Skip to main content

รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 


นับตั้งแต่การไม่เข้าเผ้าตั้งแต่นาทีแรกๆ ไม่เล่นงานนักการเมืองอย่างเฉียบขาด ไม่ตั้งคณะกรรมการยึดทรัพย์ ไม่ยุบพรรคการเมือง นอกจากนั้นแล้ว สิ่งใหม่ๆ อย่างหนึ่งคือ การไล่บี้เรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างเอาเป็นเอาตาย งัดทั้งมาตรา 112 และพรบ.คอมฯ รวมทั้งอำนาจดิบอื่นๆ ปราบปราม ขยายนิยามความผิดเรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างที่ไม่เคยมีในการรัฐประหารครั้งก่อนนี้ 

ที่ผมว่าใหม่อีกอย่างคือ นอกจากการรัฐประหารเพื่อยืนยันการมีอยู่ของอำนาจทหารและ "ชนชั้นนำเก่า" ในการเมืองไทยแล้ว รัฐประหารครั้งนี้ยังเป็นรัฐประหารเพื่อ "ชนชั้นกลางเก่า" ก็ได้แก่บรรดาผู้ที่ทรงอิทธิพลในการสนับสนุนมวลชนให้ล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งทั้งหลาย ที่ต่างได้ดิบได้ดี ชักแถวเดินหน้ากันเข้าไปรับใช้คณะรัฐประหารกันไม่ขาดสาย 

ไม่ว่าจะแวดวงนักวิชาการ แวดวงเอ็นจีโอ แวดวงสื่อมวลชน แวดวงช่างเทคนิคคนเรียนเก่งจบแล้วไปทำงานในภาคธุรกิจหรือรัฐกิจที่เป็นองค์การมหาชนต่างๆ (ไม่อยากเรียกว่าเทคโนแครท มันหรูเกินไป) คนเหล่านี้เกลียดและไม่เคยนับถือนักการเมืองมากก่อน ไม่เชื่อมั่นในการเลือกตั้ง ดูถูกเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้ง แล้วทำเป็นตีหน้านับถือทหารมากกว่า 

แต่ที่จริง รัฐประหารครั้งนี้สำเร็จก็เพราะว่าทหารได้ที่พึ่งจาก "ชนชั้นกลางเก่า" เหล่านี้ ทหารไม่มีความรู้ มีแต่อำนาจดิบจากปืน ก็ต้องพึ่งนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน ช่างเทคนิค ฝ่ายหลังก็ต้องพึ่งทหาร เพราะตนเองไม่มีปัญญาได้อำนาจ ก็เลยเป็นอาการน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เป็นผีเน่ากับโลงผุกันอยู่อย่างนี้แหละ

อย่างในแวดวงนักวิชาการ ก็ชักแถวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหารกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งรุ่นใหญ่ไล่มาตั้งแต่อธิการบดี จนรุ่นรองๆ ลงมา กระทั่งล่าสุดผมก็เพิ่งรู้ว่ารุ่นน้องผมที่จบจากสถาบันเดียวกัน ที่เคยเหมือนพูดคุยภาษาเดียวกัน บัดนี้ก็เข้าไปกินเงินเดือนคณะรัฐประหารเรียบร้อยแล้ว คงไปเป็นเนติบริกรฝึกหัดเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ทำงานกับใครก็ได้ขอให้จ่ายหนักๆ เป็นพอ

ทิศทางของการรวบอำนาจกลับคืนจากนักการเมืองจึงไม่ใช่เพียงการรวบอำนาจกลับคืนสู่อำนาจราชการ แต่จะเป็นการสร้างองค์กรและกลไกแปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ไม่เพียงแต่ข้าราชการ แต่ยังมีบรรดาชนชั้นนำเก่าเหล่านี้ คือนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน และบรรดาช่างเทคนิค น่าจับตาดูว่ากลไกอำนาจและองค์กรใหม่ๆ เหล่านี้จะเป็นหลักประกันรับรองอำนาจของชนชั้นกลางเก่าอย่างไร กลไกเหล่านี้จะสร้างสถาบันการเมืองแบบใหม่มากยิ่งกว่าที่องค์กรอิสระ (อย่างตลก. กกต. ปปช.) เคยมีอำนาจอย่างไร แล้วกลไกใหม่ๆ เหล่านี้จะส่งผลเลวร้ายระยะยาวต่อประชาธิปไตยไทยต่อไปอย่างไรในอนาคต

เมื่อทิศทางเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นในความขัดแย้งทางการเมืองรอบต่อไปก็จะยังเป็นความขัดแย้งทางชนชั้นแบบเดิม แต่จะยิ่งฝังลึกลงเรื่อยๆ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจาก "ชนชั้นกลางเก่า" และ "ชนชั้นนำเก่า" ซึ่งเกรงกลัวการสูญเสียอำนาจก็จึงจับมือกันโค่นล้มอำนาจ "ชนชั้นกลางใหม่" ที่ให้อำนาจ "ชนชั้นนำใหม่" ผ่านการเลือกตั้ง ให้เข้ามาเป็นตัวแทนทางการเมืองเพื่อกระจายทรัพยากรของรัฐไปยังพวกเขา

ชาวโลกเขารู้กันดีว่า คำว่าการปราบทุจริต ปราบคอร์รัปชั่นน่ะ เป็นคาถาเท่านั้นแหละครับ ชนชั้นนำเก่ามี agenda อะไรจริงๆ ที่ยอมจับมือกับชนชั้นกลางเก่าที่ก็มี agenda ของตัวเองเหมือนกันน่ะ ใครๆ เขาก็ดูกันออก นี่คืออาการของผีเน่ากับโลงผุน่ะครับ จะเผาผีก็อย่าลืมเผาโลงไปด้วยพร้อมกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ