Skip to main content

วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยริซูเมคาน (Ritsumeikan University) ในปี 1992 นับเป็นพิพิธภัณฑ์ว่าด้วยเรื่องสันติภาพแห่งเดียวในโลกที่ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย (เขาว่าอย่างนั้น) มีผู้รู้เพิ่มเติมข้อมูลให้อีกว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นแห่งหนึ่งที่ต่อต้านการเข้าร่วมสงคราม แม้ระยะแรกจะจำเป็นต้องเข้าร่วมเพราะถูกบังคับ ในท้ายสุด มหาวิทยาลัยริซูเมคานจึงเป็นหัวหอกในการต้านการนำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามและมีดำริสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งสันติภาพโลกนี้ขึ้นมา

สิ่งที่หนึ่งน่านับถือคือ ความกล้าหาญ ของผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งแน่นอนคือ "ชาวญี่ปุ่นส่วนน้อย" ที่ยอมรับความจริงอย่างตรงไปตรงมาว่า "คนเราฆ่ากัน แล้วคนที่ฆ่าเขาไม่ใช่ใครที่ไหน คือทหารหาญของประเทศเราเอง ที่เที่ยวออกไปฆ่าใครต่อใคร ข่มเขงชำเราใครต่อใครเขาไปทั่วหล้า ในนามของ ทหารของพระราชา" 

ถ้าจะแบ่งพื้นที่การจัดแสดง กว่าครึ่งหนึ่งของการจัดแสดงว่าด้วย "สงคราม 15 ปี" หรือที่ชาวโลกรู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ญี่ปุ่นเขานับจากปี 1931-1945 (ปีที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกท้ิงที่ฮิโรชิมาและนากาซากิ) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่อ้อมค้อม เริ่มเรื่องด้วยกระบวนการก่อตัวของสงคราม ที่ญี่ปุ่นสร้างกองทัพขึ้นมา สร้าง "สังคมแห่งสงคราม" ให้คนยอมรับและเข้าร่วมอย่างกระตือรือล้นในทุกๆ มิติ ทุกๆ ส่วนของสังคม กระทั่งการกินอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมด ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศของสงครามที่ "เราต้องอดทน" จนกระทั่งเมื่อดูรายละเอียดไปเรื่อยๆ คนดูอาจถามว่า "เขาจะก่อสงครามไปเพื่ออะไร" 

ความน่าสะพรึงกลัวของสงคราม 15 ปีเริ่มเมื่อญี่ปุ่นขยายอำนาจไปยังประเทศต่างๆ ทั้งเกาหลี จีน ไต้หวัน แล้วเรื่อยลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มี "โกโบริ" กับ "อังศุมาลิน" ในเรื่องเล่านี้ มีแต่ทหารญี่ปุ่นกับ sex slaves หรือบรรดาหญิงชาวเกาหลี ชาวจีน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากมายที่ถูกข่มขืน ถูกส่งลงเรือไปเป็นนางบำเรอให้ทหารญี่ปุ่นในต่างแดน จำวนมากตั้งครรภ์และถูกทอดทิ้ง (หรืออังศุมาลินใฝ่ฝันอยากเป็นดั่งหญิงเหล่านี้) 

พิพิธภัณฑ์นี้เล่าอย่างไม่ขวยเขินว่า การขยายอำนาจในนามพระราชานี้ ทหารญี่ปุ่นได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนไปทั่ว กองทัพญี่ปุ่นไม่เห็นค่าแม้กระทั่งชีวิตของทหารญี่ปุ่นด้วยกันเอง กองทัพญี่ปุ่นปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างโหดร้าย กองทัพญี่ปุ่นใช้แบคทีเรียกับแกสพิษเป็นอาวุธด้วย 

ภาพหลอนส่วนหนึ่งที่ชวนให้ขนลุก เสมือนหนึ่งเห็นชนกลุ่มน้อยในบางประเทศที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์และวัฒนธรรมของศัตรูแห่งกลุ่มชนตนเอง คือการเดินขวนเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นโดยนักเรียนประถมต้นในประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในไต้หวัน จนทุกวันนี้ยังมีประชากรไต้หวันบางส่วนพูดภาษาญี่ปุ่น 

พิพิธภัณฑ์เล่าถึงกระบวนการต่อต้านสงคราม ทั้งในประเทศต่างๆ ที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครอง และชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการก่อสงครามของญี่ปุ่นเอง (again) ไม่เห็นเขาเล่าว่ามีคู่รักอย่างโกโบริกับอังศุมาลินที่ไหนในโลกหรือว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะลำเอียงเข้าข้างการตระหนักรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามมากเกินไป ไม่รู้จักมองแง่งามของสงครามการขยายอำนาของญี่ปุ่นเสียบ้าง แย่จริง 

ในส่วนนั้น พิพิธภัณฑ์ก็ไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับการให้ความยุติธรรมแก่เหยื่อของสงคราม เพราะนอกจากคำถามอื่นใดแล้ว พลเรือนที่ต้องตายไป 100,000 คนในคืนเดียวที่มีการโจมตีทางอากาศที่โตเกียวโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และพลเรือนบริสุทธิ์ที่ต้องตายและได้รับผลกระทบอีกนับไม่ถ้วนจากระเบิดปรมาณูของอเมริกันล่ะ พวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ใครคืออาชญากรสงครามในการก่อกรรมนี้ ไม่เห็นโลกดำเนินการใดๆ 

อีกกว่าครึ่งของพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องกระบวนการสันติภาพในโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ลุ่มๆ ดอนๆ และกลับกลายเป็นว่า ในนามของสันติภาพและประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาก่อสงครามไปทั่วโลก 

หากจะมีพิพิธภัณฑ์สันติภาพในประเทศไทย เราจะกล้าตั้งคำถามกับบทบาทของสถาบันทหารหรือไม่ ทหารจะยอมให้เล่าเรื่องเหล่านี้หรือไม่ เราจะเล่าเรื่องสงครามกลางเมือง สงครามที่รัฐกระทำต่อประชาชนได้อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เราจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่อย่างไร  

เราจะระลึกถึงความโหดร้ายของความรุนแรงแล้วเริ่มต้นกระบวนการสันติภาพได้หรือไม่ หากเราไม่สามารถพูดถึงความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมาได้ หรือว่าประเทศไทยยังไม่มีสงครามที่รุนแรงเพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึงสันติภาพ หรือว่าเราจะต้องฆ่ากันให้มากขึ้น สันติภาพจึงจะเกิดขึ้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก