Skip to main content

วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา

ช่วงท้ายของการบรรยาย ประชาชน นักศึกษา นักวิชาการที่เข้าร่วม ได้ส่งเสียงสะท้อนถึงความคิดต่อประชาธิปไตยของประชาชนเองหลายประการ ผมจึงขอใช้พื้นที่นี้บอกเล่าเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากคนสามจังหวัดภาคใต้ที่ผมบันทึกมา ให้ได้ยินกันทั่วประเทศดังนี้

"ประชาธิปไตยไปด้วยกันได้กับหลักศาสนาอิสลาม พระเจ้าได้สร้างมนุษย์บนต้นทุนเดียวกัน แม้ว่าคุณจะเป็น มรว. หรือใคร ก็ถูกสร้างขึ้นมาจากต้นทุนที่เท่ากัน"

"ในระบบที่เห็นคุณค่าคนเท่าๆ กัน คนมลายูจะไม่แตกต่างกับคนไทย จะเท่าเทียมกับความเป็นคนไทย แต่ในระบบเผด็จการ คนมลายูอาจจะไม่มีตัวตน" 

"ประชาธิปไตยคือกระบวนการของสันติภาพ อย่าเริ่มนับศูนย์ใหม่เลย หากเริ่มใหม่ กระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินไปจะสะดุดหมด จะทำลายความหวังประชาชนหมด" 

"ฉันเป็นตำรวจชาวพุทธในปัตตานี ถูกชาวพุทธด่าว่าตำรวจชั่ว ไม่รักชาติ อ้าว.. แล้วที่ฉันมาอยู่สามจังหวัดนี่ไม่รักชาติยังไง เสี่ยงตายขนาดนี้" 

"การเลือกตั้งทำให้ประชาชนเลือกผู้ปกครองได้ เลือกนโยบายได้ เลือกว่าชอบหรือไม่ชอบพรรคการเมืองไหนได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตย เราจะสั่งสอนนักการเมืองได้อย่างไร" 

"คนที่นี่มีความรู้มาก พูด อ่าน เขียนได้หลายภาษามากกว่าคนกรุงเทพ" 

"คนเท่ากันเมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คนอาจมีคุณธรรมไม่เท่ากัน มีความรู้ไม่เท่่ากัน แต่มีสิทธิเท่ากัน" 

"คน 3 จังหวัดมีความเป็นประชาธิปไตยและเข้าใจการเลือกตั้งมากกว่าอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ด้วยกัน" 

"วันที่ 2 กุมภาฯ จะตัดสินว่า เราจะปฏิรูปทุกอย่างไหม หรือจะปฏิรูปแค่ไม่ให้ทักษิณกลับบ้าน" 

เสียงเหล่านี้สะท้อนว่า ประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะเป็นหลักประกันวิถีชีวิตชาวปัตตานี ชาวยะลา และชาวนราธิวาส เสียงจากประชาชนเหล่านี้คือเสียงปกป้องประชาธิปไตย คือเสียงเดินหน้าเลือกตั้ง คือเสียงต่อต้านรัฐประหาร 

ประชาธิปไตยจึงไม่ไช่หลักการนามธรรมจากตะวันตก ไม่ว่าชนชั้นนำหรือนักวิชาการเจ้าหลักการที่ไหนก็ไม่สามารถนำประชาธิปไตยมายัดเยียดให้ประชาชนได้ แต่ประชาธิปไตยคืออำนาจทางการเมืองของประชาชน ประชาชนชาว 3 จังหวัดภาคใต้ได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่า ประชาธิปไตยคือวิถีชีวิตของประชาชน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้