Skip to main content

เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้

 
เข้าเรื่องครูดีกว่า จะว่าเรื่อง "ครู" ก็ไม่ถูกนัก เพราะผมอยากเล่าเรื่องความอับจนของโลกวิชาการไทย ที่มาเล่าวันนี้ก็เพราะมันพอจะมีอะไรโยงกับวันครูอยู่บ้าง อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งก็เป็นครูสอนหนังสือ อีกส่วนหนึ่งก็ทำงานวิชาการผลิตความรู้ อีกส่วนก็บริการสังคม ให้ความรู้กับสาธารณชน แต่ทั้งสามส่วนนั้น มีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การทำงานวิชาการ
 
อะไรคืองานวิชาการ งานวิชาการคือการ "ผลิต" ความรู้ ได้แก่การวิจัย การพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวิชาการ การพิมพ์หนังสือและตำรา การเสนอผลงานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเขียนและการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะ ไม่ใช่งานสำคัญก็จริง แต่ก็จำเป็น เพราะเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนนักวิชาการและฝึกให้ความรู้กับประชาชน โดยรวมแล้ว หากอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ทำงานวิชาการ ความรู้ก็จะย่ำอยู่กับที่ ความรู้ที่สอนปาวๆ ที่บรรยายต่อสาธารณชนปาวๆ ก็เป็นความรู้เก่าๆ สังคมก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน
 
หลักคิดที่ว่านั้นใครๆ ก็รู้ แต่คำถามคือ ทำไมโลกวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้า ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงไม่ติดอันดับสูงๆ ในโลกวิชาการสากล ทำไมนักวิชาการไทยจึงแทบไม่มีชื่ออยู่ในทำเนียบนักวิชาการระดับโลก ถึงมีบ้าง ก็มักเป็นนักวิชาการไทยที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ หรือไม่อย่างนั้นก็ได้รับการยกย่องจากโลกวิชาการสากลก่อนหรือในคนละบริบทกับโลกวิชาการไทย บางคนเป็นที่รู้จักดีในโลกวิชาการสากล แต่ไม่มีใครรู้จักในโลกวิชาการไทย แต่นักวิชาการที่รู้จักกันดีในไทย ส่วนใหญ่กลับไม่มีใครในโลกรู้จักกัน
 
เอาเป็นว่าจำกัดเฉพาะอาจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็แล้วกัน ผมสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมครูบาอาจารย์ที่ผมร่ำเรียนมาในประเทศไทยจึงไม่กลายเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นส่วนใหญ่หรือแทบทุกคนก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัย C, H, C-B, หรือแม้แต่ S และอีกสอง Cs ในอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัย O, C, L และ L ในอังกฤษ 
 
ถามว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนพวกเขาล่ะเป็นใคร ทำไมในขณะที่พวกครูบาอาจารย์ผมจบแล้วส่วนใหญ่จึงหายจ้อยไปจากเวทีระดับโลก เพื่อนๆ ร่วมห้องของคณาจารย์ผมกลับโด่งดังระดับโลก หรือที่จริงเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันกับอาจารย์เหล่านี้ ต่างก็เรียนแย่เหมือนกันหมด คงไม่จริงหรอก เพราะบรรดานักวิชาการที่โด่งดังระดับโลกในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็อายุอานามพอๆ กับครูบาอาจารย์ของผมกันทั้งสิ้น
 
เมื่อผมมาเรียนที่สหรัฐอเมริกาด้วยตนเอง เท่าที่เห็น ผมก็ว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน ทั้งร่วมสาถบันเดียวกัน หรือเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ที่ว่ามหาวิทยาลัยดีๆ เข้ายากเย็น หรือเรียนกันโหดมหาโหดอย่างไร เมื่อเจอกันในระหว่างเรียนระดับสูง ในงานสัมมนาวิชาการ ในห้องเรียนภาษาต่างประเทศ (อย่างผมก็ห้องเรียนภาษาเวียดนาม) ก็ไม่เห็นว่าเพื่อนร่วมรุ่นจะเก่งกาจแตกต่างไปจากกันมากนัก ความรู้ ความไม่รู้ ก็มีพอๆ กัน แต่ทำไมเมื่อเรียนจบกันไปแล้ว โดยรวมๆ แล้วงานวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้าแบบงานวิชากรในโลกสากล
 
ที่จริงมีปัจจัยหลายอย่าง แต่ผมอยากจะเน้นที่กลไกทางวิชาการของไทยที่ปิดกั้นการทำงานวิชาการในระดับสากล ผมจะละเว้นไม่พูดถึงบรรยากาศที่ไร้เสรีภาพทางวิชาการอย่างในปัจจุบัน ละไว้ไม่กล่าวถึงความไร้เสรีภาพทางวิชาการในการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ แต่ผมอยากพูดถึงระบบระเบียบบางอย่างที่ปิดกั้นพัฒนาการของโลกวิชาการไทย เอาไว้จะมาเล่าตอนต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์