Skip to main content

วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา

ช่วงท้ายของการบรรยาย ประชาชน นักศึกษา นักวิชาการที่เข้าร่วม ได้ส่งเสียงสะท้อนถึงความคิดต่อประชาธิปไตยของประชาชนเองหลายประการ ผมจึงขอใช้พื้นที่นี้บอกเล่าเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากคนสามจังหวัดภาคใต้ที่ผมบันทึกมา ให้ได้ยินกันทั่วประเทศดังนี้

"ประชาธิปไตยไปด้วยกันได้กับหลักศาสนาอิสลาม พระเจ้าได้สร้างมนุษย์บนต้นทุนเดียวกัน แม้ว่าคุณจะเป็น มรว. หรือใคร ก็ถูกสร้างขึ้นมาจากต้นทุนที่เท่ากัน"

"ในระบบที่เห็นคุณค่าคนเท่าๆ กัน คนมลายูจะไม่แตกต่างกับคนไทย จะเท่าเทียมกับความเป็นคนไทย แต่ในระบบเผด็จการ คนมลายูอาจจะไม่มีตัวตน" 

"ประชาธิปไตยคือกระบวนการของสันติภาพ อย่าเริ่มนับศูนย์ใหม่เลย หากเริ่มใหม่ กระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินไปจะสะดุดหมด จะทำลายความหวังประชาชนหมด" 

"ฉันเป็นตำรวจชาวพุทธในปัตตานี ถูกชาวพุทธด่าว่าตำรวจชั่ว ไม่รักชาติ อ้าว.. แล้วที่ฉันมาอยู่สามจังหวัดนี่ไม่รักชาติยังไง เสี่ยงตายขนาดนี้" 

"การเลือกตั้งทำให้ประชาชนเลือกผู้ปกครองได้ เลือกนโยบายได้ เลือกว่าชอบหรือไม่ชอบพรรคการเมืองไหนได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตย เราจะสั่งสอนนักการเมืองได้อย่างไร" 

"คนที่นี่มีความรู้มาก พูด อ่าน เขียนได้หลายภาษามากกว่าคนกรุงเทพ" 

"คนเท่ากันเมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คนอาจมีคุณธรรมไม่เท่ากัน มีความรู้ไม่เท่่ากัน แต่มีสิทธิเท่ากัน" 

"คน 3 จังหวัดมีความเป็นประชาธิปไตยและเข้าใจการเลือกตั้งมากกว่าอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ด้วยกัน" 

"วันที่ 2 กุมภาฯ จะตัดสินว่า เราจะปฏิรูปทุกอย่างไหม หรือจะปฏิรูปแค่ไม่ให้ทักษิณกลับบ้าน" 

เสียงเหล่านี้สะท้อนว่า ประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะเป็นหลักประกันวิถีชีวิตชาวปัตตานี ชาวยะลา และชาวนราธิวาส เสียงจากประชาชนเหล่านี้คือเสียงปกป้องประชาธิปไตย คือเสียงเดินหน้าเลือกตั้ง คือเสียงต่อต้านรัฐประหาร 

ประชาธิปไตยจึงไม่ไช่หลักการนามธรรมจากตะวันตก ไม่ว่าชนชั้นนำหรือนักวิชาการเจ้าหลักการที่ไหนก็ไม่สามารถนำประชาธิปไตยมายัดเยียดให้ประชาชนได้ แต่ประชาธิปไตยคืออำนาจทางการเมืองของประชาชน ประชาชนชาว 3 จังหวัดภาคใต้ได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่า ประชาธิปไตยคือวิถีชีวิตของประชาชน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก