Skip to main content

วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน


นึกย้อนถึงตนเองวัยเด็ก ผมจำแทบไม่ได้แล้วว่าพ่อแม่หรือน้าๆ ที่ชอบพาผมกับพี่สาวเที่ยว พาพวกเราไปไหน จำไม่ได้ว่าได้ไปเที่ยวชมพวกอาวุธยุทโธปกรณ์หรือไม่ อาจมีบ้าง แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำฝังใจอะไร ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเด็ก ก็แค่สังเกตจากตนเองแล้วคิดว่า ความฝันของเด็กๆ คงพัฒนาไปเรื่อยๆ ผมคิดว่าสิ่งที่ปลูกฝังกันตอนเด็กๆ ก็อาจจะไม่ได้ฝังใจเด็กมากนักหรอก เมื่อเด็กโตแล้วก็เปลี่ยนใจเลิกเชื่อตามที่ถูกปลูกฝังมาได้

แต่เมื่อได้มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปมากอย่างทุกวันนี้ และได้มีเวลา มีสายตาพอที่จะสังเกตสังกาชีวิตทางสังคมรอบตัวมากขึ้น ผมก็รู้สึกขึ้นมาว่า บางทีผมอาจจะเป็นคนส่วนน้อยที่สอนไม่จำ ไม่เชื่อสิ่งที่ผู้ใหญ่ปลูกฝังอยู่อย่างนั้นง่ายๆ ผมคงขี้สงสัยมากไป ดูอย่างเพื่อนผมส่วนใหญ่สิ ก็ไม่ได้เป็นแบบผม ถ้าอย่างนั้น การจัดวางสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้ และการปลูกฝังค่านิยมสำหรับเด็ก ก็มีความหมายอย่างยิ่งจริงๆ นั่นแหละ เพราะคนส่วนใหญ่เติบโตมาตามกรอบของระบบคุณค่าที่สังคมสั่งสอนจริงๆ

ในสหรัฐอเมริกา อย่างน้อยเท่าที่ผมได้สัมผัส การปลูกฝังค่านิยมเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย มีสูงมาก โดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะอย่างพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมักออกแบบให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ ผมเห็นค่านิยมเหล่านี้บรรจุอยู่เต็มไปหมด เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชิคาโก มีห้องหนึ่งจัดแสดงเรื่องเสรีภาพโดยเฉพาะเลย พูดเรื่องสิทธิแรงงาน สิทธิสตรีที่เริ่มจากการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 (ประเด็นนี้มักพบในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่นี่) สิทธิชาวเอเชียน และพูดเรื่องการค้าทาสและการเหยียดผิว

นิทรรศการหมุนเวียนเรื่อง ปี 1968 ก็นำเสนอค่านิยมแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างชัดเจน นับตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้าไปเลย เด็กๆ จะได้เข้าใจถึงปัญหาของสงครามเวียดนาม ปัญหาการละเมิดสิทธิคนผิวสี ประเด็นเรื่องเสรีภาพทางเพศ และเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่าจะทางร่างกายหรือการแสดงความคิดเห็น 

ในพิพิธภัณฑ์เด็กของเมืองแมดิสันเป็นอีกแหล่งปลูกฝังคุณค่าอย่างแนบเนียน แล้วเด็กก็ชอบมากด้วย นี่เป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กอย่างแท้จริง เด็กๆ มาพร้อมกับพ่อแม่ ครอบครัว แล้วเล่นๆๆ บางทีก็เล่นกับพ่อแม่ผู้ปกครอง บางทีก็เล่นกันเองเต็มไปหมด เขาออกแบบให้เด็กเรียนรู้จากการเล่นในบริบทต่างๆ ตามประเด็นใหญ่ๆ หลักๆ คือ ห้องธรรมชาติ ก็ออกแบบสภาพแวดล้อมให้เด็กทั้งได้เห็นและสัมผัสกับความเป็นธรรมชาติ ห้องวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี เขาก็ออกแบบให้เด็กได้เข้าใจวิทยาศาสตร์และเล่นกับเทคโนโลยีได้ง่ายๆ และห้องศิลปะกับการสร้างสรรค์ เขาก็ให้เด็กทำกิจกรรมหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ตัดกระดาษ วาดรูป ปั้นดิน ทำเซรามิก

แต่ก็มีบางมุมเล็กๆ ที่น่าสนใจคือชั้น "ตุ๊กตาประชาธิปไตย" (Dolls for Democracy) เขานำเอาบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของสหรัฐอเมริกามาแสดง มีทั้งคนดำและคนขาว ที่จำได้แน่ๆ คือมีมาณืติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิคนดำจนถูกสังหารในปี 1968 ยินเคียงข้างตุ๊กตาจอนห์ เอฟ เคเนดีอยู่ด้วย

 


 

ผมไม่ได้บอกว่าสหรัฐอเมริกาขณะนี้ปลอด racism, socio-economic class discrimination และ religious discrimination แล้ว เพราะแม้จะสอนถึงความเลวร้ายของสงครามเวียดนาม แต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็หาเหตุที่จะก่อสงครามในประเทศอื่นมาได้เสมอจนทุกวันนี้ แม้จะสอนให้เคารพคนต่างสีผิว แต่เมื่อเร็วๆ นี้ตำรวจก็ยิงคนผิวดำที่ไม่มีอาวุธ แม้จะเคารพเสรีภาพทางความเห็นและการแสดงออก แต่การจ้องจับผิดประชาชนผ่านการดักฟังโทรศัพท์ก็ยังมีอยู่

รวมทั้งเพื่อน "ขาวๆ" ของผมหลายคนที่การศึกษาสูง ก็ยังมีความคิดแบ่งแยกและดูถูกคนที่สีผิว ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และศาสนาอยู่ดี ความคิดแบบนี้ยังมีมากจนกระทั่ง หลายครั้งผมอึดอัดที่จะคุยกับเพื่อนๆ แล้วต้องเปลี่ยนเรื่องสนทนาไปเลยก็มี 

ถึงกระนั้นก็ตาม ค่านิยมเรื่องสิทธิ เสรีภาพ สันติภาพ และประชาธิปไตย ก็เป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังอย่างเข้มข้น โดยนัยแล้ว นี่คือการที่สาธารณชนอเมริกันพยายามที่จะปลูกฝังให้สังคมเขาเดินไปตามทิศทางนี้ นี่คือสิ่งที่สังคมเขาต้องการเป็นในอนาคต นี่คือสิ่งที่เขาพยายามใช้เพื่อต่อสู้กับชุดความคิดเหยียดคนไม่เท่ากัน ต่อสู้กับชุดความคิดที่ยอมให้การละเมิดสิทธิถูกเพิกเฉยที่ยังดำเนินไปในสังคม 

เด็กที่เที่ยววันเด็กในประเทศไทยวันพรุ่งนี้จะเรียนรู้อะไร หากผู้ใหญ่ไปเที่ยวงานวันเด็กบ้างก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ผู้ใหญ่ก็ควรถามตนเองด้วยว่า คุณค่าเหล่านั้นหรือคือคุณค่าที่เราอยากปลูกฝังให้เด็กไทย มีทางเลือกอื่นไหมที่เราจะปลูกฝังคุณค่าอื่นๆ หากไม่มี คุณจะอธิบายเด็กๆ อย่างไร คุณจะต่อสู้กับคุณค่าที่เด็กไทยถูกยัดเยียดอยู่ทุกวันนี้อย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย