Skip to main content

การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ

ประการแรก สังคมนี้มีระบบศีลธรรมแบบเลือกปฏิบัติ การให้ความสนใจกว้างขวางต่อกรณีนี้แสดงความเป็นศีลธรรมสองมาตรฐาน หรือที่จริงคือเป็นศีลธรรมไร้มาตรฐานของคนไทยจำนวนมาก เพราะคนไทยส่วนมากไม่ได้ฟูมฟายกับการข่มขืนไปทุกกรณี อย่างการรุมข่มขืนผู้หญิงที่เกิดขึ้นในอินเดียเมื่อหลายเดือนก่อนแล้วเป็นข่าวไปทั่วโลก ก็ไม่เห็นเป็นกระแสสังคมมากเท่ากรณีนี้ที่เกิดขึ้นในไทยเอง นี่ไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องไกลตัว แต่เพราะสังคมไทยเปราะบางกับอาชญากรรมบางลักษณะ แต่กลับเฉยชากับอาชญากรรมหลายๆ ลักษณะ 

อาการศีลธรรมเลือกปฏิบัติไม่ได้เกิดกับเรื่องนี้เรื่องเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดกับเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้บริหารประเทศบางคนจะถูกตรวจสอบเข้มงวดมากกว่าผู้บริหารประเทศอีกบางคน การคอร์รัปชั่นโดยคนบางกลุ่มจะกลายเป็น "ทำผิดโดยบริสุทธิ์ใจ" ได้ เพราะความดีงามของสังคมนี้ไม่ได้วางอยู่บนมาตรฐานสากลเดียวกัน 

ประการที่สอง สังคมนี้เหยียดเพศหญิง ที่อันตรายไม่น้อยไปกว่ากันคือ พร้อมๆ กับการรุมโทรมฆาตกร หลายคนยังหันลับมารุมโทรมผู้เคราะห์ร้ายเข้าไปอีก บางคนว่าทำไมเด็กหญิงไม่ร้อง บางคนว่าเด็กหญิงแต่งตัวล่อแหลมไปหรือเปล่า บางคนว่าทำไมพ่อแม่ไม่ดูแล แทนที่จะหาสาเหตุของการทำร้ายหรือว่ากล่าวประณามคนร้าย คนเหล่านี้กลับค่อนขอดผู้ถูกทำร้าย กลายเป็นว่า ผู้หญิงที่ไม่ระวังตัวคือตัวปัญหาของสังคม  

ไม่ว่าใครจะแต่งตัวอย่างไร คนอื่นก็ไม่มีสิทธิที่จะไปละเมิดร่างกายเขา ถ้าใครเดินมาชกหน้าคุณแล้วบอกว่า เพราะหน้าคุณยั่วโมโหเขา คุณจะยอมรับแล้วไปศัลยกรรมหน้าตาใหม่ เพื่อไม่ให้หน้าตาคุณตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างนั้นหรือ 

ประการที่สาม สังคมไทยนิยมความรุนแรง การก่ออาชญากรรมรุนแรงจึงเป็นความผิดขั้นเลวร้ายเฉพาะของคนบางกลุ่มเท่านั้น การกระทำแบบเดียวกันอาจได้รับการยอมรับส่งเสริมได้หากกระทำต่อเหยื่อที่สังคมตัดสินเอาเองแล้วว่าสมควรแก่การรับเคราะห์กรรม เช่น บางคนที่ประณามการข่มขืนครั้งนี้ ก็ยังกลับทำภาพล้อเลียนอดีตนายกฯ พร้อมคำบรรยายว่า อดีตนายยกฯ สมควรถูกข่มขืนมากกว่าเด็กหญิงคนนี้ หรือกรณีข่าวล้อเลียนเหยียดเพศและให้จับผู้มีทัศนะทางการเมืองต่างขั้วกับตนบางคนไปให้นักโทษข่มขืน  

สังคมนี้ข่มขืนกระทำชำเรากันทั้งทางกาย วาจา และใจมาตลอด สังคมนี้ก่ออาชญากรรมต่อกันมาตลอด แต่สังคมนี้เลือกที่จะลงโทษการข่มขืนกระทำชำเราใครบางคนเท่านั้น 

ประการที่สี่ สังคมนี้แก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง ที่คิดกันว่าการเพิ่มโทษจะทำให้ผู้ที่จะกระทำผิดยับยั้งชั่งใจมากขึ้น ก็เพราะสังคมนี้เป็นสังคมที่ยกย่องการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา จึงเป็นสังคมมือถือสากปากถือสันติวิธี และดังนั้น สังคมนี้จึงยินดีกับการที่เจ้าหน้าที่รัฐสังหารคนกลางถนนด้วยเพราะตัดสินไปแล้วว่าเขาคือคนเลว เป็นพวกคนเลว 

สังคมที่นิยมความรุนแรงจึงยอมรับพร้อมส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงแบบเดียวกับที่ตนเลือกประณาม กับคนที่ตนรังเกียจ กับคนที่อยู่คนละข้างกับตน กับคนที่ต่ำต้อยกว่าตน ไม่ใช่เพื่อลดความรุนแรง แต่เพื่อยกตนเองและเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามตนเองเท่านั้น 

ประการสุดท้าย สังคมนี้ไม่ค่อยเห็นเหตุเชิงโครงสร้าง คนในสังคมนี้จำนวนมากเห็นปัญหาเฉพาะระดับบุคคล อาชญากรรมเกิดจากบุคคลกระทำก็จริง แต่เงื่อนไขเชิงระบบ เงื่อนไขโครงสร้างต่างๆ ก็มีส่วนให้เกิดอาชญากรรมได้ คนจำนวนมากรวมทั้งผู้รับผิดชอบโดยตรงจึงกลับปัดความผิด มุ่งประณาม ให้ร้ายกับปัจเจกคนร้ายเพียงด้านเดียว ไม่มองว่าการกระทำวิปริตใด ๆ นั้นเกิดขึ้นได้ก็เพราะอยู่ในเงื่อนไขของความวิปริตของสังคมและระบบที่บกพร่อง 

ระบบความปลอดภัยของการเดินทางสาธารณะ ระบบการควบคุมพนักงาน ระบบการออกแบบห้องโดยสาร ตลอดจนระบบการใช้ความเร็ว ความล้าหลังของการรถไฟ และการบริหารงานของหย่วยงาน เหล่านี้มีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมครั้งนี้ด้วย 

เมื่อมองปัญหาเฉพาะในระดับบุคคล ก็จึงคิดว่าจะต้องจัดการควบคุมบุคคลที่ชั่วร้าย ต้องกำจัดบุคคลที่ชั่วร้าย แต่ไม่คิดรื้อระบบเพื่อสร้างโครงสร้างใหม่ที่ดีกว่าสำหรับทุกคนขึ้นมา 

สังคมไทยไม่ได้ดีขึ้นมาได้ด้วยการเพิ่มโทษประหารชีวิตหรอก การร่วมกันวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหากันถ้วนหน้าอย่างทุกวันนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา หากจะแก้ปัญหาจริงก็ต้องสร้างระบบการเดินทางที่ดีและปลอดภัย พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานศีลธรรมสากล เลิกคิดเหยียดผู้หญิง และเลิกนิยมความรุนแรง แต่สังคมไทยแบบนั้นน่ะ แม้ในนิยายยังไม่มีเลย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย