Skip to main content

หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง

ผมไปเกียวโตครั้งแรกตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (CSEAS) มหาวิทยาลัยเกียวโตเชิญไปสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop ก็คือ ไปอบรม เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างเข้มข้นนั่นแหละ) เป็นเวลา 5 วัน ตลอด 5 วันนั้นได้ความรู้และได้ใช้สมองมากมาย

ไปครั้งนั้น ผมได้ความรู้มากมาย ได้พบและแลกเปลี่ยนความคิดกับนักวิชาการใหญ่ๆ ของโลกอย่าง Anthony Reid ที่ใครก็ตามที่ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สักเพียงเล็กน้อยก็ควรหางานเขามาอ่าน (มีแปลเป็นไทย) แต่ที่เหลือ ล้วนเป็นนักวิชาการจาก "ซีกโลกใต้" คือชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชาวเอเชียตะวันออก รวมทั้งชาวญี่ปุ่นด้วย เพราะแม้ญี่ปุ่นผลิตความรู้มากมาย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าโลกด้านสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้ผมอยากรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

หลังจากนั้น เกียวโตเชิญร่วมกิจกรรมอีก 2 โครงการ โครงการหนึ่งเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนความคิดกับหนังสือของ James Scott ชื่อ The Art of Not Being Governed: An Anarchist History of Upland Southeast Asia ("ศิลปะของการไม่ถูกปกครอง : ประวัติศาสตร์ชาวอนาธิปัตย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" พิมพ์ปี 2009) หนังสือเล่มนี้ถูกวิจารณ์ในแวดวงของผู้ที่ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปทั่วโลก 

แต่กิจกรรมที่ CSEAS แห่งเกียวโตจัดคือ ไม่วิจารณ์แบบเสียๆ หายๆ แต่สร้างความรู้ขึ้นมาขยายความเข้าใจจาก Scott พร้อมกันนั้น ให้นักวิชาการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้วิจารณ์ ในส่วนของผมเอง ผมอาศัยข้อมูลจากการศึกษาชาวไทในเวียดนาม มาใช้อ่านงาน Scott เล่มนี้ ซึ่งก็ทั้งได้ประเด็นจาก Scott และได้มีมุมแลกเปลี่ยนกับ Scott มากมาย สุดท้ายได้งานเขียนใหม่มาอีกชิ้นหนึ่ง ได้คิดเกี่ยวกับพื้นที่ศึกษาของตนเอง อย่างเชื่อมโยงกับประเด็นทางทฤษฎีเกี่ยวกับการก่อเกิดรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

อีกโครงการหนึ่งเป็นการริเริ่มของนักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยา และนักวิทยาศาสตร์สิ้งแวดล้อมจากเกียวโต ไต้หวัน และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โดย Academia Sinica) ว่าด้วย "connectivity" หรือการเชื่อมต่อกันในหลายๆ ลักษณะของธรรมชาติ ผู้คน สังคม ซึ่งมีทั้งการแลกเปลี่ยนและต่อรองกับอำนาจในลักษณะต่างๆ 

โครงการนี้เป็นการทำงานข้ามสาขาวิชาและข้ามประเทศในซีกโลกใต้ โครงการนี้ไม่มีนักวิชาการจากซีกโลกเหนือร่วมเลยด้วยซ้ำ มีอยู่ 2 ครั้งที่โครงการนี้ไปสัมมนากันที่ Academia Sinica ในไทเป ทำให้ได้เห็นโลกทางวิชาการของไต้หวันพอสมควร โครงการนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2012-2014 เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เอง

จากการร่วมงานกับ CSEAS แห่งม.เกียวโตมา 6 ปี ผมเขียนบทความใหม่ๆ เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเวียดนามได้ 6 ชิ้น 

2 ชิ้นครึ่ง เป็นงานว่าด้วยวิธีวิทยาหรือแนวทางและท่าทีทางวิชาการของการศึกษาภูมิภาคนี้โดยชาวภูมิภาคเอง เขียนเป็นไทย 2 (หรือนับว่าชิ้นครึ่ง) และอังกฤษ 1 ผมเรียกมันว่า "เพื่อนบ้านศึกษา" (neighbor studies) ฉบับภาษาพิมพ์ไปชิ้นหนึ่งแล้วและกำลังจะพิมพ์อีก ส่วนฉบับภาษาอังกฤษ ยังไม่ได้พิมพ์

อีก 2 ชิ้นครึ่ง เป็นบทความภาษาอังกฤษชิ้นหนึ่ง กำลังเข้าสู่กระบวนการจัดพิมพ์แล้ว เป็นบทความจากโครงการที่แลกเปลี่ยนความคิดกับ James Scott ส่วนอีกชิ้นมาจากโครงการ connectivity ผมเขียนถึงนักวิชาการในเวียดนาม ในฐานะที่เป็นผู้ต่อรองอัตลักษณ์ระหว่างการเป็นชนกลุ่มน้อยกับการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเวียดนาม ภาษาอังกฤษกำลังพัฒนาเพื่อตีพิมพ์ ภาษาไทยเผยแพร่แล้ว

อีกชิ้นหนึ่ง เป็นผลมาจากการอ่านงานเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วหันมาทำความเข้าใจพัฒนาการใหม่ในภูมิภาคนี้ คือการพัฒนา ASEAN ข้นมาเป็น "ประชาคมเศรษฐกิจ" ที่ในอนาคตจะพัฒนาต่อไปเป็นประชาคมอาเซียน ผมเขียนบทความตั้งคำถามกับประเด็นต่างๆ ที่อาเซียนให้ความสำคัญและไม่ให้ความสำคัญ งานชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว หาได้ทางอินเตอร์เน็ต

ขณะนี้กำลังจะเขียนเพิ่มอีกหนึ่งชิ้น เป็นบททบทวนแนวทฤษฎีสำหรับศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลมาจากการบรรยายที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (เมื่อไหร่แน่ ชักจำไม่ได้แล้ว) 

ขอจบรายงานการทำงานกับ CSEAS แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต หากมีโอกาสได้ทำงานกับมหาวิทยาลัยเกียวโตอีก ก็คงได้เล่าเรื่องราวการเดินทาง พร้อมกับกับการแสวงหาทางปัญญาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก