Skip to main content

 

ระยะนี้พูดกันมากว่าประชาธิปไตยเป็นแนวคิดตะวันตก คนที่พูดอย่างนี้หากเป็นคนที่ไม่ได้ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการอะไรก็ไม่ควรเอามาตรวัดความรู้อะไรไปตัดสินเขา เพราะเขาพูดจากความเชื่อล้วนๆ เหมือนความเชื่อที่ว่า สมัยก่อนคนเหาะได้ นรก-สวรรค์มีจริง อะไรพรรค์นั้น

แต่กับคนที่เรียกตัวเองหรือกินอยู่ในหน้าที่ทางสังคมว่า "นักวิชาการ" แล้วล่ะก็ ต้องต่อว่ากันว่า นี่แสดงว่าพวกคุณไม่ได้สนใจข้อถกเถียงใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้กันบ้างเลยหรืออย่างไร นี่แสดงว่าความรู้ของคุณมันจำกัดทั้งสายาวิชาและช่วงเวลาของการศึกษา นี่แสดงว่าคุณเลิกทำวิจัยมานานแล้ว หรือไม่ก็ทำวิจัยเฉพาะในกะลาวิชาการแบบไทยๆ จึงไม่เคยให้ใครในโลกนี้เขาตรวจสอบความรู้คุณเลย

ในระหว่างที่ทำวิจัยเรื่อง "ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย" พร้อมๆ กับทำวิจัยในพื้นที่ของตนเองเรื่อง “พลังชุมชนของชนบทใหม่ในกระแสโลกาภิวัตน์" ผมพบงานศึกษากลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ คือการศึกษาประชาธิปไตยในแนวทางมานุษยวิทยา (anthropology of democracy) ประเด็นสำคัญคือ การศึกษาประชาธิปไตยในทางมานุษยวิทยาไม่ได้จะดูว่าสังคมต่างๆ ที่ศึกษาเป็นประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน เป็นประชาธิปไตยหรือยัง หรือมีกลไกอะไรที่ขัดขวางหรือส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย

บางคนอาจเข้าใจว่า นักมานุษยวิทยาสนใจวัฒนธรรมที่หลากหลายจึงอาจศึกษาดูว่าประชาธิไตยในถิ่นต่างๆ มีลักษณะเฉพาะอย่างไร นั่นอาจจะเป็นแนวทางที่นักมานุษยวิทยาบางคนใช้ เช่นที่บางคนพูดถึงประชาธิปไตยแบบไทยที่ไม่เหมือนใครในโลก แต่นั่นเท่ากับเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในสังคมที่นำเอาแนวคิดประชาธิปไตยไปบิดเบือนเพื่อคงความเหลื่อมล้ำไว้อย่างเช่นในสังคมไทย

นักมานุษยวิทยาในโลกสากลไม่ได้สนใจประชาธิปไตยในลักษณะนั้น หากแต่เขาจะพิจารณาดูว่า “ประชาธิปไตย” ถูกใช้โดยใคร อย่างไร ในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ประชาธิปไตยถูกเข้าใจอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นการศึกษาวิธีที่ชนกลุ่มน้อยในบางประเทศอาศัยประชาธิปไตยเป็นเครื่องต่อรองเพื่อสร้างตัวตนในทางการเมืองของตนเองในตุรกี การศึกษาวิธีที่คนวรรณะต่ำๆ ใช้ประชาธิปไตยเพื่อแสดงสิทธิเสียงของตนเองในอินเดีย

วิธีการศึกษาแบบนี้ต่างการการศึกษาประชาธิปไตยในทางรัฐศาสตร์ ที่มักเน้นการวัดความเป็นประชาธิปไตย ราวกับว่ามีมาตรวัดประชาธิปไตยอยู่ที่ไหนสักแห่ง แล้วดูว่าประเทศนั้นๆ สังคมนั้น ๆ เป็นประชาธิปไตยแล้วหรือยัง เป็นแค่ไหน มีอะไรเป็นตัวถ่วงความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ แล้วจะแก้ไขอย่างไร

แต่ปัจจุบัน มีนักมานุษยวิทยาอีกกลุ่มหนึ่ง ที่หันมาสนใจแนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยจากพื้นถิ่น” (vernacular democracy) นำโดยนักมานุษยวิทยาแนวหน้าอย่างเดวิด แกรเบอร์ (David Graeber) และมิเชล-โรลห์ ทรุยโยต์ (Michel-Rolph Trouillot) นักมานุษยวิทยาชาวเฮติผู้เพิ่งล่วงลับ รวมทั้งนักคิดอินเดียแนวหลังอาณานิคมชั้นนำอย่างพาธา ชัตเตอร์จี (Partha Chatterjee)

แนวคิด “ประชาธิปไตยจากพื้นถิ่น” เสนอว่า แท้จริงแล้วความคิดประชาธิปไตยไม่ได้มาจากตะวันตก หากแต่มาจากวิถีชีวิตของชนพื้นถิ่นที่พบเห็นได้ทั่วไปนอกประเทศตะวันตก แกรเบอร์เก็บข้อมูลทั้งจากในอดีตและต่างถิ่นในปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือ แกรเบอร์พบว่า วิถีชีวิตแบบชาวอินเดียนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่ชาวตะวันตกบันทึกไว้ก่อนการเกิดประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีลักษณะเดียวกันกับวิถีชีวิตแบบสังคมประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค แกรเบอร์ตั้งข้อสังเกตว่า นั่นอาจจะเป็นแนวทางให้ชาวตะวันตกที่ตั้งใจจะปลดแอกตนเองจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษตระหนักในวิถีชีวิตที่แตกต่างจากในอังกฤษ และเป็นที่มาของประชาธิปไตยแบบอเมริกัน

ส่วนทรุยโยต์ ซึ่งส่งแรงบันดาลใจแก่ชัตเตอร์จีในภายหลัง ได้ชี้ให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคของชาวเฮติเพื่อปลดแอกตนเองจากฝรั่งเศสนั้น มีมาก่อนหรืออย่างน้อยก็พร้อมๆ กันกับระยะที่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วยซ้ำ ที่สำคัญคือ ทรุยโยต์ชี้ว่า ขณะที่การปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยของชาวฝรั่งเศสนั้นยังไม่ได้สนใจใยดีต่อเสรีภาพและความเสมอภาคของชนชาติอื่นๆ ที่ถูกฝรั่งเศสปกครองอยู่ เสรีภาพและความเสมอภาคของชาวเฮตินั้นเกิดขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของการที่เสรีภาพและความเสมอภาคจะต้องคำนึงถึงไม่เว้นชนชาติ ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยของเฮตินั้น “เป็นสากล” และก้าวหน้าเสียยิ่งกว่าประชาธิปไตยแบบฝรั่งเศสในยุคแรกเริ่มด้วยซ้ำ

หากยังเห็นว่างานศึกษาเหล่านี้ก็เป็นงานตะวันตก เป็นแนวคิดตะวันตก เพียงเพราะงานเขียนเหล่านี้ใช้ภาษาอังกฤษล่ะก็ โปรดอยู่ในโลกที่เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นของตะวันตกเท่านั้น ดุจเดียวกับที่พวกคุณคงยังเชื่อในนรก-สวรรค์กันอยู่ต่อไปก็แล้วกัน

แต่หากลองเปิดหูเปิดตาดูบ้างว่าโลกประชาธิปไตยมีที่มาที่ไม่ใช่ในตะวันตกเพียงเท่านั้นแล้ว ก็คงจะเข้าใจได้บ้างว่า ทำไมคนพื้นถิ่นต่างๆ เขาจึงถวิลหาประชาธิปไตยกันนัก ทำไมชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา คนยากคนจน จะเข้าใจประชาธิปไตยมากกว่าชาวกรุงชาวเมืองบ้างไม่ได้ ทำไมประชาธิปไตยจึงแนบแน่นอยู่ในวิถีชีวิตของคนธรรมดาสามัญ และทำไมชาวบ้านร้านตลาดเขาถึงหวงแหนประชาธิปไตยกันนัก นั่นก็เพราะประชาธิปไตยเป็นของเขา ประชาธิปไตยกลายเป็นของสามัญชนชาวไทยไปแล้ว ไม่ได้จำเป็นต้องมาจากตะวันตกห่างไกลที่ไหน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย