Skip to main content

การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว

ผมมากัวลาลัมเปอร์ (KL) ครั้งนี้เพื่อมาเสนอผลงานทางวิชาการ มาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว แต่ครั้งนี้ดีหน่อยที่มีเวลามาก และอาจจะเพราะมาเป็นครั้งที่สี่แล้ว ก็เลยมีโอกาสที่การรับรู้ส่วนอื่นๆ นอกจากผัสสะแรกๆ คือการเห็นจะทำงาน ทำให้ได้มีโอกาสรับรู้และรู้สึกถึงอะไรอื่นๆ อีกมากมาย 

ที่สนามบิน LCCT (ที่จอดหลักของ Air Asia) เป็นสนามบิน low cost ที่ตั้งใจจะให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ เมื่อคราวก่อนๆ มาก็ไม่ได้สังเกตดีนอกจากความงุนงงว่า ทำไมมัน "เปลือยๆ" อย่างนี้ คือพื้นที่ส่วนใหญ่มันอยู่นอกอาคาร ไม่ติดแอร์ การตรวจคนเข้าเมืองก็รอนาน แต่นั่นก็ทำให้ไม่ต้องรอกระเป๋า เข้ามาก็ไปเลือกเอาจากที่พนักงานนำออกมาจากสายพานเรียงให้เรียบร้อยแล้วได้เลย การเดินทางเข้าเมืองก็นับว่าประหยัด เมื่อเทียบกับการนั่งรถแท็กซี่ราคาแพงใน KL 

เมื่อหยิบกระเป๋ามาแล้ว ก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี ผมจึงมองหาของกิน เจอร้านอาหาร "พื้นเมือง" ร้านหนึ่ง บรรยายกาศจัดแบบที่คนกรุงเทพฯ จะต้องรู้สึกเหมือนไปกินร้านอาหารจีนเก่าๆ ที่โต๊ะ-เก้าอี้เป็นไม้สีเข้มๆ พื้นโต๊ะปูด้วยหินอ่อน (ยังพอมีร้านแบบนี้อยู่ในกรุงเทพฯ หรือในต่างจังหวัดบางแห่ง) ผมตั้งใจหาอะไรที่ไม่รู้จักมากิน 

แต่ไม่ว่าจะอากาศร้อนอย่างไร (สัก 30 เซลเซียสกว่าๆ ได้) ก็ต้องขอชานมร้อนด้วยสักแก้ว เพราะชาพวกนี้หากินยากมากในกรุงเทพฯ เมื่อชายกมา รสชาติจัดจ้านสมใจอยาก จัดขนาดต้องใส่น้ำตาลจนหมดซอง ซึ่งปกติผมจะไม่ใส่น้ำตาลมากขนาดนั้น ไม่ใส่เลยด้วยซ้ำหากกินกาแฟ 

ส่วนอาหารจานหลัก ผมสั่ง Asam Laksa ร้อนๆ เมื่อได้เห็นและได้กินแล้ว ไม่มีวิธีไหนจะบรรยายได้ดีไปกว่าการแปลรสชาติที่เหมือนจะต่างแต่คล้ายกับจะรู้จัก ให้ตนเองและคนรู้จักเข้าใจ 

ผมแปล Asam Laksa โดยไม่รู้ภาษามาเลย์ว่า "ก๋วยเตี๋ยวแก็ญส้ม" คือสำหรับผม มันมีทั้งความเป็นอาหารเวียดที่เส้นแบบ Bánh Canh ของเวียดนาม หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ก๋วยจั๊บญวน" คือเส้นใสๆ กลมๆ เหนียวนุ่ม เพียงแต่เส้น "หมี่" (ที่ร้านนี้เรียกอย่างนั้น) ที่นี่ไม่เป็นเมือกๆ แบบเส้นในประเทศไทย (ไม่รู้ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมกินที่เวียดนามก็ไม่เห็นเป็นอย่างนั้น) ปนๆ กับเป็นอาหารจีนที่มันเป็นก๋วยเตี๋ยว ขณะเดียวกันมันก็ "แขก" หรือน่าจะ "มาเลย์"

ที่สะดุดลิ้นมากคือน้ำแกง ผมเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากเป็น "แกงส้ม" แบบภาคกลางของประเทศไทย เหมือนแกงส้มที่โขลกเนื้อปลาลงไปกับน้ำแกง แถมน้ำแกงยังเหมือนใส่กระชาย ไม่ใช่ขมิ้น รสออกเปรี้ยวนิดๆ แบบเปรี้ยวแหลม ไม่เปรี้ยวแบบใส่มะขามเปียก แต่เขาก็ตัดรสเปรี้ยวด้วยความฝาดของหัวปลีซอย โรยมาพร้อมหอมแดงซอย กับรสซ่าปร่าลิ้นของสะระแหน่ กับรสเผ็ดแทรกอยู่แต่ไม่มาก เขาโรยพริกแดงซอยมาด้วย ทำให้ได้ทั้งสี ทั้งรส ทั้งกลิ่น ทั้งสัมผัส

อาหารจานนี้จึงแปลก แต่ก็พอจะแปลได้ แต่ก็ได้แค่แปล ไม่สามารถเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาแบบที่มันเป็นได้ เพราะผมไม่ได้รู้จักบริบทของมันดีพอ ไม่รู้ว่าใครกินอาหารประเภทนี้ ใครทำ น่าจะกินเมื่อไหร่ มีโอกาสเฉพาะของมันไหม ปลาที่ใช้ควรเป็นปลาอะไรแน่ รสน่าจะไปทางไหนกันแน่ ใส่อะไรเคียงดีที่สุด ฯลฯ

แต่สำหรับผม มันอร่อย อร่อยแบบที่เข้าใจได้ด้วย แต่ก็อร่อยตามความเข้าใจของตนเอง อร่อยอยู่คนเดียวตามจินตนาการที่กินไปแปลรสไป ชิมไปในหัวก็นึกตีความอ่านไปว่า "มันคืออะไร" แบบที่พวกเราคุ้นเคย

การศึกษาข้ามวัฒนธรรมมันจึงยากก็ตรงนี้แหละ ตรงที่ทำอย่างไรจึงจะก้าวข้ามการแปล ไปสู่การเข้าใจที่ลึกซึ้งจากความเข้าใจของเจ้าของวัฒนธรรมเองได้ และถึงแม้จะทำได้บ้าง ทำได้มากกว่าการรับรู้แรกเริ่มก็ตาม สุดท้ายเมื่อต้องบอกเล่าให้ "พวกเรา" รับรู้ ให้รู้สึกตามด้วย ก็ยากที่จะพ้นไปจากการอธิบายด้วยอไรที่เรารับรู้ร่วมกัน มากกว่าที่คนอื่นหรือเจ้าของวัฒนธรรมอื่นๆ นั้นรับรู้อยู่ดี

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก