Skip to main content
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี

 
การวิจารณ์ไม่เพียงมีหลายมิติ หากแต่ยังมีหลายกระบวนวิธีด้วยกัน มีหลายแนวทางจนกระทั่งกลายเป็นศาสตร์ของการวิจารณ์ ในสาขาวิชาบางสาขาอย่างวรรณคดีและทัศนศิลป์นั้น หากห้ามวิจารณ์ขึ้นมา ก็ถึงกับจะต้องยุบยกเลิกศาสตร์นั้นกันไปเลยทีเดียว
 
ในโลกศิลปะและวรรณคดีบ้านเรา คนทำงานศิลปะมักไม่ชอบถูกวิจารณ์ ศิลปินบางคนอิดเอื้อน ไม่อ่านบทวิจารณ์ ศิลปินบางคนดูแคลนการวิจารณ์ บางครั้งกล่าวว่า คนิจารณ์จะมาเข้าใจผู้สร้างงานได้อย่างไร นักเสพศิลปะบางคนกล่าวว่า นักวิจารณ์ส่วนมากคิดไปเอง คิดเกินไปกว่าเจ้าของผลงานศิลปะ คำพูดเหล่านี้มีมากในแวดวงศิลปะและวรรณคดีในประเทศไทย และดังนั้น แวดวงของการวิจารณ์ศิลปะก็จึงเติบโตในขอบเขตแคบๆ 
 
นักวิจารณ์คือผู้สร้างงานศิลปะอีกคนหนึ่ง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ผลงานศิลปะเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวชิ้นงานและการวิจารณ์ ปฏิกิริยาอย่างสร้างสรรค์ระหว่างกันนี้ทำให้การวิจารณ์มีได้ทั้งการส่งเสริมและทำลาย เพราะกล่าวอย่างหยาบๆ ผู้วิจารณ์ไม่เพียงชี้ข้อด้อยของผลงานหากแต่ยังชี้ให้เห็นข้อเด่นที่ผู้สร้างผลงานอาจจะยังไม่ได้พัฒนาให้เด่นยิ่งขึ้นเพียงพอ
 
หากแต่ในศาสตร์ของการวิจารณ์นั้น มีอะไรมากกว่าเพียงชี้ข้อเด่นข้อด้อย ศาสตร์ของการวิจารณ์ (นี่ว่าเฉพาะในทางศิลปะนะครับ) ยังชี้ให้เห็นถึงแง่มุมต่างๆ ที่แม้แต่ผู้สร้างผลงานเองก็ไม่ทันได้คิดถึงได้ ทั้งนี้เพราะผลงานสร้างสรรค์ใดๆ ก็ตามไม่ได้เป็นเพียงผลผลิตของตัวชิ้นงานและผู้สร้าง หากแต่ยังเป็นผลผลิตของปัจจัยแวดล้อมที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้สร้างงานต่างๆ นานา ทั้งในทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตลอดจนจิตไร้สำนึก
 
ในแวดวงของวิชาการด้านสังคมศาสตร์ก็เช่นกัน หลักใหญ่ใจความของการวิจารณ์ได้แก่การหาความสมเหตุสมผลของผลงาน ไปจนกระทั่งความสอดคล้องต้องกันของข้อมูลและหลักเหตุผลที่ใช้ การวิจารณ์ผลงานวิชาการที่ดีไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องใช้หลักทฤษฎีของตนเองไปหักล้าง โค่นล้ม หรือตัดสินกันข้ามกรอบของการศึกษา 
 
อย่างไรก็ดี การวิจารณ์งานวิชาการก็มีหลายระดับ ในระดับของการทำงานของนักวิจัยหน้าใหม่ เช่น ผลงานของนักศึกษาไม่ว่าจะในระดับใด ปกติแล้วผมยึดหลักการวิจารณ์โดยที่ไม่ทำลายหลักคิดของนักศึกษา เนื่องจากเป็นไปได้ที่นักศึกษาจะพัฒนาแนวคิดมาจากกรอบการศึกษาที่แตกต่างอย่างยิ่งจากอาจารย์ผู้สอน บางทีอาจารย์จึงควรปล่อยให้นักศึกษาได้พัฒนาความคิดไปจนสุดทางของเขาบ้าง ประคับประคองกันบ้าง 
 
นักศึกษาหรือนักวิจัยหน้าใหม่หลายคนมักไม่เข้าใจว่าผลงานของตนเองจะต้องถูกวิจารณ์ได้และต้องสามารถถูกปรับเปลี่ยนได้ และนักศึกษาอาจไม่เข้าใจว่า งานวิชาการไม่ว่าจะในระดับใด นับตั้งแต่ อาจารย์ ไปจนกระทั่ง ศาสตราจารย์ ย่อมต้องถูกวิจารณ์ได้ทั้งสิ้น
 
หากแต่สำหรับนักวิจัยมืออาชีพ ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่มักจะต้องวิจารณ์กันตั้งแต่รากฐานของวิธีคิด ไปจนถึงกระบวนการวิจัย การตีความข้อมูล และการนำเสนอผลงาน  กระนั้นก็ตาม การวิจารณ์ที่ดีก็จะต้องอยู่บนการเคารพซึ่งหลักเหตุผล หรืออย่างน้อยที่สุด ทั้งผู้วิจารณ์และผู้ถูกวิจารณ์ต่างก็จะต้องแลกเปลี่ยนความเห็นและหลักเหตุผลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างตั้งใจปิดหูปิดตาอีกฝ่ายให้ฟังตนอยู่เพียงผู้เดียว
 
การวิจารณ์เป็นวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นมาหลังยุคของความเชื่องมงายและยุคของอำนาจเบ็ดเสร็จ หากเจ้าของผลงานสร้างสรรค์ใดๆ เกรงกลัวการวิจารณ์ ก็ย่อมจะไม่ก่อให้การสร้างสรรค์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปได้ หากใครทำงานสร้างสรรค์แล้วหลีกเลี่ยงการถูกวิจารณ์ เขาก็กำลังกักขังตนเองและสังคมให้อยู่ในบ่วงของความดักดาน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน