Skip to main content

เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน

 ผมถือว่าการห้ามดื่มสุราในเทศกาลเป็นการที่รัฐเข้ามายุ่มย่ามก้าวก่ายชีวิตคนมากเกินไป แค่นี้เอง อย่างสโลแกน "ให้เหล้าเท่ากับแช่ง" น่ะ มีแต่สังคมคลั่งศาสนาเท่านั้นแหละที่จะพูดกัน ในสังคมไทย คนไม่คลั่งศาสนาน่ะมีมากกว่าคนคลั่งนะครับ 

โลกสากลเขาจำกัดการดื่มแตกต่างกันไป แต่ไม่มีสังคมไม่คลั่งศาสนาที่ไหนหรอกที่เขาจะทำแบบที่คนดัดจริตในประเทศไทยส่วนหนึ่งอยากทำ ไม่มีสังคมที่ไม่เป็นเผด็จการบ้าอำนาจที่ไหนหรอก ที่เขาจะทำแบบที่เผด็จการบ้าอำนาจบ้านเราทำ

นอกจากความบ้าศาสนาและบ้าอำนาจแล้ว ผมว่ามันยังชี้อะไรอีกหลายๆ อย่าง ข้อแรกคือ คนไทยส่วนมากคิดถึงปัญหาสังคมใหญ่ได้เฉพาะแค่ระดับปัจเจก ปัญหาเมาในเทศกาลน่ะ ไม่ใช่ปัญหาปัจเจก แต่เป็นปัญหาโครงสร้าง เช่น ถ้าระบบขนส่งมวลชนดี คนเมาก็กลับบ้านได้ 

พอวิจารณ์เรื่องนี้ทีไรก็โยงไปโน่น เมาแล้วขับบ้าง เมาแล้วข่มขืนมั่ง ไอ้อุบัติเหตุรถกับอาชญากรรมต่างๆ น่ะ เกิดด้วยเหตุของสุรามากน้อยแค่ไหนกันเชียว ที่รถคว่ำๆ ตามถนนที่ออกแบบไม่ดี หรือแทนที่จะออกแบบระบบขนส่งทางไกล พัฒนาระบบรถไฟน่ะ ไม่คิดหรอก เพราะมันยุ่งยากเกินไปที่จะจัดการ และเพราะมันง่ายกว่าที่จะโทษปัจเจกชนกับการเมาบางลักษณะ 

ข้อต่อมา การเมาอย่างมีสติน่ะ สังคมไทยไม่ได้สั่งสอนกัน ก็เลยเมาแบบขาดสติกัน พูดแบบนี้พวกหมอก็จะมาอาละวาดอีก พวกคนเมาจำนวนมากน่ะ เมาเพื่อสร้างหน้ากากบังตัวตนมากกว่า ผมอยู่ในสังคมคนเมาหลายสังคม คนญี่ปุ่นเมาสุดๆ คนอเมริกันดื่มในเทศกาลในที่สาธารณะเป็นปกติ ทั้งนี้แล้วแต่รัฐ จะมีก็แต่รัฐที่เคร่งศาสนาไม่กี่รัฐที่จะเข้มงวดมาก คนเวียดนามเมารายวัน ทั้งหมดนั่น ผมไม่เห็นใครไปทำร้ายใครกันง่ายๆ เลย 

การยืนยันสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิในวิถีชีวิต สิทธิในร่างกายของแต่ละคน ไม่ใช่ยืนยันว่าจะต้องไปละเมิดคนอื่นเมื่อไหร่ คนขอสิทธิที่จะเมา แม้จะในที่สาธารณะ ไม่ได้ขอสิทธิที่จะไปขับรถชนใครหรือไปละเมิดร่างกายใครเมื่อไหร่ 

ส่วนประเด็นเรื่องชนชั้นน่ะ เห็นๆ กันอยู่ว่า ทัศนคติของสังคมไทยเป็นอย่างไร ตรรกะ "จน-เครียด-กินเหล้า" มาจากไหน ร้านริมถนนไม่ให้ขายเหล้า ไม่ให้กินเหล้าเล่นสงกรานต์ วัฒนธรรมประจำวันกับวัฒนธรรมเฉลิมฉลองแบบนี้น่ะ กระทบใคร ถ้าสงกรานต์ไม่ให้ดื่ม ถามหน่อยว่าตามผับบาร์ที่จัดงานสงกรานต์น่ะ ห้ามดื่มเหล้าด้วยหรือเปล่า

ปัญหาสังคมน่ะ ไม่ได้แก้ง่ายๆ ด้วยการออกกฎเข้มงวดขึ้นหรอก แต่ต้องแก้ด้วยความเข้าใจทั้งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วย อย่าสักแต่ว่ามีอำนาจแล้วออกกฎบังคับเพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากคนบางกลุ่มที่มีอำนาจด้วยกันเท่านั้น

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด