Skip to main content

เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้

 
เข้าเรื่องครูดีกว่า จะว่าเรื่อง "ครู" ก็ไม่ถูกนัก เพราะผมอยากเล่าเรื่องความอับจนของโลกวิชาการไทย ที่มาเล่าวันนี้ก็เพราะมันพอจะมีอะไรโยงกับวันครูอยู่บ้าง อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งก็เป็นครูสอนหนังสือ อีกส่วนหนึ่งก็ทำงานวิชาการผลิตความรู้ อีกส่วนก็บริการสังคม ให้ความรู้กับสาธารณชน แต่ทั้งสามส่วนนั้น มีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การทำงานวิชาการ
 
อะไรคืองานวิชาการ งานวิชาการคือการ "ผลิต" ความรู้ ได้แก่การวิจัย การพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวิชาการ การพิมพ์หนังสือและตำรา การเสนอผลงานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเขียนและการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะ ไม่ใช่งานสำคัญก็จริง แต่ก็จำเป็น เพราะเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนนักวิชาการและฝึกให้ความรู้กับประชาชน โดยรวมแล้ว หากอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ทำงานวิชาการ ความรู้ก็จะย่ำอยู่กับที่ ความรู้ที่สอนปาวๆ ที่บรรยายต่อสาธารณชนปาวๆ ก็เป็นความรู้เก่าๆ สังคมก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน
 
หลักคิดที่ว่านั้นใครๆ ก็รู้ แต่คำถามคือ ทำไมโลกวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้า ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงไม่ติดอันดับสูงๆ ในโลกวิชาการสากล ทำไมนักวิชาการไทยจึงแทบไม่มีชื่ออยู่ในทำเนียบนักวิชาการระดับโลก ถึงมีบ้าง ก็มักเป็นนักวิชาการไทยที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ หรือไม่อย่างนั้นก็ได้รับการยกย่องจากโลกวิชาการสากลก่อนหรือในคนละบริบทกับโลกวิชาการไทย บางคนเป็นที่รู้จักดีในโลกวิชาการสากล แต่ไม่มีใครรู้จักในโลกวิชาการไทย แต่นักวิชาการที่รู้จักกันดีในไทย ส่วนใหญ่กลับไม่มีใครในโลกรู้จักกัน
 
เอาเป็นว่าจำกัดเฉพาะอาจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็แล้วกัน ผมสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมครูบาอาจารย์ที่ผมร่ำเรียนมาในประเทศไทยจึงไม่กลายเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นส่วนใหญ่หรือแทบทุกคนก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัย C, H, C-B, หรือแม้แต่ S และอีกสอง Cs ในอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัย O, C, L และ L ในอังกฤษ 
 
ถามว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนพวกเขาล่ะเป็นใคร ทำไมในขณะที่พวกครูบาอาจารย์ผมจบแล้วส่วนใหญ่จึงหายจ้อยไปจากเวทีระดับโลก เพื่อนๆ ร่วมห้องของคณาจารย์ผมกลับโด่งดังระดับโลก หรือที่จริงเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันกับอาจารย์เหล่านี้ ต่างก็เรียนแย่เหมือนกันหมด คงไม่จริงหรอก เพราะบรรดานักวิชาการที่โด่งดังระดับโลกในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็อายุอานามพอๆ กับครูบาอาจารย์ของผมกันทั้งสิ้น
 
เมื่อผมมาเรียนที่สหรัฐอเมริกาด้วยตนเอง เท่าที่เห็น ผมก็ว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน ทั้งร่วมสาถบันเดียวกัน หรือเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ที่ว่ามหาวิทยาลัยดีๆ เข้ายากเย็น หรือเรียนกันโหดมหาโหดอย่างไร เมื่อเจอกันในระหว่างเรียนระดับสูง ในงานสัมมนาวิชาการ ในห้องเรียนภาษาต่างประเทศ (อย่างผมก็ห้องเรียนภาษาเวียดนาม) ก็ไม่เห็นว่าเพื่อนร่วมรุ่นจะเก่งกาจแตกต่างไปจากกันมากนัก ความรู้ ความไม่รู้ ก็มีพอๆ กัน แต่ทำไมเมื่อเรียนจบกันไปแล้ว โดยรวมๆ แล้วงานวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้าแบบงานวิชากรในโลกสากล
 
ที่จริงมีปัจจัยหลายอย่าง แต่ผมอยากจะเน้นที่กลไกทางวิชาการของไทยที่ปิดกั้นการทำงานวิชาการในระดับสากล ผมจะละเว้นไม่พูดถึงบรรยากาศที่ไร้เสรีภาพทางวิชาการอย่างในปัจจุบัน ละไว้ไม่กล่าวถึงความไร้เสรีภาพทางวิชาการในการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ แต่ผมอยากพูดถึงระบบระเบียบบางอย่างที่ปิดกั้นพัฒนาการของโลกวิชาการไทย เอาไว้จะมาเล่าตอนต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา