Skip to main content

ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้


เคยได้ยินไหมครับว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยโด่งดังบางคนสอนมากมายจนกระทั่งนับได้ว่า 8 วิชาต่อหนึ่งภาคการศึกษา เคยได้ยินไหมครับว่าอาจารย์บางคนเข้าห้องสอนแล้วสอนไปจนหมดชั่วโมงก็เพิ่งจะรู้ว่าสอนเนื้อหาผิดวิชา ผมไม่ได้จะโทษอาจารย์หรอก แต่จะโทษระบบมหาวิทยาลัยไทยมากกว่า ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วโดยทั่วๆ ไปมหาวิทยาลัยมักกำหนดภาระการสอนที่ "ต้องสอน" ไว้เพียง 4 วิชาต่อปี (บางคณะในธรรมศาสตร์เคยกำหนดไว้เพียง 2 วิชาต่อปีเท่านั้น แต่เกิดอะไรไร้สาระบางอย่างขึ้น ขอไม่เล่า สุดท้ายต้องสอน 4 วิชาต่อปี) แต่เมื่อทำตารางสอนจริงๆ อาจารย์ส่วนใหญ่จะสอนมากกว่านั้น จนอาจจะถึง 10 วิชาต่อปีทีเดียว

ในต่างประเทศ ที่อื่นผมไม่แน่ใจ แต่ที่สหรัฐอเมริกา เขาแบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 3 กลุ่ม1. มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย 2. มหาวิทยาลัยเพื่อการสอน 3. มหาวิทยาลัยศิลปศาสตร์ (liberal arts college*) แบบที่สามเป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็กที่เน้นการสอนระดับปริญญาตรี นักศึกษาจะเรียนร่วมกันหมดร่วม 2 ปี เรียนวิชาคละเคล้ากันแล้วแต่จะชอบ แล้วค่อยมาระบุเอาในปีสูงๆ ว่า ตกลงสนใจจะเน้นสาขาวิชาอะไร เท่าที่ผมรู้ มหาวิทยาลัยแบบนี้ไม่มีในประเทศไทย 

แต่สองแบบแรกเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ และผมอยากจะบอกว่า ที่จริงมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่เป็นแบบที่สอง คือเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการจัดการเรียนการสอน มากกว่าที่จะเน้นการส่งเสริมการวิจัย ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ ก็ดูจากภาระการสอนก็ได้ อาจารย์ส่วนใหญ่สอนกันอย่างน้อย 3-4 วิชาต่อภาคการศึกษา แล้วจะเอาเวลา เอาสมอง เอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปคิดทำงานวิจัย ไปเขียนบทความวิชาการ ไปสัมมนาวิชาการ ไปเขียนหนังสือ ไปแต่งตำราได้ล่ะ

ไม่ใช่ว่าอาจารย์ที่ทำได้จะไม่มี แต่มีน้อย และด้วยเงื่อนไขพิเศษบางอย่างเท่านั้น พูดง่ายๆ คือ ระบบมหาวิทยาลัยไทยไม่เอื้อกับการสร้างมหาวิทยาลัยวิจัย ที่คุยกันว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยน่ะ ก็แค่โอ้อวดกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าเอาภาระงานสอนตั้งหารด้วยผลงานวิชาการแล้วล่ะก็ ภาระงานสอนจะมากกว่าผลงานวิชาการหลายเท่าตัวทีเดียว

ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงเน้นการสอน เดิมที ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ที่ผมเพิ่งเริ่มเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย (ผมเริ่มงานปี 2539) คณะผมเพิ่งจะพัฒนาระบบการคิดภาระงานของอาจารย์ ผมได้รับมอบหมายให้ร่างระบบภาระงานขึ้นมา ขณะนั้นยังไม่มีแนวคิดเรื่องมหาวิทยาลัยวิจงวิจัยอะไร ผลงานอาจารย์จะตีค่าออกมาเป็นคะแนน เมื่อดูระบบที่เคยใช้อยู่จึงได้รู้ว่า ระบบเดิมไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเขียนงานวิชาการ ผมเสนอว่า หากใครจะได้สองขั้น ควรมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเป็นอย่างน้อย หลายคนทักว่า จะเอาอย่างนั้นเลยเหรอ จะไม่มีคนได้ 2 ขั้นเลยนะ

การเร่งให้คณาจารย์ผลิตงานวิจัยเพิ่งจะมีมาเมื่อไม่ถึง 10 ปีมานี้เอง ที่จริงผมคิดว่าไม่ถึง 5 ปีดีด้วยซ้ำ เมื่อผมกลับไปทำงานหลังจบปริญญาเอกใหม่ๆ ผมเสนอให้คณะมีฝ่ายวิจัยเป็นตัวเป็นตน คณะยังไม่ทำเลย มาจนเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมานี้เองที่เริ่มมีฝ่ายวิจัยทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดิมไม่มีหรอกครับ ไม่ใช่เพียงเพราะโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอะไรนั่นหรอก แต่เพราะระบบประกันคุณภาพกับการแข่งขันในระดับโลกที่ทบวงฯ นำเข้ามาใช้อย่างงูๆ ปลาๆ นั่นเอง ที่เพิ่งจะมากระตุ้นให้มหาวิทยาลัยไทยเร่งงานวิจัย โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 

พูดแบบนักเศรษฐศาสตร์การเมืองก็คือ เพราะระบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาทำให้เกิดการแปลงสินค้าสาธารณะให้เป็นสินค้าเอกชนให้หมด เกิดการ privatization มหาวิทยาลัยกันทั่วโลก รวมทั้งเกิดการ privatization กิจการของรัฐ ทั้งการสาธารณะสุข โรงพยาบาล การศึกษาระดับต่างๆ นั่นหละ ที่ส่งผลกระทบให้มหาวิทยาลันต้องแข่งขัน ต้องเร่งสร้างงานวิจัย

แต่ผลมันไม่อย่างนั้น เพราะแทนที่ระบบทั้งหมดมันจะปรับไปทางนั้น แต่มันกลับกลายเป็นว่า อาจารย์ทุกวันนี้มีแรงบีบทั้งด้านการสอนและการวิจัย เดิมที อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยก็มักทำงานสอนไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ทำวิจัยไปเรื่อยๆ เมื่อผลงานมากพอ ถ้าไม่ยอมบากหน้าหอบเอกสารไปขอตำแหน่งทางวิชาการเอง ก็มักจะมีลูกศิษย์ลูกหาที่เห็นใจ อยากให้อาจารย์ตนมีหน้ามีตา ก็ช่วยกรอกผลงาน ช่วยขอตำแหน่งให้ อาจารย์ไทยส่วนใหญ่จึงเป็นศาสตราจารย์กันยากใกล้เกษียณ หรือจนเกษียณแล้วไม่ขอตำแหน่งทางวิชาการเลยก็มี

แต่ทุกวันนี้ไม่อย่างนั้น ถ้าใครเข้ามาทำงาน ต้องขอตำแหน่งภายในกี่ปีกี่ปี เขาระบุไว้ในสัญญาเลย หากได้ ผศ. แล้ว จะต้องได้ รศ. ภายในกี่ปี เขาก็ระบุไว้ หากไม่ได้ ศ. หรือเป็น รศ. แต่ไม่มี ดร. เขาก็จะไม่ต่ออายุหลังเกษียณให้ ระบบนี้ดีไหม ก็ดีนะครับถ้าเห็นว่าเป็นการเร่งรัดและบีบให้อาจารย์ทำงานวิชาการ แต่ในทางกลับกัน ภาระงานสอนมากมายมันค้ำคออาจารย์อยู่ 

ถามว่าทำไมอาจารย์ต้องสอนมากด้วยเล่า ผมว่ามีสองสาเหตุด้วยกัน หนึ่ง อาจารย์เลือกสอนมากเอง เพราะงานสอนในมหาวิทยาลัย เมื่อสอนเกินจากภาระงานขั้นต่ำ ก็จะมีรายได้พิเศษ พูดง่ายๆ คือ รับสอนเกินภาระงานก็เพราะจะได้ค่าสอนพิเศษเพิ่มขึ้น ยิ่งหากสอนโครงการพิเศษ ก็จะได้รายได้มากมาย มากขนาดที่อาจารย์บางคนสอนหนังสืออย่างเดียวอาจมีรายได้เดือนละเป็นแสนเลยทีเดียว

สอง เลือกไม่ได้ เพราะหากไม่สอนมากกว่าภาระขั้นต่ำ ก็จะกลายเป็นคนไร้น้ำใจ เพราะเพื่อนๆ อาจารย์สอนกันเป็นส่วนใหญ่ ที่ต้องช่วยๆ กันสอน เพราะแต่ละคณะ แต่ละภาควิชาในมหาวิทยาลัยขณะนี้จะมีแหล่งรายได้พิเศษของตนเองกัน นั่นก็คือบรรดาโครงการพิเศษต่างๆ นั่นเอง พวกนักศึกษาที่เรียนโครงการพิเศษจงรู้ไว้เถิดว่า เงินจากกระเป๋าสตางค์พ่อแม่ผู้ปกครองคุณขณะนี้เป็นเงินหลักที่ใช้เลี้ยงดูระบบมหาวิทยาลัยไทยอยู่ ดูอย่างคณะผม มีเพียงโครงการพิเศษปริญญาตรีโครงการเดียว รับนักศึกษาปีละ 100 คน เพียงเท่านี้ รายได้จากโครงการพิเศษก็เป็นสัดส่วนหลักของงบประมาณของคณะแล้ว 

คณะใหญ่ๆ บางคณะก็จัดการคนละแบบ เช่น บางที่ให้อาจารย์ทุกคนเฉลี่ยภาระงานกันอย่างเสมอหน้า แล้วนำเอารายได้ทั้งหมดมาเฉลี่ยให้อาจารย์ หรือบางคณะก็จ่ายเป็นโบนัสแทน บางคณะจ่ายเป็นการพาเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ โดยรวมแล้ว พลังงานของแต่ละคณะล้วนทุ่มเทไปที่การสอน ลองคิดดูว่า คณะที่มีโครงการพิเศษเป็น 10 โครงการ จะมีรายได้ปีละมากเท่าไร แล้วอย่างนี้ใครจะมีแรงมาทำวิจัย หรือไม่ก็คือ ใครจะอยากทุ่มเททำวิจัย

เอาเป็นว่าขอเล่าเรื่องภาระงานสอนที่เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนางานวิชาการไว้แค่นี้ก่อน ตอนต่อไปค่อยเล่าปัญหาใหญ่ๆ อื่นๆ ต่อครับ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้