Skip to main content
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี

 
การวิจารณ์ไม่เพียงมีหลายมิติ หากแต่ยังมีหลายกระบวนวิธีด้วยกัน มีหลายแนวทางจนกระทั่งกลายเป็นศาสตร์ของการวิจารณ์ ในสาขาวิชาบางสาขาอย่างวรรณคดีและทัศนศิลป์นั้น หากห้ามวิจารณ์ขึ้นมา ก็ถึงกับจะต้องยุบยกเลิกศาสตร์นั้นกันไปเลยทีเดียว
 
ในโลกศิลปะและวรรณคดีบ้านเรา คนทำงานศิลปะมักไม่ชอบถูกวิจารณ์ ศิลปินบางคนอิดเอื้อน ไม่อ่านบทวิจารณ์ ศิลปินบางคนดูแคลนการวิจารณ์ บางครั้งกล่าวว่า คนิจารณ์จะมาเข้าใจผู้สร้างงานได้อย่างไร นักเสพศิลปะบางคนกล่าวว่า นักวิจารณ์ส่วนมากคิดไปเอง คิดเกินไปกว่าเจ้าของผลงานศิลปะ คำพูดเหล่านี้มีมากในแวดวงศิลปะและวรรณคดีในประเทศไทย และดังนั้น แวดวงของการวิจารณ์ศิลปะก็จึงเติบโตในขอบเขตแคบๆ 
 
นักวิจารณ์คือผู้สร้างงานศิลปะอีกคนหนึ่ง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ผลงานศิลปะเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวชิ้นงานและการวิจารณ์ ปฏิกิริยาอย่างสร้างสรรค์ระหว่างกันนี้ทำให้การวิจารณ์มีได้ทั้งการส่งเสริมและทำลาย เพราะกล่าวอย่างหยาบๆ ผู้วิจารณ์ไม่เพียงชี้ข้อด้อยของผลงานหากแต่ยังชี้ให้เห็นข้อเด่นที่ผู้สร้างผลงานอาจจะยังไม่ได้พัฒนาให้เด่นยิ่งขึ้นเพียงพอ
 
หากแต่ในศาสตร์ของการวิจารณ์นั้น มีอะไรมากกว่าเพียงชี้ข้อเด่นข้อด้อย ศาสตร์ของการวิจารณ์ (นี่ว่าเฉพาะในทางศิลปะนะครับ) ยังชี้ให้เห็นถึงแง่มุมต่างๆ ที่แม้แต่ผู้สร้างผลงานเองก็ไม่ทันได้คิดถึงได้ ทั้งนี้เพราะผลงานสร้างสรรค์ใดๆ ก็ตามไม่ได้เป็นเพียงผลผลิตของตัวชิ้นงานและผู้สร้าง หากแต่ยังเป็นผลผลิตของปัจจัยแวดล้อมที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้สร้างงานต่างๆ นานา ทั้งในทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตลอดจนจิตไร้สำนึก
 
ในแวดวงของวิชาการด้านสังคมศาสตร์ก็เช่นกัน หลักใหญ่ใจความของการวิจารณ์ได้แก่การหาความสมเหตุสมผลของผลงาน ไปจนกระทั่งความสอดคล้องต้องกันของข้อมูลและหลักเหตุผลที่ใช้ การวิจารณ์ผลงานวิชาการที่ดีไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องใช้หลักทฤษฎีของตนเองไปหักล้าง โค่นล้ม หรือตัดสินกันข้ามกรอบของการศึกษา 
 
อย่างไรก็ดี การวิจารณ์งานวิชาการก็มีหลายระดับ ในระดับของการทำงานของนักวิจัยหน้าใหม่ เช่น ผลงานของนักศึกษาไม่ว่าจะในระดับใด ปกติแล้วผมยึดหลักการวิจารณ์โดยที่ไม่ทำลายหลักคิดของนักศึกษา เนื่องจากเป็นไปได้ที่นักศึกษาจะพัฒนาแนวคิดมาจากกรอบการศึกษาที่แตกต่างอย่างยิ่งจากอาจารย์ผู้สอน บางทีอาจารย์จึงควรปล่อยให้นักศึกษาได้พัฒนาความคิดไปจนสุดทางของเขาบ้าง ประคับประคองกันบ้าง 
 
นักศึกษาหรือนักวิจัยหน้าใหม่หลายคนมักไม่เข้าใจว่าผลงานของตนเองจะต้องถูกวิจารณ์ได้และต้องสามารถถูกปรับเปลี่ยนได้ และนักศึกษาอาจไม่เข้าใจว่า งานวิชาการไม่ว่าจะในระดับใด นับตั้งแต่ อาจารย์ ไปจนกระทั่ง ศาสตราจารย์ ย่อมต้องถูกวิจารณ์ได้ทั้งสิ้น
 
หากแต่สำหรับนักวิจัยมืออาชีพ ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่มักจะต้องวิจารณ์กันตั้งแต่รากฐานของวิธีคิด ไปจนถึงกระบวนการวิจัย การตีความข้อมูล และการนำเสนอผลงาน  กระนั้นก็ตาม การวิจารณ์ที่ดีก็จะต้องอยู่บนการเคารพซึ่งหลักเหตุผล หรืออย่างน้อยที่สุด ทั้งผู้วิจารณ์และผู้ถูกวิจารณ์ต่างก็จะต้องแลกเปลี่ยนความเห็นและหลักเหตุผลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างตั้งใจปิดหูปิดตาอีกฝ่ายให้ฟังตนอยู่เพียงผู้เดียว
 
การวิจารณ์เป็นวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นมาหลังยุคของความเชื่องมงายและยุคของอำนาจเบ็ดเสร็จ หากเจ้าของผลงานสร้างสรรค์ใดๆ เกรงกลัวการวิจารณ์ ก็ย่อมจะไม่ก่อให้การสร้างสรรค์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปได้ หากใครทำงานสร้างสรรค์แล้วหลีกเลี่ยงการถูกวิจารณ์ เขาก็กำลังกักขังตนเองและสังคมให้อยู่ในบ่วงของความดักดาน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี