Skip to main content

ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้

ก็ไม่ใช่ว่าผมจะมองไม่ออกหรอกนะครับว่า การขายข้าวของ บก.ฯ จะมีนัยอย่างไร เพียงไม่นึกไม่ถึงว่าจะมีพลังมากขนาดนี้ ขอบันทึกเพื่อความเข้าใจของตัวเองว่าอย่างนี้ก็แล้วกันครับ (เพื่อความเข้าใจของตนเองนะครับ ใครเห็นว่าไม่เห็นจะมีประเด็นอะไร ไม่เห็นจะต้องมาเขียนอะไร ก็ไม่เห็นจะต้องอ่าน ผ่านเลยไปครับ)  

หนึ่ง ผมว่า บกฯ ฉลาดเรื่องปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์เสมอๆ ตั้งแต่การเป็นคนเริ่มใส่เสื้อแดงเป็นคนแรก โดยอาศัยคำขวัญ "วันอาทิตย์สีแดง" ผมยังจำคลิปที่ บกฯ ใส่เสื้อแดงพุงกลมไปเล่นละครใบ้ที่สีลมได้ สุดท้าย เสื้อแดงกลายเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดขบวนการหนึ่งในประเทศไทยในรอบทศวรรษ 2540-2550 (ก่อนหน้านี้มีขบวนการสมัชชาคนจน กับขบวนการพันธมิตรฯ ที่เรียกร้อง ม.7)  

สอง อีกระดับหนึ่งที่ผมว่าน่าประทับใจคือ บก.ฯ เก่งเรื่องการริเริ่มสร้างความหมายทางการเมืองจากวัฒนธรรมสามัญ อย่างการชวนคนไปกินแฮมเบอร์เกอร์ ผมถามคนสนิทกับ บก.ฯ มากคนหนึ่งว่า ตกลง บก.ฯ ชอบกินแฮมเบอร์เกอร์ จริงๆ เหรอ คนนั้นตอบว่า เท่าที่รู้ไม่เห็นเคยชอบนะ แต่ในเมื่อพื้นที่ตรงนั้นมันเป็นพื้นที่ใจกลางสัญลักษณ์ของการต่อต้านเผด็จการไปแล้วในระยะหนึ่ง ร้านแฮมเบอร์เกอร์นั้นก็เลยกลายสภาพไปเป็นที่นัดชุมนุมทางการเมืองไปด้วยในตัว วิธีทำนองเดียวกันนี้ภายหลังกลุ่มนักศึกษาก็ใช้เช่นกัน แต่ผมว่าพวกเขาคงไม่ได้เอาอย่าง บก.ฯ หรอก เพียงแต่มันคล้ายกัน 

สาม บกฯ สื่อสารกับคนด้วยภาษาง่ายๆ ได้ดี เมื่อก่อน ซึ่งไม่นานมานี้นักหรอก ผมว่า บก.ฯ เป็นคนพูดไม่เก่งนะ ผมเคยฟัง บก.ฯ พูดอภิปรายในบางเวที ผมฟังแทบไม่เข้าใจเลย หรือเป็นเพราะเวทีนั้นเป็นเวทีวิชาการก็ไม่รู้ หรือจะเพราะ บก.ฯ เคยถนัดแต่ละครใบ้ก็ไม่รู้ แต่หลังๆ มา บก.ฯ สื่อสารเก่งมาก ทักษะในการพูดของ บก.ฯ นี่ ในวงอภิปรายหรือรายการทีวีที่ไปร่วมเวทีกันทีไร (นึกๆ แล้วก็แปลกดีที่ไปร่วมเวทีเดียวกับ บก.ฯ อย่างน้อย 3-4 ครั้ง) ถ้าผมต้องพูดหลัง บก.ฯ ละก็ ต้องหามุกหลบไปเป็นวิชาการจ๋าๆ เลยทุกที  

สี่ เรื่องการสื่อสาร มีรายละเอียดที่สำคัญอีกคือ ตรรกของ บก.ฯ มักจะแหวกแนว มีเวทีนึง ผมไปร่วมเวทีกับ บก.ฯ และผู้ร่วมอภิปรายคนอื่นๆ อีก 2-3 คน เป็นเรื่องการศึกษาในมหาวิทยาลัย ทุกคนวิจารณ์ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่ โดยนัยที่ว่าจะปรับปรุงมันยังไง พอถึงคิว บก.ฯ บก.ฯ บอก "ผมว่าเราน่าจะสร้างมหาวิทยาลัยแบบใหม่" แล้ว บก.ฯ ก็หันมาชวนผมว่าให้ยกเลิกหรือลาออกจากมหาวิทยาลัยปัจจุบันไปตั้งมหาวิทยาลัยแบบใหม่กันดีกว่า บก.ฯ เก่งเรื่องการคิดแหวกแนวมาก แล้วแกคิดจริงจังด้วย ไม่ใช่แค่คิดหรือพูดลอยๆ คือจริงจังแบบมีแนวทางมีแผนงานที่ใกล้จะทำจริงได้เลย 

ห้า (ชักเยอะแล้วนี่) มุกใหม่ของ บก.ฯ เรื่องการขายข้าวนี่ ที่จริงก็ต่อเนื่องมาจากการขายนาฬิกา ผมนั่งดู บก.ฯ ขายนาฬิกา ซึ่งก็เคยเห็นอยู่เรือนหนึ่งในบ้านคนรู้จักกันดี "แถวนี้" แล้ว ผมก็ว่า บก.ฯ คงใจเย็น คือค่อยๆ ขายทั้งสินค้าและความคิดไปแบบเรื่อยๆ เรียงๆ แต่พอกระโดดมาขายข้าวนี่ ผมว่า "มันใช่เลย" ยิ่งเสธ.ไก่อู เริ่มกระแนะกระแหนในลีลาทหารดีแต่ปากนี่ ผมว่า บก.ฯ ขายของออกแล้ว ผมว่านี่เป็นการแปลงวิธีการแบบที่คนเมืองเข้าใจได้มาเป็นขบวนการทางสังคมได้อย่างชาญฉลาดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการแปลงตรรกแบบการตลาดมาเป็นพลังของผู้ด้อยอำนาจอย่างแยบคาย 

ขายของต่อไปครับ บก.ฯ ผมทำอะไรแบบ บก.ฯ ไม่เป็นสักอย่าง ทำได้แค่หาทางทำให้ตัวเองเข้าใจ บก.ฯ แบบที่ขีดๆ เขียนๆ มาเท่านั้นเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย