Skip to main content
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง

 
แต่แวดวงการศึกษาเรื่องไทยในโลกสากล เสนอทั้งข้อมูลและกรอบการวิเคราะห์โต้แย้งทัศนะแบบนี้ไว้อย่างพิศารมากมายเนิ่นนานมาหลายสิบปีแล้ว อย่าเพิ่งรังเกียจ "แวดวงวิชาการไทยศึกษาสากล" เพียงเพราะแวดวงนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะแวดวงนี้ไม่ได้มีแต่ฝรั่ง มีคนเอเชียอื่นๆ รวมทั้งคนไทยอยู่ด้วยมากมาย ผลงานวิชาการก็มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯลฯ สมัยนี้ใครทำงานไทยศึกษานานาชาติแล้วไม่อ่านงานนักวิชาการไทย ยิ่งตกยุคไปกันใหญ่
 
ไม่ว่าจะมองผ่านเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ ระบบศาลยุติธรรม หรือวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทัศนะที่ว่า "ไทยไม่เคยตกเ็นเมืองขึ้นฝรั่ง" นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปหมด
 
นับตั้งแต่อำนาจฝรั่งตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลียนทิศทางไป จากการค้าขายแลกเปลี่ยน ไปเป็นการแข่งขันทางการค้าและการยึดพื้นที่การผลิตวัตถุดิบในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา พื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 
 
ในกรณีของสยาม ไหนจะทำให้ชนชั้นนำเสียอำนาจการผูกขาดการค้าขาย ไหนจะการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทำให้คนในอานัติต่างชาติหากทำผิดก็ไม่ต้องขึ้นศาลสยาม ไหนจะการเปิดพื้นที่สาธารณะของการถกเถียงผ่านหนังสือพิมพ์และการพิมพ์ ที่ส่วนหนึ่งเฟื่องฟูเพราะสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ว่าทำให้คนนอกอานัติสยามกล้าแสดงความเห็นด้วยภาษาไทยด้วยซ้ำ 
 
ไหนจะการปฏรูปเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมต่างๆ ทางวัฒนธรรมที่กระทบตั้งแต่ในวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด เช่น การยกเลิกการหมอบกราบ ไหนจะการนำเข้าวรรณคดีและความคิดจากต่างประเทศของชนชั้นนำเอง และการบริโภคสินค้าจากต่างประเทศอย่างล้นเหลือของชนชั้นนำเอง เหล่านี้ทำให้ต้องประเมินกันให้ดีว่า ตกลง "ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" จริงหรือ
 
เอาเข้าจริงๆ แทนที่จะเป็นบุญคุณความสามารถพิเศษของใครที่ไหน ที่จริงคนไทยควรขอบคุณฝรั่งเศสกับอังกฤษที่ตกลงกันได้ว่าจะเก็บสยามไว้เป็นรัฐกันชนระหว่างอินโดจีนกับบริติชอินเดีย หลักฐานข้อนี้นักวิชาการสำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ไม่เคยเห็นกันหรือไง หรือไม่อยากเห็นก็เลยไม่ค้นคว้า
 
ลึกลงไปกว่านั้น การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการสร้างระบบการปกครองส่วนภูมิภาค การสร้างเอกภาพของรัฐสมัยใหม่ผ่านจินตนาการตัวตนบนแผนที่ การสร้างสำนึกความเป็นคนไทยร่วมกัน การลดทอนทำลายความเป็นท้องถิ่น การศึกษาสมัยใหม่ ฯลฯ เหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำให้ท้องถิ่นและคนกลุ่มต่างๆ กลายเป็นอาณานิคมของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากที่ฝรั่งทำกับประเทศใต้อาณานิคม
 
ล่าสุด ทัศนะแบบ "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ปรากฏตัวอีกครั้งผ่านข้อเขียนสั้นๆ ของนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่หลายคนเคยยกย่องว่าเป็นครู แต่ตอนนี้แม้จะเอ่ยชื่อยังไม่อยากเอ่ยถึงให้แปดเปื้อนหน้ากระดาษ (http://www.ryt9.com/s/tpd/1969581)
 
แถมบทความนี้ยังอ้างงานนักมานุษยวิทยาชื่อดังที่เคยเขียนรายงานซึ่งไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ให้สหรัฐอเมริกามาสนับสนุน (ค.ศ. 1943 เผยแพร่โดยคอร์แนลปี 1952 และ 1963) ตลกไหมล่ะ วันนี้สหรัฐฯ (ค.ศ. 2014) ต่อต้านรัฐประหารในไทย แต่สมัยสงครามเย็น สหรัฐฯ สนับสนุนร่วมมือกระทั่งสร้างและอุ้มชูรัฐบาลเผด็จการในไทย เอกสารสมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนประชาธิปไตยกลับไม่อ้าง แต่นักหนังสือพิมพ์สำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" กลับไปอ้างเอกสารสหรัฐฯ สมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนเผด็จการเมื่อ 71 ปีที่แล้วเพื่อเข้าใจสังคมไทยปัจจุบัน (http://www.nla.gov.au/apps/doview/nla.gen-vn5040081-p.pdf)
 
ผมไม่อยากเสียเวลามากนัก แต่ขอกล่าวถึงงานเขียนของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นนี้สั้นๆ ว่า ปัจจุบันที่ใครจะอ่านบทความนี้เพื่อเข้าใจสังคมไทยจริงๆ นั้น น้อยมากแล้ว นักเรียนมานุษยวิทยาเขาอ่านเพื่อเข้าใจวิธีคิดของนักทฤษฎีสมัยนั้นเท่านั้น ทำไมล่ะ ก็เพราะว่า ที่จะบอกว่าคนไทยเป็นแบบใดแบบหนึ่งเหมือนๆ กันไปหมดน่ะ ความคิดแบบนั้นมันล้าหลังงตกขอบไปตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แล้ว ถ้าความคิดนี้ยังใช้ได้ ก็จะไม่มีทางเข้าใจนักศึกษาไทยที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหารในทศวรรษ 1970 ได้หรอก ไม่เข้าใจคนเสื้อแดงที่ต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมได้หรอก ไม่เข้าใจการต่อต้านการรัฐประหารครั้งล่าสุดได้หรอก
 
นี่ยังไม่นับว่า คนเขียนเอกสารยาวแค่ 50 กว่าหน้านี้แม้จะโด่งดัง แต่ก็ไม่เคยมาทำวิจัยในประเทศไทย แถมเบเนดิกต์ยังหูหนวกส่วนหนึ่ง ข้อนี้รู้กันทั่วว่าเธอทำวิจัยเอกสารเป็นหลัก จึงไม่ได้จะแม้แต่สัมภาษณ์คนไทย นักการทูตไทย ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเอกสารที่ผ่านการตีความมาแล้วอีกทีทั้งสิ้น แถมเธอยังเลือกเฉพาะเอกสารที่ช่วยให้สรุปไปได้ทางเดียวทั้งสิ้น ภาพสังคมไทยจึงเป็นก้อนเดียวเหมือนกันไปหมด สมัยนี้การวิจัยแบบนี้ไม่ได้รับการยอมรับกันในแวดวงมานุษยวิทยาแล้ว (นี่ไม่ได้หมายความว่างานของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นอื่นๆ อีกมากมายจะไม่ควรศึกษาอีกต่อไป ได้โปรดอย่าสรุปง่ายๆ อย่างนั้น)
 
แนวคิด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" เป็นคำพูดหลอกตัวเองจริงๆ คำพูดนี้ลดทอนความสลับซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างสยาม/ไทยกับโลกสากล ยิ่งกว่านั้น คำพูดนี้ยังเป็นการหลอกประชาชนว่า ที่สยาม/ไทยคงความเป็นเอกราชอยู่ได้นี่ก็เพราะบุญคุณของชนชั้นนำที่สามารถปกป้องประเทศและประชาชนจากฝรั่งได้ ทั้งที่ความจริงมีเงื่อนไขการเมืองระหว่างประเทศมากมายที่รองรับสถานะเฉพาะข้อนี้ของสยาม/ไทย
 
เหนืออื่นใด การผลิตซ้ำคำพูด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ยังเป็นการหลอกประชาชนมาทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้ชนชั้นนำสามารถคงอำนาจเหลื่อมล้ำที่ทำให้ตัวเองเหนือกว่าประชาชนเอาไว้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก