Skip to main content

เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
 

วิชามานุษยวิทยาแบบอเมริกันมี 4 สาขาใหญ่ สาขาหนึ่งศึกษาวัฒนธรรม สาขาหนึ่งศึกษาภาษา ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินมีสาขาแรก ส่วนสาขาที่สองส่วนหนึ่งกลายเป็นหน้าที่ต่างหากของภาควิชาภาษาศาสตร์ มีวิชาที่ผมสอนเทอมที่แล้วคือ "ภาษาและวัฒนธรรม" ที่กำลังจะกลายเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนภาษาได้เรียนทางด้านมานุษยวิทยาภาษาด้วย ส่วนอีก 2 สาขาที่ยังคงเป็นจุดเด่นของภาควิชานี้ที่นี่คือ สาขาโบราณคดีและสาขามานุษยวิทยาชีวภาพ หรือที่เดิมเรียกว่ามานุษยวิทยากายภาพ

เมื่อครั้งที่ผมเรียนที่นี่ร่วม 10 ปีก่อน ได้เรียนวิชาโบราณคดีเพียงวิชาเดียว ส่วนวิชามานุษยวิทยาชีวภาพไม่ได้เรียน แต่ที่จริงนักศึกษาไม่ว่าจะระดับตรี โท หรือเอก ก็สามารถเลือกเรียนวิชาข้ามทั้ง 3 สาขาได้ ได้มากจนกระทั่งบางคนอาจจบโดยได้รับสองปริญญา เช่นนักเรียนผมคนหนึ่ง เขาศึกษามานุษยวิทยาชีวภาพควบกับมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

วันนี้ได้มาพบกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ชื่อแดเนียล เบ็นเด็น (Danielle M. Benden) อายุยังน้อยมาก เธอเป็นทั้งอาจารย์ผู้บรรยายและเป็นภัณฑารักษ์ประจำภาควิชามานุษยวิทยาเพียงคนเดียว แต่งานหลักของเธอนั้นมากมายมหาศาล ตั้งแต่จัดระบบบรรดาโบราณวัตถุและกระดูกทั้งของจริงและของจำลอง ตลอดจนจัดการเรียนการสอน และทำโครงการจัดแสดงโบราณวัตถุและกระดูกต่างๆ ทางด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาชีวภาพ

เบ็นเด็นเล่าว่า ภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่เริ่มเก็บโบราณวัตถุและกระดูกมาตั้งแต่ค.ศ. 1897 จนขณะนี้ก็ร้อยกว่าปีแล้ว โบราณวัตถุเหล่านี้จึงมีจำนวนมหาศาล เฉพาะห้องเก็บของเหล่านี้ก็วันนี้ผมก็นับได้ 4 ห้องเล็กกับอีก 1 ห้องใหญ่ๆ แล้ว และที่จริงผมรู้ว่ายังมีข้าวของพวกนี้ซุกซ่อนอยู่ในชั้นเก็บของห้องอาจารย์อีกหลายท่าน และยังมีห้องเรียนที่เป็นห้องทดลองในตัวที่เพิ่งสร้างอย่างทันสมัยอีกอย่างน้อยเท่าที่เห็นวันนี้ 4 ห้อง โดยรวมแล้วจึงได้เห็นว่าภาควิชาได้ลงทุนอย่างมหาศาลกับการศึกษาทางด้านนี้

ผมก็เลยตื่นตาตื่นใจไปกับทั้งของที่ภาควิชาเก็บไว้และวิธีการจัดการดูแลและการทุนเทของภาควิชา เนื่องจากภาควิชานี้ไม่ได้มีพิพิธภัณฑ์ ของพวกนี้จึงเก็บไว้ใช้ในเพื่อการเรียนการสอนและจัดแสดงชั่วคราวเท่านั้น คนทั่วไปจึงมีโอกาสน้อยมากที่จะได้เห็น 

โบราณวัตถุที่เบ็นเด็นภัณฑารักษ์ผู้พาชมอยากอวดในวันนี้มีมากมาย ที่เด่นๆ ก็เช่นบรรดาใบมีดหินกระเทาะขนาดเล็ก ใหญ่ หัวขวานหิน หัวธนูที่ทำจากหินแก้วใส เหล่านี้มาจากแทบทุกทวีป เครื่องปั้นดินเผาอายุตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันปีจากทั่วโลก ชิ้นพิเศษๆ ก็เป็นเศษเครื่องปั้นดินเผาของมนุษย์ยุคแรกเริ่ม นอกจากนั้นก็พวกกระดูกและกะโหลกมนุษย์โบราณและมนุษย์วานร ของเหล่านี้เก็บสะสมมานานโดยคณาจารย์ที่สอนภาควิชานี้มาก่อน และทั้งที่ได้มาจากแหล่งโบราณคดีต่างๆ 

ที่ผมเพิ่งทราบเป็นความรู้ใหม่คือ บรรดากระดูกและกะโหลกมนุษย์โบราณและมนุษย์วานรนั้น แม้ส่วนมากนักเรียนจะได้เรียนจากของจำลองทำเป็นวัสดุเรซิน ก็จะต้องเป็นการจำลองทีละชิ้นมาจากกะโหลกและกระดูกของจริงต้นฉบับที่บางชิ้นเก็บไว้ในสถาบันการศึกษาในทวีปต่างๆ ทั่วโลก เช่นบางชิ้นจำลองมาจากสถาบันวิชาการในแอฟริกา วิธีนี้จึงทำให้สามารถได้รายละเอียดของร่องรอยต่างๆ อย่างครบถ้วน เสมือนศึกษาจากกระดูก กะโหลกจริงกันเลยทีเดียว

นอกจากนั้นภัณฑารักษ์ท่านยังเล่าถึงโครงการที่ท่านกำลังจะจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ ขนาดเล็ก จะใช้วัตถุจัดแสดงราวๆ ไม่เกิน 100 ชิ้น เรื่องโบราณคดีของวิสคอนซิน ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นความเชี่ยวชาญหนึ่งของภาควิชานี้ ที่ก็มีนักโบราณคดีที่ศึกษาเรื่องนี้เพียง 2 คนเท่านั้น แต่กระบวนการจัดนิทรรศการนี้นั้นต้องใช้เวลาเตรียมการเป็นปี เมื่อร่างโครงการแล้วก็ให้นักศึกษานำไปเสนอให้ชาวบ้านในชุมชนชาวอเมริกันพื้นเมืองได้วิจารณ์เสนอแนะความเห็น และก็นำมาสู่การพัฒนาเนื้อหาการจัดแสดง นิทรรศการนี้จวนจะนำเสนอแล้ว ปลายเดือนหน้านี้หากมีโอกาสจะไปชมมาเล่าให้อ่านกันครับ

ของอีกส่วนหนึ่งที่ภัณฑารักษ์ตื่นเต้นอยากอวดนักวิชาการจากไทยสองคนวันนี้คือ ชุดเครื่องแต่งกายพร้อมเครื่องประดับศีรษะของตัวละครเรื่องสังข์ทอง ซึ่งเป็นของเก่าที่นักมานุษยวิทยาชื่อดังคือเจนและลูเซียน แฮงส์ (Jane and Lucian Hanks) ที่มาศึกษาวิจัยในประเทศไทยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริจาคไว้ ความเป็นมาเป็นอย่างไรไม่แน่ชัด แต่เมื่อได้เห็นสภาพหน้ากากเจ้าเงาะ ชฎานางรจนา และเสื้อชุดละครบางส่วนแล้ว ก็น่าประทับใจกับการเก็บรักษาข้าวของเป้นอย่างดีของที่นี่

น่าเสียดายที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้เคยรู้จักด้านนี้ของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่มากนัก จึงไม่ได้ชวนให้ผมอยากศึกษาความรู้ด้านนี้มากเท่าที่ควร แต่ผมก็หวังที่จะได้บอกกล่าวกับคณาจารย์และนักศึกษาที่นี่ว่า พวกเธอมีของดีอีกมากมายที่ควรนำเสนอให้อย่างน้อยนักศึกษาต่างสาขาในภาควิชาเดียวกันได้รับรู้

ส่วนนักวิชาการไทยเองก็หนีไม่พ้นที่จะสะท้อนใจว่า การเรียนการสอนด้านนี้ในประเทศไทยทำไมจึงดูไม่น่าตื่นเต้น ไม่น่าสนุกเท่ากับที่ภัณฑารักษ์วัยเยาว์ท่านนี้ชี้ชวนให้ดูให้ชมให้เรียนรู้ก็ไม่ทราบ ทำไมบรรดาข้าวของโบราณในประเทศไทยมันจึงศักดิ์สิทธิ์เกินเอื้อมจนผู้สนใจไม่สามารถหยิบจับลูบคลำได้ก็ไม่ทราบ ทำไมความรู้โบราณและพิพิธภัณฑ์จึงมักไม่ค่อยประสานเชื่อมโยงกับผู้คนและชุมชนมากนักก็ไม่ทราบ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้