Skip to main content

ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน

แต่ผมจำเป็นต้องสาธยายความเลวร้ายเหลวแหลกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออกจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสื่อมลงทุกวันภายใต้การบริหารของผู้บริหารชุดปัจจุบัน นับตั้งแต่การพยายามปิดกั้นการแสดงออกของนักวิชาการที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างจากแนวทางของผู้บริหารก่อนการรัฐประหาร ไปจนกระทั่งการมีส่วนสร้างเงื่อนไขให้นำไปสู่การล้มการปกครองแบบประชาธิปไตย แล้วในที่สุด ผู้บริหารก็ยินดีปรีดา (หาใช่ถูกบังคับหรือเป็นไปตามการกดดัน) เข้าไปร่วมบริหารประเทศกับคณะรัฐประหาร

ผลกระทบจากการรัฐประหารต่อประชาชนและประชาธิปไตยโดยรวมเป็นอย่างไรเอาไว้กล่าวกันในโอกาสอื่น แต่ผลกระทบที่ชัดเจนประการหนึ่งคือผลกระทบต่อบุคคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังการรัฐประหาร นักศึกษาและอาจารย์จำนวนมากที่มีความเห็นขัดแย้งกับคณะรัฐประหารถูกจับ ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม มีนักศึกษาและอาจารย์ถูกคุกคามข่มขู่โดยคณะรัฐประหาร จนกระทั่งทุกวันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายสภาพเป็นดั่งที่ซ่องสุมกำลังทหารทั้งนอกและในเครื่องแบบ คุกคามการเรียนการสอนและการแสวงหาความรู้อยู่เป็นประจำวัน 

ถ้าจะกล่าวเฉพาะการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากไม่มีกรณีการขับอาจารย์สมศักดิ์ สาธารณชนย่อมสงสัยกันทั่วไปอยู่แล้วว่า การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมมือกับคณะรัฐประหารนั้น ก็นับเนื่องได้ว่าได้ร่วมนำสังคมไทยให้จมดิ่งลงไปสู่สภาพสังคมเผด็จการด้วย 

ยิ่งเมื่อมหาวิทยาลัยตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออก ด้วยเหตุเพราะอาจารย์สมศักดิ์หลบหนีการคุกคามสิทธิเสรีภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัย จึงเป็นเหตุสุดวิสัยไม่สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้ สามัญสำนึกของสาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า นอกจากจะไร้มโนธรรมสำนึกในการปกป้องเพื่อนมนุษย์และบุคคากรของตนเองจากการถูกคุกคามสวัสดิภาพแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้ร่วมกันกับคณะรัฐประหารจองเวรจองกรรมอาจารย์สมศักดิ์อย่างถึงที่สุดด้วยอีกหรือ 

หากผู้บริหารดำเนินการต่างๆ ด้วยการยึดมั่นต่อกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดแล้ว ทำไมจึงยอมละเมิดกฎระเบียบคือละเมิดรัฐธรรมนูญหรือยอมรับการละเมิดรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดเสียเองได้ หรือจะดำเนินตามกฎระเบียบอย่างถึงที่สุด ก็เฉพาะในกรณีที่กฎระเบียบเหล่านั้นสามารถนำพาให้พวกตนมีอำนาจได้เท่านั้น 

นี่หรือคือหน้าตาประชาธิปไตยแบบที่ธรรมศาสตร์ปัจจุบันยกย่อง เป็นประชาธิปไตยแบบที่ส่งเสริมการละเมิดสิทธิเสรีภาพกันอย่างออกหน้าออกตาอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ฟังใครที่ไม่เห็นด้วยกับพวกตนอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไล่จองล้างจองผลาญคนที่เห็นต่างจากพวกตนอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างนี้หรือ 

นี่หรือคือสถาบันการศึกษาที่เมื่อปี 2477 ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาโดยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นี่หรือคือมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย นี่หรือธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก