความหมายใดกันแน่ที่อยู่ซ้อนและครอบงำความหมายอื่นอยู่ แล้วทำไมความหมายนั้นจึงขึ้นมามีบทบาทเหนือความหมายอื่น ความหมายใดเป็นความหมายลวงแค่เปลือก ความหมายใดคือความหมายที่ใช้มอมเมาให้ยอมรับเพื่อใช้ความหมายอื่นควบคุม แต่ไม่ว่าจะอย่างไร อย่าหยุดเถียงเพียงด้วยเพราะเราไม่ชอบความเห็นฝ่ายตรงกันข้ามก็แล้วกัน

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย