Skip to main content

การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...

1) "กปปส. มองคนไม่เท่ากัน" ทั้งแกนนำและผู้นำความคิดของ กปปส. ดูถูกคนจน ดูถูกคนการศึกษาน้อย ดูถูกคนชนบท

2) "กปปส. จะทำเพียงเพื่อประโยชน์สุขของคนบางกลุ่ม" ในเมื่อเริ่มต้น กปปส. ก็เริ่มคิดจากการเห็นคนไม่เท่ากัน ไม่ยอมรับอำนาจการตัดสินใจของคนเท่ากันแล้ว กปปส. จะสามารถคิดแทนคนที่ตนเองดูถูกหรือ กปปส. จะทำเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งประเทศ หรือเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้องตนเองเท่านั้นกันแน่

3) "กปปส. ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่" เพียงแค่อ้างการลุกฮือของคนกลุ่มเดียว แต่กลับไม่ยอมรับการตัดสินใจของปวงชนชาวไทยด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แสดงว่า กปปส. เองก็ไม่มั่นใจว่าการกระทำของตนจะได้รับการยอมรับในวงกว้างแค่ไหน

4) "ประเทศชาติจะไม่สงบสุขหลังการขึ้นสู่อำนาจของ กปปส." เนื่องจากประชาชนไม่ได้ให้ฉันทานุมัติ หากมีการลุกฮือของประชาชนอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. กปปส. จะยอมรับโดยดีหรือไม่ หากมีการปะทะกันรุนแรงจะทำอย่างไร

5) "กปปส. จะไม่มีประสิทธิภาพ จะใช้ความรุนแรงจัดการปัญหา และจะฉ้อฉลโกงกินอย่างขนานใหญ่" ข้อนี้ประเมินได้จากประสบการณ์ของการบริหารประเทศใต้อำนาจของผู้นำ กปปส. ในอดีต

6) "กปปส. ไร้ประสิทธิภาพตั้งแต่ยังไม่เริ่มงาน" จนถึงทุกวันนี้ กปปส. ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่าง แม้แต่ที่มาของสภาประชาชนจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่ชัดเจน ยังคิดไม่จบ แล้วจะมาทำงานใหญ่ได้อย่างไร ใครจะบริหารประเทศ ใครจะร่างกฎหมาย อย่างไร

7) "ใครจะตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของ กปปส. และสภาประชาชน" ในเมื่อ กปปส. จะมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว จะมีโครงสร้างอะไรมาตรวจสอบ แล้วการตรวจสอบนั้นยึดโยงกับประชาชนอย่างไร

8) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่าข้อเสนอการปฏิรูปของ กปปส. และสภาประชาชนจะแก้ปัญหาประเทศได้" เพราะคณะรัฐประหารที่ผ่านมาซึ่งมีอำนาจมากกว่า กปปส. ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาการเมือง ปัญหาการซื้อเสียงได้ แต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องช่วยกันคิด ต้องใช้เวลา ต้องอดทน ลำพังอำนาจเบ็ดเสร็จไม่เคยสามารถทำได้

9) "ไม่มีกระบวนการให้ประชาชนยอมรับข้อเสนอของ กปปส. และสภาประชาชน" หากใช้ประชามติ ทำไมไม่ขอประชามติผ่านการเลือกตั้ง เช่น พรรคการเมืองที่สนับสนุน กปปส. อย่างประชาธิปัตย์ควรเสนอนโยบายว่าจะทำตาม กปปส. และจะจัดตั้งสภาประชาชน ให้ปวงชนชาวไทยตัดสินว่าจะเอาด้วยไหม หากผลออกมาแล้วประชาชนไม่ยอมรับ กปปส. จะยอมรับประชาชนหรือไม่

10) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่า กปปส. และสภาประชาชน จะอยู่ไปนานแค่ไหน" เมื่อใดกันแน่ที่ กปปส. จะคืนอำนาจให้ประชาชน และเมื่อคืนอำนาจแล้ว หากระบบไม่เป็นไปตามที่ กปปส. คาดหวัง แกนนำ กปปส. จะนำมวลชนลุกฮือก่อความวุนวายหลังการคืนอำนาจอีกหรือไม่ เมื่อไหร่จะเกิดความสงบสุข

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย