Skip to main content

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว

มหาวิทยาลัยมาลายาเป็นมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยไทยหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแห่งที่ผมทำงานอยู่ ควรจะแวะเวียนกันมาดูแล้วดูเล่า ดูให้เข้าใจแล้วลอกเลียนแบบเขาไปบ้างว่า ทำไมเขาจึงทำมหาวิทยาลัยแบบนี้ขึ้นมาได้ แล้วอย่าได้อ้างเด็ดขาดว่า "ก็เพราะฝรั่งตั้งขึ้นไง ก็เพราะมาเลเซียเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษไง" เพราะพูดแบบนั้นนอกจากจะไม่รู้เรื่องอาณานิคมแล้ว ยังดูถูกตนเองว่า ขนาดไม่ได้ถูกครอบครองโดยใคร แถมส่งคนไปเรียนจากเจ้าอาณานิคมมากมาย แต่เมื่อกลับมาบ้าน แต่ละคนกลายเป็นบิดานั่นบิดานี่ ก็เป็นโดยไม่ได้ทิ้งอะไร สร้างอะไรดีๆ เอาไว้บ้างเลย 

อาจารย์สุมิต แมนเดล คนมาเลย์เชื้อสายอินเดียที่มหาวิทยาลัยมาลายาเล่าว่า ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยนี้ กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติคือ มหาวิทยาลัยมาลายาตั้งโดยอังกฤษตั้งแต่ปี 1905 เดิมอยู่ในสิงคโปร์ แล้วมาตั้งที่กัวลาลัมเปอร์เมื่อแยกประเทศกันหลังทศวรรษ 1940 นอกจากนั้น ความเป็นมรดกอาณานิคมคือการคงชื่อ Malaya ไว้ 

ส่วนมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ตั้งขึ้นหลังเกิดประเทศมาเลเซีย คือหลังยุคอาณานิคมแล้วหลายปี มหาวิทยาลัยแห่งชาติทำในสิ่งที่มหาวิทยาลัยมาลายาคิดว่าทำไม่ได้ คือเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษามาเลย์เป็นแห่งแรก แต่มหาวิทยาลัยมาลายาประกาศว่า หากมีคนในชั้นเรียนแม้แต่คนเดียวที่พูดภาษามาเลย์ไม่ได้ ก็ต้องจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 

ที่น่าสนใจคือ มหาวิทยาลัยมาลายามีพิพิธภัณฑ์ถึง 7 แห่งด้วยกัน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หลังจบการสัมมนาวิชาการที่โรงแรมแห่งหนึ่ง มหาวิทยาลัยมาลายาซึ่งเป็นผู้จัด ก็ได้จัดให้ไปชมมหาวิทยาลัยด้วยการนำชมพิพิธภัณฑ์ 2 จาก 7 แห่งนั้น เพียงแค่นี้ผมก็นึกไม่ออกว่า หากพาใครมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันเป็นนที่รักของผม จะพาเขาไปดูพิพิธภัณฑ์อะไร ก็พอมีนั่นแหละ แต่ก็ยังมีไม่น่าสนใจพอ 

แห่งแรกที่เขาพาไปคือ Museum of Asian Arts มี 3 ชั้น ชั้นแรกแสดงผลงานชั่วคราวของศิลปินอาชีพ ที่นี่เป็นแกลอรี่ด้วย ขายงานศิลปะที่จัดแสดงที่นี่ด้วย ผลงานที่นำมาแสดงไม่มากชิ้น เพราะสถานที่เล็ก แต่ก็เป็นผลงานของศิลปินระดับชาติ มีชื่อเสียง ขายผลงานได้เป็นล้านริงกิต (1 ริงกิตเท่ากับราวๆ 10 บาท) 

ส่วนชั้นสองกับชั้นสามเป็นคอลเล็คชั่นเครื่องเคลือบดินเผาหรือเซรามิก ของเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมยืนตะลึกงันอยู่หน้าชุดเซรามิกจากสมัยสุโขทัย ที่เป็นรูปช้าง ทั้งเศียรเดียวและสามเศียร มีคนนั่งบนช้าง แต่งตัวเป็นช้างศึก มีกองทหารคุ้มกันช้างทั้งสี่ขาด้วย ในของสะสมชุดเดียวกันนี้ยังมีช่อฟ้าหัวนาคเซรามิกจากสมัยเดียวกันด้วย เขาลงศักราชไว้ว่าคศ.ที่ 14 

ผมถามเจ้าหน้าที่ว่าได้ของพวกนี้มาอย่างไร เขาตอบว่า เคยมีอาจารย์จากประเทศไทยมาประจำที่นี่ แล้วบริจาคของสะสมส่วนตัวของท่านไว้ที่นี่ ด้วยความรู้และประสบการณ์อันจำกัดเกี่ยวกับเครื่องเคลือบของผม บอกได้เลยว่าผมไม่เคยเห็นของพวกนี้ในสภาพสมบูรณ์มากเท่านี้มาก่อน และดูเหมือนที่นี่จะรู้ดีถึงค่าของมัน จึงนำเอาของชุดนี้มาอวดเป็นของชุดพิเศษเลยทีเดียว นอกจากนั้นสำหรับของไทยเอง ที่นี่ยังมีเครื่องเคลือบที่เป็นจาน ชาม ถ้วยจากไทยสมัยสุโขทัยที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกเป็นสิบๆ ชิ้น 

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มักไม่เปิดให้เข้าชม เพราะเขาใช้สำหรับการเรียนการสอนเป็นหลักถัดไป ผู้จัดพาขึ้นรถวนไปชมนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับป่าดิบชื้น สถานที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของ "สวนป่า" ของมหาวิทยาลัย อาจารย์เฟอร์นานโด รอสซา นักวิจัยจากโปรตุเกสที่มาสอนมานุษยวิทยาประจำอยู่ที่นี่เล่าว่า เดิมมหาวิทยาลัยเป็นสวนปาร์มขนาดใหญ่ของพวกอังกฤษ สวนปาล์มเหล่านั้นเคยมีป่าอยู่แทรกอยู่ด้วย 

เมื่อตั้งมหาวิทยาลัย ส่วนหนึ่งของสวนปาล์มยังอยู่ ส่วนที่เป็นป่าก็ยังคงเป็นป่า มหาวิทยาลัยได้เก็บพื้นที่เหล่านั้นไว้เป็นตัวอย่างสำหรับการศึกษา ที่จัดแสดงแห่งนี้ก็จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับป่าร้อนชื่ออย่างละเอียด เสียดายที่วันนี้มืดแล้ว ก็เลยไม่ได้มีโอกาสเดินเข้าไปในป่าของมหาวิทยาลัย ที่ว่ากันว่ายังมีสัตว์ผ่าที่สืบเผ่าพันธ์ุมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม 

โดยรวมแล้ว มหาวิทยาลัยมาลายาน่าอยู่ มีเนินมากมายยิ่งทำให้สวยงามร่มรื่น คนหนึ่งในแขกซึ่งมาจากเยอรมนีเปรยว่า "นักเรียนที่นี่น่าอิจฉามาก" อีกคนหนึ่งซึ่งมาจากแอฟริกาพูดขึ้นบ้างว่า "พวกนักศึกษาเขาจะรู้หรือเปล่าว่า สภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ตอนนี้มันดีมาก" 

มหาวิทยาลัยไทย ไม่ต้องมีสวนป่าที่มีลิง มีสัตว์ป่าให้ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ขอเพียงแต่ผู้บริหารทำในสิ่งที่ควรทำ มากกว่าไปเที่ยวเป็นที่ปรึกษาอย่างเลือกข้างตรงข้ามกับประชาธิปไตย ก็จะทำให้มหาวิทยาลัยยกระดับคนเองขึ้นมาบ้างได้มากแล้ว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ