Skip to main content

นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ

พูดถึง "การเขียน" ผมว่าคนเราต้องเขียนสิ่งที่เรารู้ เราคิด เรารู้สึกจริงๆ คือเขียนอย่างจริงใจ อย่างไม่หลอกลวงตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นลีลาแบบตรงไปตรงมาหรือประชดประชันหรือลีลาไหนๆ ก็ตาม นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด 

ผมว่ามันจะตลกน่าดูหากการเขียนจะเขียนเพียงเพื่อเอาใจคนอ่าน การเขียนคือการแสดงออกอย่างหนึ่ง ถ้าเราต้องแสดงออกเพียงเพื่อให้ถูกใจผู้รับรู้ นักเขียนคนนั้นจะไปได้ไม่ไกลหรอก 

ผมมองการเขียนเหมือนกับการทำงานศิลปะ ถ้าผู้สร้างผลงานทำงานได้แค่งานเอาใจตลาด เขาก็จะไม่มีวันได้นำเสนอความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากคนอื่น อันนี้ก็ต้องเลือกเอาว่าคุณอยากเป็นคนทำงานป้อนตลาด หรืออยากเป็นคนทำงานที่ได้นำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งก็ต้องเสี่ยงว่าจะตกกระป๋องหรือก้าวลำนำหน้าคนอื่น 

แต่ผมบอกได้ว่า ในประสบการณ์ของผมและจากคนที่รู้จักรอบข้าง การเลือกทำงานตามความเป็นตัวของตัวเอง แม้จะลำบาก แต่ผลที่ได้รับมีสองอย่าง ในเบื้องต้น คุณสนุกกับมัน และจะทำมันอย่างเต็มที่ ในท้ายที่สุด คุณจะได้ผลตอบแทนคือมีที่มีทางในสังคม แม้จะช้าไปบ้าง (จนบางคนอาจต้องรอหลังสิ้นชีวิตไปแล้ว-ข้อนี้ผมไม่ได้บอกเขาไป)

ข้อต่อมา เรื่อง "อนาคต" ว่าในเมื่อคุณเป็นคนช่างสงสัย ไม่เชื่อตามที่ใครๆ เขาบอกกันง่ายๆ แล้วจะทำให้ชีวิตลำบากหรือเปล่า คุณอายุยังน้อย ไม่น่าแปลกใจที่คุณย่อมกังวลว่าอนาคตข้างหน้าไกลๆ จะเดินไปอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร ทางไหนกันแน่ที่จะเป็นทางที่ประสบความสำเร็จ 

เรื่องนี้ตอบยากจริงๆ มันแล้วแต่จังหวะ โอกาส และการตัดสินใจ หากจะตอบจากตัวเอง ผมเองที่เป็นผมทุกวันนี้ก็ไม่เชิงว่าจะเป็นตัวเองแบบที่ใฝ่ฝันตั้งแต่เด็กๆ คือความฝันเรามันเป็นอย่าง แต่สุดท้ายเราก็ไม่ได้เป็นแบบที่เราฝันเป๊ะๆ หรอก แต่ก็ไม่รู้นะ บางคนอาจทำตามฝันได้ตรงเป๊ะจริงๆ ก็ได้ 

ความฝันเราก็คงต้องปรับไปเรื่อยๆ บ้าง ตามเงื่อนไขความจริงที่มันขยับไปเรื่อยๆ เด็กๆ ผมไม่เคยคิดจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็ใครจะไปฝันแบบนั้นได้ล่ะหากไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวแบบนั้น ผมไม่ได้เติมโตมาในครอบครัวที่มีการศึกษาสูงอะไร เพียงแต่เงื่อนไขของชีวิตมันนำพามาเรื่อยๆ สุดท้ายก็มาทำงานอย่างที่เป็นทุกวันนี้

แต่หากจะถามว่า แล้วผมได้ทำตามความใฝ่ฝันไหม ก็ใช่นะ นี่คือสิ่งที่ผมอยากเป็นโดยรวมๆ คือ อยากทำงานที่อิสระ อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากนำเสนอความคิดความอ่านของตัวเอง อยากค้นคว้าหาความรู้ไปเรื่อยๆ เหล่านี้ตรงกับความเป็นผมที่ใฝ่ฝันแบบรวมๆ โดยที่ก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะลงเอยอย่างไร 

สรุป ถ้าถามผมว่าจะทำอย่างไรดี คุณก็ต้องถามตัวเองในขณะนี้ แล้วทำเท่าที่จะทำได้ แบบไม่หลอกตัวเอง แต่นั่นก็แล้วแต่ว่าคุณจะเลือกอย่างไรอยู่ดี

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย