Skip to main content

คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 

ความเชื่อที่ว่าระบบทาสในสังคมไทยเป็นระบบที่แทบจะไม่มีอยู่จริง หรือที่มีก็เป็นเพียงส่วนน้อย เฉพาะบางคนที่ขายลูก ขายตัวเองเพราะติดหนี้สิน และหากมีทาส ทาสในสังคมไทยก็ไม่ได้รุนแรงเลวร้ายแบบในยุโรป อเมริกานั้น หากยังสอนอยู่อีกก็น่าสงสัยมากว่ากำลังเพ้อฝันถึงสังคมทาสราวกับว่ามันเป็นสังคมยูโทเปียหรืออย่างไร 

แคทเธอรีน บาววี่ (Katheirne A. Bowie) เคยเขียนบทความรวบรวมเอกสารที่กล่าวถึงสยาม แสดงข้อมูลมากมายถึงความป่าเถื่อนของระบบทาสในสยาม (ไทยภาคกลาง) และโยนก (ไทยภาคเหนือ) ทาสที่เป็นกำลังสำคัญก่อนการนำเช้าชาวจีนมาเป็นแรงงานสำคัญ (ต่อการขยายตัวของทุนนิยมภายใต้การกระจุกตัวของผลประโยชน์เศรษฐกิจในมือชนชั้นนำสยาม) คือทาสจากเชลยสงคราม (war captive)

ทาสเหล่านี้เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีอำนาจด้อยกว่าจากลาว เวียดนาม พม่า พวกเขาล้วนถูกกวาดต้อนมาเป็นแรงงานให้ราชสำนักสยามและราชสำนักเชียงใหม่ ทุกวันนี้ชุมชนรายรอบกรุงเทพและเชียงใหม่จึงเต็มไปด้วยกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ ที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นแรงงานปลูกข้าว ไม่ต้องคิดถึงว่าพวกเขาจะบาดเจ็บล้มตายระหว่างการเดินทางไปมากน้อยแค่ไหน แต่ในระหว่างการทำงานเพื่อเสียภาษี หลายต่อหลายปีพวกเขาต้องอดอยาก เพราะถูกเก็บภาษีเป็นผลผลิตมากเกินกว่าที่เขาจะเก็บไว้กินเอง 

ฉะนั้นใครที่ใฝ่ฝันว่าชีวิตของชุมชนในอดีตน่าพิสมัยกว่ายุคปัจจุบันน่ะ ช่วยอ่านประวัติศาสตร์แบบนี้เสียบ้างนะครับ นอกเสียจากว่าพวกคุณจะเป็นเจ้านาย 

ภาพดังกล่าวยิ่งสะท้อนว่าการเลิกทาสของ ร.5 คือสิ่งที่ดีงามเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างนั้นหรือ เปล่าเลย เพราะการเลิกทาสมีขึ้นพร้อมๆ กันกับการสร้างรัฐรวมศูนย์ที่เราเรียกกันว่า "สมบูรณาญาสิทธิราช" กล่าวอีกอย่างหนึ่ง นี่คือการที่ชนชั้นนำสยามลิดรอนอำนาจของรัฐและเจ้าครองนครต่างๆ ในท้องถิ่น ให้มาขึ้นกับสยามอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์นั่นเอง 

กระบวนการนี้ทำให้เจ้าครองนครท้องถิ่นไม่สามารถสืบทอดอำนาจตามสายตระกูลเดิมของตนได้อีกต่อไป พูดอีกอย่างหนึ่งคือ นี่คือการที่สยามทำให้นครเล็กน้อยรายรอบสยามไปจนจรดขอบเขตของบริทิชอินเดีย (รวมพม่า) ในฝั่งตะวันตก และอินโดจีนในฝั่งตะวันออก กลายเป็นอาณานิคมของตนเอง สยามไม่ตกเป็นเมืองขึ้นก็จริง แต่สยามทำให้นครรัฐเล็กๆ กลายเป็นเมืองขึ้นของตนเอง กระบวนการนี้ไม่ได้ราบเรียบ มีการต่อต้านมากมาย ทั้งจากเจ้าครองนคร (เช่น กบฏเมืองแพร่) และจากประชาชน (บรรดาผีบุญ) 

การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวอะไรกับการเลิกทาส เกี่ยวตรงที่ว่า ทาสเป็นกำลังสำคัญของ ซุ้ม-กลุ่ม-ก๊กของ "นาย" ต่างๆ ทาสและไพร่จะต้องมีสังกัดขึ้นต่อนายอย่างชัดเจน อยู่ใต้อำนาจของหัวหน้ากลุ่มก๊กต่างๆ อย่างแน่นิ่ง ไม่สามารถเคลื่อนกายย้ายถิ่นได้ง่ายๆ เนื่องจากจะกลายเป็นการเคลื่อนกำลังพล หรือไม่ก็กลายเป็นการเสียทั้งฐานการผลิตและฐานกำลังในการปกป้องตนเองของหัวหน้ากลุ่มก๊ก 

อ.อคิน รพีพัฒน์เขียนให้ภาพระบบนี้เอาไว้นานแล้วว่า นี่เป็นระบบอุปถัมภ์แบบพิรามิด ในระบบเช่นนี้ ผู้ใดที่ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ ก็เนื่องมาจากเป็นผู้ที่มีไพร่-ทาสในสังกัดเป็นจำนวนมากที่สุด ในสมัยใดที่มีกษัตริย์สององค์ ก็เนื่องจากทั้งสองกษัตริย์นั้นมีไพร่-ทาสจำนวนไล่เลี่ยกัน ขอย้ำว่า นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นการมีกำลังคนในสังกัดมากน้อยเท่าใด 

การเลิกทาสที่เกิดพร้อมๆ กับการลิดรอนอำนาจเจ้านครท้องถิ่นต่างๆ ทำลายอำนาจการผูกขาดกำลังคนของรัฐท้องถิ่นลง ทำลายอำนาจที่จะมาท้าทายอำนาจกษัตริย์ลง การเลิกทาสจึงเปลี่ยนไพร่-ทาสที่มีสังกัดมูลนายที่อาจมีอำนาจท้าทายกษัตริย์ ให้กลายเป็นพลเมืองที่ขึ้นกับกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว พลเมืองเหล่านี้กลายเป็นแรงงานที่เคลื่อนย้ายถิ่นได้ สามารถดูดมากเป็นกำลังแรงงานทำการผลิตใต้อำนาจทางการผลิตของชนชั้นนำสยามที่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพได้ 

คำอธิบายการเลิกทาสในตำราเรียนเป็นนิยายที่อาศัยฉากอดีต ที่เขียนเพื่ออำพรางการยักย้ายถ่ายเทอำนาจ การจัดสรรอำนาจรัฐแบบใหม่ ปิดบังการรวบอำนาจเพื่อสร้างรัฐอาณานิคมขนาดย่อมไว้ใต้ภาพความการุณ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ