Skip to main content

การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว

ผมมากัวลาลัมเปอร์ (KL) ครั้งนี้เพื่อมาเสนอผลงานทางวิชาการ มาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว แต่ครั้งนี้ดีหน่อยที่มีเวลามาก และอาจจะเพราะมาเป็นครั้งที่สี่แล้ว ก็เลยมีโอกาสที่การรับรู้ส่วนอื่นๆ นอกจากผัสสะแรกๆ คือการเห็นจะทำงาน ทำให้ได้มีโอกาสรับรู้และรู้สึกถึงอะไรอื่นๆ อีกมากมาย 

ที่สนามบิน LCCT (ที่จอดหลักของ Air Asia) เป็นสนามบิน low cost ที่ตั้งใจจะให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ เมื่อคราวก่อนๆ มาก็ไม่ได้สังเกตดีนอกจากความงุนงงว่า ทำไมมัน "เปลือยๆ" อย่างนี้ คือพื้นที่ส่วนใหญ่มันอยู่นอกอาคาร ไม่ติดแอร์ การตรวจคนเข้าเมืองก็รอนาน แต่นั่นก็ทำให้ไม่ต้องรอกระเป๋า เข้ามาก็ไปเลือกเอาจากที่พนักงานนำออกมาจากสายพานเรียงให้เรียบร้อยแล้วได้เลย การเดินทางเข้าเมืองก็นับว่าประหยัด เมื่อเทียบกับการนั่งรถแท็กซี่ราคาแพงใน KL 

เมื่อหยิบกระเป๋ามาแล้ว ก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี ผมจึงมองหาของกิน เจอร้านอาหาร "พื้นเมือง" ร้านหนึ่ง บรรยายกาศจัดแบบที่คนกรุงเทพฯ จะต้องรู้สึกเหมือนไปกินร้านอาหารจีนเก่าๆ ที่โต๊ะ-เก้าอี้เป็นไม้สีเข้มๆ พื้นโต๊ะปูด้วยหินอ่อน (ยังพอมีร้านแบบนี้อยู่ในกรุงเทพฯ หรือในต่างจังหวัดบางแห่ง) ผมตั้งใจหาอะไรที่ไม่รู้จักมากิน 

แต่ไม่ว่าจะอากาศร้อนอย่างไร (สัก 30 เซลเซียสกว่าๆ ได้) ก็ต้องขอชานมร้อนด้วยสักแก้ว เพราะชาพวกนี้หากินยากมากในกรุงเทพฯ เมื่อชายกมา รสชาติจัดจ้านสมใจอยาก จัดขนาดต้องใส่น้ำตาลจนหมดซอง ซึ่งปกติผมจะไม่ใส่น้ำตาลมากขนาดนั้น ไม่ใส่เลยด้วยซ้ำหากกินกาแฟ 

ส่วนอาหารจานหลัก ผมสั่ง Asam Laksa ร้อนๆ เมื่อได้เห็นและได้กินแล้ว ไม่มีวิธีไหนจะบรรยายได้ดีไปกว่าการแปลรสชาติที่เหมือนจะต่างแต่คล้ายกับจะรู้จัก ให้ตนเองและคนรู้จักเข้าใจ 

ผมแปล Asam Laksa โดยไม่รู้ภาษามาเลย์ว่า "ก๋วยเตี๋ยวแก็ญส้ม" คือสำหรับผม มันมีทั้งความเป็นอาหารเวียดที่เส้นแบบ Bánh Canh ของเวียดนาม หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ก๋วยจั๊บญวน" คือเส้นใสๆ กลมๆ เหนียวนุ่ม เพียงแต่เส้น "หมี่" (ที่ร้านนี้เรียกอย่างนั้น) ที่นี่ไม่เป็นเมือกๆ แบบเส้นในประเทศไทย (ไม่รู้ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมกินที่เวียดนามก็ไม่เห็นเป็นอย่างนั้น) ปนๆ กับเป็นอาหารจีนที่มันเป็นก๋วยเตี๋ยว ขณะเดียวกันมันก็ "แขก" หรือน่าจะ "มาเลย์"

ที่สะดุดลิ้นมากคือน้ำแกง ผมเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากเป็น "แกงส้ม" แบบภาคกลางของประเทศไทย เหมือนแกงส้มที่โขลกเนื้อปลาลงไปกับน้ำแกง แถมน้ำแกงยังเหมือนใส่กระชาย ไม่ใช่ขมิ้น รสออกเปรี้ยวนิดๆ แบบเปรี้ยวแหลม ไม่เปรี้ยวแบบใส่มะขามเปียก แต่เขาก็ตัดรสเปรี้ยวด้วยความฝาดของหัวปลีซอย โรยมาพร้อมหอมแดงซอย กับรสซ่าปร่าลิ้นของสะระแหน่ กับรสเผ็ดแทรกอยู่แต่ไม่มาก เขาโรยพริกแดงซอยมาด้วย ทำให้ได้ทั้งสี ทั้งรส ทั้งกลิ่น ทั้งสัมผัส

อาหารจานนี้จึงแปลก แต่ก็พอจะแปลได้ แต่ก็ได้แค่แปล ไม่สามารถเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาแบบที่มันเป็นได้ เพราะผมไม่ได้รู้จักบริบทของมันดีพอ ไม่รู้ว่าใครกินอาหารประเภทนี้ ใครทำ น่าจะกินเมื่อไหร่ มีโอกาสเฉพาะของมันไหม ปลาที่ใช้ควรเป็นปลาอะไรแน่ รสน่าจะไปทางไหนกันแน่ ใส่อะไรเคียงดีที่สุด ฯลฯ

แต่สำหรับผม มันอร่อย อร่อยแบบที่เข้าใจได้ด้วย แต่ก็อร่อยตามความเข้าใจของตนเอง อร่อยอยู่คนเดียวตามจินตนาการที่กินไปแปลรสไป ชิมไปในหัวก็นึกตีความอ่านไปว่า "มันคืออะไร" แบบที่พวกเราคุ้นเคย

การศึกษาข้ามวัฒนธรรมมันจึงยากก็ตรงนี้แหละ ตรงที่ทำอย่างไรจึงจะก้าวข้ามการแปล ไปสู่การเข้าใจที่ลึกซึ้งจากความเข้าใจของเจ้าของวัฒนธรรมเองได้ และถึงแม้จะทำได้บ้าง ทำได้มากกว่าการรับรู้แรกเริ่มก็ตาม สุดท้ายเมื่อต้องบอกเล่าให้ "พวกเรา" รับรู้ ให้รู้สึกตามด้วย ก็ยากที่จะพ้นไปจากการอธิบายด้วยอไรที่เรารับรู้ร่วมกัน มากกว่าที่คนอื่นหรือเจ้าของวัฒนธรรมอื่นๆ นั้นรับรู้อยู่ดี

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด