Skip to main content

วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้

วันที่ 30 เมษายน 2518 (ค.ศ.1975) เป็นวันสิ้นสุด "สงครามเวียดนาม" ก็จริง แต่นั่นยังไม่ใช่การสิ้นสุดของมรดก สงครามเวียดนามŽ และ สงครามเย็นŽ เพราะสงครามกับคอมมิวนิสต์อย่างน้อยในภูมิภาคนี้ก็ไม่ได้สิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงหลัง สงครามเวียดนามŽ สิ้นสุดลง (ผมจงใจใช้อัญประกาศ "..."Ž กำกับชื่อสงครามต่างๆ ซึ่งหมายถึงสงครามเดียวกัน แต่รู้จักกันจากหลายมุมมองในชื่อต่างกัน) อย่างที่รู้กันคือ ในประเทศไทย สงครามกับคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินต่อมาจนทศวรรษ 2520 บางคนถือเอานโยบาย 66/23 เป็นหมุดหมายของการสิ้นสุด ส่วนใน สปป.ลาว "สงครามลับ" หลังสงครามเวียดนามยังคงดำเนินต่อเนื่องมาอีกหลายปี จนถึงยุค น้าชาติŽ หรือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในทศวรรษ 2530 นั่นแหละจึงจางหายไป 

 

กลับไปที่คำถามว่า "สงครามเวียดนามŽ" เป็นสงครามระหว่างใครกับใครกันแน่ และ เราŽ อย่างน้อยคนไทยควรเข้าใจสถานะของสงครามนี้อย่างไร มี 2-3 เรื่องที่เป็นทั้งประสบการณ์ตรงที่กระอักกระอ่วนและจากการศึกษาประวัติศาสตร์และทำวิจัยในประเทศเวียดนามมาร่วม 20 ปี

สถานะของประเทศไทยใน "สงครามอินโดจีนครั้งที่สองŽ" (อีกชื่อหนึ่งของสงครามเวียดนาม) เป็นสถานะที่คนไทยแทบไม่ได้เรียนรู้ หรือรู้ก็รู้ในแบบที่สร้างความเกลียดชังประเทศและชาวเวียดนามต่อเนื่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นึกย้อนกลับไปเมื่อสัก 30 กว่าปีก่อน หลายคนคงเคยได้ยิน urban folklore หรือ ตำนานชาวเมืองŽ ในประเทศไทยสมัยหนึ่งที่ว่า กินก๋วยเตี๋ยวญวนแล้วจู๋Ž คือจะทำให้อวัยวะเพศชายหดตัว ไม่สู้ หรือบางเวอร์ชั่นก็บอกว่ากุดไปเลย เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้ยินอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง เพื่อนอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยคนหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า เคยมีเรื่องเล่าว่าสาวเวียดนามซ่อนใบมีดโกนไว้ในอวัยวะเพศ จินตนาการเอาเองก็แล้วกันว่าทำไมหนุ่มไทยจะต้องกลัวถ้าไม่คิดถึงความสัมพันธ์พิเศษอะไรกับสาวเวียดนาม 

ในทางตรงกันข้าม นิยายไทย ภาพยนตร์ไทย และเพลงลูกทุ่งไทย เช่น นิยายชุด ผู้กองยอดรักŽ หรือเพลง เสียงเรียกจากหนุ่มไทยŽ (น่าจะรวมทั้งละครโทรทัศน์ ฮอยอันฉันรักเธอŽ ที่เคยโด่งดังด้วย จนทำให้เมือง โห่ยอานŽ กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมไปช่วงวันหยุดยาวมากที่สุดเมืองหนึ่งของเวียดนาม) ที่กล่าวถึงทหารไทยไปรบที่เวียดนาม กลับมักให้ภาพทหารไทยกลัวๆ กล้าๆ ไปรบกับเวียดนามแล้วได้สาวเวียดนามเป็นภรรยา แล้วสุดท้ายก็ทอดทิ้งกลับมา หรือไม่ก็สนุกกันชั่วครั้งชั่วคราวแล้วต้องพรากจากกันไป เรื่องราวความรักระหว่างทหารไทยกับสาวเวียดนามนี้ฟังดูแล้วเข้าทำนองโกโบริกับอังศุมาลิน เป็นภาพความรักโรแมนติกระหว่างคู่สงคราม 

น่าสังเกตว่า ในเนื้อเรื่องทำนองนี้ พระเอกจะเป็น ผู้รุกรานŽ ที่ชวนหลงใหล ส่วนนางเอกก็จะเป็น ผู้ถูกรุกรานŽ ที่สมยอมกับการถูกรุกราน เหมือนกับจะช่วยอธิบายสถานะการรุกรานและการยอมรับการรุกรานด้วยเพศสัมพันธ์ได้อย่างชวนฝัน

ภาพลักษณ์เวียดนามแบบนี้ช่างขัดกันกับตำนานชาวเมืองที่กล่าวถึงโรคจู๋และเครื่องเพศใบมีดโกนข้างต้น ผมเดาว่าตำนานข้างต้นที่ทำให้ เวียดนามŽ = สาวแสบŽ ไปถึงกระทั่งสร้างตำนาน การตอนรวมหมู่Ž เกิดขึ้นหลังจาก ไซ่ง่อนแตกŽ ขณะที่ตำนาน ความรักชวนฝันŽ ระหว่างทหารไทยกับสาวเวียดนามถูกสร้าง (น่าจะอย่างเป็นระบบ) ในยุคที่ไทยร่วมรบกับสหรัฐ ในสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ แต่ความหมายที่ตำนานทั้งสองยุคมีร่วมกันก็คือ ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามทั้งสองลักษณะเป็นภาพความสัมพันธ์ที่มีนัยทางเพศ ความสัมพันธ์ไทยกับเวียดนามในจินตนาการพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยเป็นเพศสัมพันธ์ที่ทั้งชวนหลงใหลและน่าหวาดระแวง แต่คำถามที่ตามมาอีกคำถามคือ แล้วคนเวียดนามล่ะ เขามองความสัมพันธ์ตนเองกับไทยในยุคสงครามอย่างไร

ในระหว่างที่เริ่มทำวิจัยในเวียดนามเมื่อเกือบ 15 ปีก่อน ผมเพิ่งเริ่มรู้ว่าคนเวียดนามเรียกสงครามเดียวกันนี้ว่า "สงครามอเมริกันŽ" เพราะ เขาŽ (คือคนเวียดนามส่วนหนึ่ง) ถือว่าเป็นสงครามที่สหรัฐอเมริกาเข้ามารบกับคนเวียดนาม แต่สงครามนี้ซับซ้อนมากกว่านั้น เพราะยังเป็น "สงครามกลางเมืองŽ" ระหว่างคนเวียดนามด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐ ดึงทหารเวียดนามเข้ามาร่วมรบในสงครามมากขึ้น จนกลายเป็นสงครามระหว่างทหารเวียดนามเหนือ (ที่คนไทยเรียกตามฝรั่งอเมริกันว่า เวียดกงŽ) กับทหารเวียดนามใต้

แต่นั่นก็ยังไม่ซับซ้อนพอ เพราะถ้าจะว่าไป ความสำเร็จŽ ของเวียดนามเหนือ หรือ ความล้มเหลวŽ ของเวียดนามใต้ เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลเวียดนามใต้เองด้วย ตั้งแต่สมัยรัฐบาลโง ดิ่ง เสียบ (Ng™ô Đình Diệฺm ถ้าสำเนียงภาคใต้จะออกเสียงว่า โง ดิ่น เหยียบ) ที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี ดำเนินนโยบายล้มเหลวในการปราบปรามและกดทับกำราบผู้คนที่เห็นต่างจากรัฐบาลมากมาย รวมทั้งกดขี่ชนกลุ่มน้อยในเขตที่สูงภาคใต้ และเหยียดศาสนาพุทธยกย่องโรมันคาทอลิกที่ตนนับถือจนชาวพุทธไม่พอใจ (มีเรื่องเล่าว่า ที่โง ดิ่ง เสียบได้รับแรงหนุนจาก JFK นั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะความเป็นชาวคาทอลิกเช่นเดียวกัน)

กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ความล้มเหลวของรัฐบาลเวียดนามใต้ที่มีอยู่ก่อนแล้วนั่นเองก็มีส่วนในการทำลายความมั่นคงของรัฐบาลเวียดนามใต้ และมีส่วนในการสร้างแนวร่วมของผู้ต่อต้านรัฐบาลในเวียดนามใต้ ให้คนเวียดนามใต้เองร่วมมือเปิดทางหรือเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับ สงครามปลดปล่อยŽ เวียดนามใต้ สหรัฐ และกองทัพเวียดนามใต้จึงล้มเหลวในการแยกแยะหมู่บ้านที่สนับสนุนรัฐบาลออกจากหมู่บ้านที่สนับสนุนเวียดนามเหนือ ก็เพราะพวกเขาก็คือคนในที่มีใจให้กับรัฐบาลเวียดนามเหนือนั่นเอง 

พวกเขาก็คือชาวเวียดนามใต้ที่ร่วมมือกับชาวเวียดนามเหนือรบกับทหารเวียดนามใต้ที่สหรัฐสนับสนุนนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ที่ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกคือการเข้าร่วมสงครามนี้โดยชาติต่างๆ มากมายยิ่งกว่าเพียงสองชาติคือสหรัฐอเมริกากับเวียดนาม นี่ทำให้เมื่อศึกษาเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม ผมจึงถูกบังคับให้ต้องอ่านเอกสารทั้งจากสหรัฐอเมริกาเอง จากเวียดนาม จากฝรั่งเศส รวมทั้งจากออสเตรเลียที่ส่งทหารไปร่วมรบไม่น้อยเช่นกัน แต่ที่ยังขาดการศึกษาจริงจังคือ บทบาทของไทยในสงครามเวียดนามนี้ และทำให้บางคนเรียกสงครามนี้ว่า สงครามอินโอจีนครั้งที่สองŽ (ครั้งแรกคือสงครามระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับฝรั่งเศสสิ้นสุดปี 1954 ครั้งที่สามคือสงครามระหว่างเวียดนามกับกัมพูชาและจีนปี 1979)

เมื่อราวๆ ปี 2547 มีครั้งหนึ่งที่ผมไปเดินอยู่ในหมู่บ้านในเวียดนามเหนือ ระหว่างที่กำลังจะเริ่มบทสนทนากับผู้เฒ่าคนหนึ่ง ท่านก็ถามผมว่า ทำไมประเทศเธอยอมให้สหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพแล้วมาทิ้งระเบิดที่บ้านเราŽ ผมอึ้งไปชั่วขณะ แล้วตอบกลับไปว่า แต่ผมทำงานในมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยผู้ที่ช่วยเหลือลุงโฮมาตลอดนะครับŽ ก็เลยพอจะปิดปากผู้เฒ่าคนนั้นไปได้บ้าง เพราะชาวเวียดนามพอจะรับรู้กันอยู่ว่าปรีดี พนมยงค์ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเวียดนามในระหว่างยุคสงครามอินโดจีนครั้งแรก

และนี่ก็แสดงความซับซ้อนของความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามไปด้วยในตัว

คำกล่าวประเภทว่า คนเวียดนามทุกคนรักชาติŽ คนเวียดนามชาตินิยมŽ คนเวียดนามหวงแหนประเทศ ต่อสู้ปกป้องประเทศจากต่างชาติŽ จึงถูกเพียงส่วนเดียว เพราะต้องถามต่อไปว่า ใครเป็นคนพูดคำนั้น ไม่ใช่คนเวียดนามใต้ทุกคนจะไม่ยินดีกับ การบุกเข้ายึดไซ่ง่อนŽ ของทหารเวียดนามเหนือ และไม่ใช่ชาวเวียดนามเหนือทุกคนที่ยินดีกับ การปลดปล่อยเวียดนามใต้Ž ไม่ต่างกับการที่คนอเมริกันจำนวนมากที่ต่อต้านการที่ผู้นำประเทศ นำประเทศสหรัฐเข้าสู่สงครามเวียดนามและสงครามอื่นๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคนอเมริกันจำนวนมากจนถึงทุกวันนี้ คนเวียดนามทุกฝ่ายทั้งสูญเสียและได้รับประโยชน์ ประเทศเวียดนามก็ไม่ต่างจากสังคมไหนๆ ที่ไม่ได้เรียบง่าย ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวเสมอกันไปหมด 

สังคมไทยก็ควรเริ่มทำความเข้าใจความซับซ้อนของบทบาทตนเองต่อความสูญเสียของผู้คนและสังคมในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ถึงทุกวันนี้ แม้แต่ความซับซ้อนของความขัดแย้งในสังคมไทยเอง คนไทยยังไม่อยากเข้าใจเลย คงหวังที่จะให้เข้าใจความซับซ้อนของโลกรอบตัวได้ยากยิ่งเข้าไปอีก

ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 4 พ.ค. 2558 

========================================

หมายเหตุ: ขอบันทึกไว้ว่า

1. บทความชิ้นนี้ มติชนตัดข้อความสำคัญตอนหนึ่งออกจากต้นฉบับอีกครั้งหนึ่ง คือตอนที่ผมกล่าวถึงการเสด็จเยือนเวียดนามใต้ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเมื่อปี 1959 ซึ่งนับเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกในฐานะประมุขของพระองค์ 

2. ที่ไม่แน่ใจคือ มติชนพิมพ์อักษรเวียดนามในฉบับที่พิมพ์ลงกระดาษหรือเปล่า แต่ในฉบับออนไลน์มีความผิดพลาดเรื่องนี้ ต่อไปหากเขียนเรื่องเวียดนามลงมติชน ผมคงต้องเลี่ยงการใช้อักษรเวียดนาม ซึ่งก็เหมือนไม่ให้เกียรติเพื่อนบ้าน และยิ่งดูน่าอายหากคนศึกษาเวียดนามเขียนถึงเวียดนามแล้วไม่ใช้อักษรเวียดนามในการพิมพ์งาน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม