Skip to main content

วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน


นึกย้อนถึงตนเองวัยเด็ก ผมจำแทบไม่ได้แล้วว่าพ่อแม่หรือน้าๆ ที่ชอบพาผมกับพี่สาวเที่ยว พาพวกเราไปไหน จำไม่ได้ว่าได้ไปเที่ยวชมพวกอาวุธยุทโธปกรณ์หรือไม่ อาจมีบ้าง แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำฝังใจอะไร ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเด็ก ก็แค่สังเกตจากตนเองแล้วคิดว่า ความฝันของเด็กๆ คงพัฒนาไปเรื่อยๆ ผมคิดว่าสิ่งที่ปลูกฝังกันตอนเด็กๆ ก็อาจจะไม่ได้ฝังใจเด็กมากนักหรอก เมื่อเด็กโตแล้วก็เปลี่ยนใจเลิกเชื่อตามที่ถูกปลูกฝังมาได้

แต่เมื่อได้มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปมากอย่างทุกวันนี้ และได้มีเวลา มีสายตาพอที่จะสังเกตสังกาชีวิตทางสังคมรอบตัวมากขึ้น ผมก็รู้สึกขึ้นมาว่า บางทีผมอาจจะเป็นคนส่วนน้อยที่สอนไม่จำ ไม่เชื่อสิ่งที่ผู้ใหญ่ปลูกฝังอยู่อย่างนั้นง่ายๆ ผมคงขี้สงสัยมากไป ดูอย่างเพื่อนผมส่วนใหญ่สิ ก็ไม่ได้เป็นแบบผม ถ้าอย่างนั้น การจัดวางสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้ และการปลูกฝังค่านิยมสำหรับเด็ก ก็มีความหมายอย่างยิ่งจริงๆ นั่นแหละ เพราะคนส่วนใหญ่เติบโตมาตามกรอบของระบบคุณค่าที่สังคมสั่งสอนจริงๆ

ในสหรัฐอเมริกา อย่างน้อยเท่าที่ผมได้สัมผัส การปลูกฝังค่านิยมเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย มีสูงมาก โดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะอย่างพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมักออกแบบให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ ผมเห็นค่านิยมเหล่านี้บรรจุอยู่เต็มไปหมด เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชิคาโก มีห้องหนึ่งจัดแสดงเรื่องเสรีภาพโดยเฉพาะเลย พูดเรื่องสิทธิแรงงาน สิทธิสตรีที่เริ่มจากการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 (ประเด็นนี้มักพบในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่นี่) สิทธิชาวเอเชียน และพูดเรื่องการค้าทาสและการเหยียดผิว

นิทรรศการหมุนเวียนเรื่อง ปี 1968 ก็นำเสนอค่านิยมแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างชัดเจน นับตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้าไปเลย เด็กๆ จะได้เข้าใจถึงปัญหาของสงครามเวียดนาม ปัญหาการละเมิดสิทธิคนผิวสี ประเด็นเรื่องเสรีภาพทางเพศ และเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่าจะทางร่างกายหรือการแสดงความคิดเห็น 

ในพิพิธภัณฑ์เด็กของเมืองแมดิสันเป็นอีกแหล่งปลูกฝังคุณค่าอย่างแนบเนียน แล้วเด็กก็ชอบมากด้วย นี่เป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กอย่างแท้จริง เด็กๆ มาพร้อมกับพ่อแม่ ครอบครัว แล้วเล่นๆๆ บางทีก็เล่นกับพ่อแม่ผู้ปกครอง บางทีก็เล่นกันเองเต็มไปหมด เขาออกแบบให้เด็กเรียนรู้จากการเล่นในบริบทต่างๆ ตามประเด็นใหญ่ๆ หลักๆ คือ ห้องธรรมชาติ ก็ออกแบบสภาพแวดล้อมให้เด็กทั้งได้เห็นและสัมผัสกับความเป็นธรรมชาติ ห้องวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี เขาก็ออกแบบให้เด็กได้เข้าใจวิทยาศาสตร์และเล่นกับเทคโนโลยีได้ง่ายๆ และห้องศิลปะกับการสร้างสรรค์ เขาก็ให้เด็กทำกิจกรรมหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ตัดกระดาษ วาดรูป ปั้นดิน ทำเซรามิก

แต่ก็มีบางมุมเล็กๆ ที่น่าสนใจคือชั้น "ตุ๊กตาประชาธิปไตย" (Dolls for Democracy) เขานำเอาบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของสหรัฐอเมริกามาแสดง มีทั้งคนดำและคนขาว ที่จำได้แน่ๆ คือมีมาณืติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิคนดำจนถูกสังหารในปี 1968 ยินเคียงข้างตุ๊กตาจอนห์ เอฟ เคเนดีอยู่ด้วย

 


 

ผมไม่ได้บอกว่าสหรัฐอเมริกาขณะนี้ปลอด racism, socio-economic class discrimination และ religious discrimination แล้ว เพราะแม้จะสอนถึงความเลวร้ายของสงครามเวียดนาม แต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็หาเหตุที่จะก่อสงครามในประเทศอื่นมาได้เสมอจนทุกวันนี้ แม้จะสอนให้เคารพคนต่างสีผิว แต่เมื่อเร็วๆ นี้ตำรวจก็ยิงคนผิวดำที่ไม่มีอาวุธ แม้จะเคารพเสรีภาพทางความเห็นและการแสดงออก แต่การจ้องจับผิดประชาชนผ่านการดักฟังโทรศัพท์ก็ยังมีอยู่

รวมทั้งเพื่อน "ขาวๆ" ของผมหลายคนที่การศึกษาสูง ก็ยังมีความคิดแบ่งแยกและดูถูกคนที่สีผิว ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และศาสนาอยู่ดี ความคิดแบบนี้ยังมีมากจนกระทั่ง หลายครั้งผมอึดอัดที่จะคุยกับเพื่อนๆ แล้วต้องเปลี่ยนเรื่องสนทนาไปเลยก็มี 

ถึงกระนั้นก็ตาม ค่านิยมเรื่องสิทธิ เสรีภาพ สันติภาพ และประชาธิปไตย ก็เป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังอย่างเข้มข้น โดยนัยแล้ว นี่คือการที่สาธารณชนอเมริกันพยายามที่จะปลูกฝังให้สังคมเขาเดินไปตามทิศทางนี้ นี่คือสิ่งที่สังคมเขาต้องการเป็นในอนาคต นี่คือสิ่งที่เขาพยายามใช้เพื่อต่อสู้กับชุดความคิดเหยียดคนไม่เท่ากัน ต่อสู้กับชุดความคิดที่ยอมให้การละเมิดสิทธิถูกเพิกเฉยที่ยังดำเนินไปในสังคม 

เด็กที่เที่ยววันเด็กในประเทศไทยวันพรุ่งนี้จะเรียนรู้อะไร หากผู้ใหญ่ไปเที่ยวงานวันเด็กบ้างก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ผู้ใหญ่ก็ควรถามตนเองด้วยว่า คุณค่าเหล่านั้นหรือคือคุณค่าที่เราอยากปลูกฝังให้เด็กไทย มีทางเลือกอื่นไหมที่เราจะปลูกฝังคุณค่าอื่นๆ หากไม่มี คุณจะอธิบายเด็กๆ อย่างไร คุณจะต่อสู้กับคุณค่าที่เด็กไทยถูกยัดเยียดอยู่ทุกวันนี้อย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน