Skip to main content
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี

 
การวิจารณ์ไม่เพียงมีหลายมิติ หากแต่ยังมีหลายกระบวนวิธีด้วยกัน มีหลายแนวทางจนกระทั่งกลายเป็นศาสตร์ของการวิจารณ์ ในสาขาวิชาบางสาขาอย่างวรรณคดีและทัศนศิลป์นั้น หากห้ามวิจารณ์ขึ้นมา ก็ถึงกับจะต้องยุบยกเลิกศาสตร์นั้นกันไปเลยทีเดียว
 
ในโลกศิลปะและวรรณคดีบ้านเรา คนทำงานศิลปะมักไม่ชอบถูกวิจารณ์ ศิลปินบางคนอิดเอื้อน ไม่อ่านบทวิจารณ์ ศิลปินบางคนดูแคลนการวิจารณ์ บางครั้งกล่าวว่า คนิจารณ์จะมาเข้าใจผู้สร้างงานได้อย่างไร นักเสพศิลปะบางคนกล่าวว่า นักวิจารณ์ส่วนมากคิดไปเอง คิดเกินไปกว่าเจ้าของผลงานศิลปะ คำพูดเหล่านี้มีมากในแวดวงศิลปะและวรรณคดีในประเทศไทย และดังนั้น แวดวงของการวิจารณ์ศิลปะก็จึงเติบโตในขอบเขตแคบๆ 
 
นักวิจารณ์คือผู้สร้างงานศิลปะอีกคนหนึ่ง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ผลงานศิลปะเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวชิ้นงานและการวิจารณ์ ปฏิกิริยาอย่างสร้างสรรค์ระหว่างกันนี้ทำให้การวิจารณ์มีได้ทั้งการส่งเสริมและทำลาย เพราะกล่าวอย่างหยาบๆ ผู้วิจารณ์ไม่เพียงชี้ข้อด้อยของผลงานหากแต่ยังชี้ให้เห็นข้อเด่นที่ผู้สร้างผลงานอาจจะยังไม่ได้พัฒนาให้เด่นยิ่งขึ้นเพียงพอ
 
หากแต่ในศาสตร์ของการวิจารณ์นั้น มีอะไรมากกว่าเพียงชี้ข้อเด่นข้อด้อย ศาสตร์ของการวิจารณ์ (นี่ว่าเฉพาะในทางศิลปะนะครับ) ยังชี้ให้เห็นถึงแง่มุมต่างๆ ที่แม้แต่ผู้สร้างผลงานเองก็ไม่ทันได้คิดถึงได้ ทั้งนี้เพราะผลงานสร้างสรรค์ใดๆ ก็ตามไม่ได้เป็นเพียงผลผลิตของตัวชิ้นงานและผู้สร้าง หากแต่ยังเป็นผลผลิตของปัจจัยแวดล้อมที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้สร้างงานต่างๆ นานา ทั้งในทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตลอดจนจิตไร้สำนึก
 
ในแวดวงของวิชาการด้านสังคมศาสตร์ก็เช่นกัน หลักใหญ่ใจความของการวิจารณ์ได้แก่การหาความสมเหตุสมผลของผลงาน ไปจนกระทั่งความสอดคล้องต้องกันของข้อมูลและหลักเหตุผลที่ใช้ การวิจารณ์ผลงานวิชาการที่ดีไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องใช้หลักทฤษฎีของตนเองไปหักล้าง โค่นล้ม หรือตัดสินกันข้ามกรอบของการศึกษา 
 
อย่างไรก็ดี การวิจารณ์งานวิชาการก็มีหลายระดับ ในระดับของการทำงานของนักวิจัยหน้าใหม่ เช่น ผลงานของนักศึกษาไม่ว่าจะในระดับใด ปกติแล้วผมยึดหลักการวิจารณ์โดยที่ไม่ทำลายหลักคิดของนักศึกษา เนื่องจากเป็นไปได้ที่นักศึกษาจะพัฒนาแนวคิดมาจากกรอบการศึกษาที่แตกต่างอย่างยิ่งจากอาจารย์ผู้สอน บางทีอาจารย์จึงควรปล่อยให้นักศึกษาได้พัฒนาความคิดไปจนสุดทางของเขาบ้าง ประคับประคองกันบ้าง 
 
นักศึกษาหรือนักวิจัยหน้าใหม่หลายคนมักไม่เข้าใจว่าผลงานของตนเองจะต้องถูกวิจารณ์ได้และต้องสามารถถูกปรับเปลี่ยนได้ และนักศึกษาอาจไม่เข้าใจว่า งานวิชาการไม่ว่าจะในระดับใด นับตั้งแต่ อาจารย์ ไปจนกระทั่ง ศาสตราจารย์ ย่อมต้องถูกวิจารณ์ได้ทั้งสิ้น
 
หากแต่สำหรับนักวิจัยมืออาชีพ ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่มักจะต้องวิจารณ์กันตั้งแต่รากฐานของวิธีคิด ไปจนถึงกระบวนการวิจัย การตีความข้อมูล และการนำเสนอผลงาน  กระนั้นก็ตาม การวิจารณ์ที่ดีก็จะต้องอยู่บนการเคารพซึ่งหลักเหตุผล หรืออย่างน้อยที่สุด ทั้งผู้วิจารณ์และผู้ถูกวิจารณ์ต่างก็จะต้องแลกเปลี่ยนความเห็นและหลักเหตุผลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างตั้งใจปิดหูปิดตาอีกฝ่ายให้ฟังตนอยู่เพียงผู้เดียว
 
การวิจารณ์เป็นวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นมาหลังยุคของความเชื่องมงายและยุคของอำนาจเบ็ดเสร็จ หากเจ้าของผลงานสร้างสรรค์ใดๆ เกรงกลัวการวิจารณ์ ก็ย่อมจะไม่ก่อให้การสร้างสรรค์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปได้ หากใครทำงานสร้างสรรค์แล้วหลีกเลี่ยงการถูกวิจารณ์ เขาก็กำลังกักขังตนเองและสังคมให้อยู่ในบ่วงของความดักดาน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด