Skip to main content

ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม

เนื้อหาคร่าวๆ เท่าที่ผมจำได้คือ ซาห์ลินส์นิยามความสำคัญของวิชามานุษยวิทยาว่าช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมที่แปลกจากเราอย่างยิ่งได้เป็นอย่างดี และแม้ว่าจะต่างขนาดนั้น เราก็เข้าใจได้เพราะเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เขาเล่าว่าความสนใจที่เขามีต่อมานุษยวิทยามีตั้งแต่เขาเริ่มเรียนปริญญาตรีเมื่ออายุ 20 เขาสนใจวิชานี้เพราะอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องคนอินเดียน หมายถึงคนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

เกร็ดบางเรื่องที่น่าสนใจคือการถกเถียงระหว่างซาห์ลินส์กับนักมานุษยวิทยารุ่นใหญ่แห่งมิชิแกนคนหนึ่ง (Leslie White) ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เรื่องตลกคือ White ซึ่งสมาทานแนวคิดแบบมาร์กซิสม์ ยอมรับกับซาห์ลินส์ว่า ไวต์ไม่เคยอ่าน Capital ของมาร์กซ์ เพราะเขาอ่านบทแรกไม่รู้เรื่อง

โดยสาระแล้ว ซาห์ลินส์เห็นว่า สำหรับเขามานุษยวิทยาที่พยายามเดินทางไปสู่การเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไวต์นั้นมีความผิดพลาด เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงระบบสัญลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความศักดิ์สิทธิ์ เขาอธิบายว่า "ถ้าเอาน้ำศักดิ์กับน้ำเปล่าให้ลิงแยกแยะ ลิงก็จะแยกแยะไม่ได้ เพราะน้ำทั้งสองมีสภาวะทางเคมีเดียวกัน" ฉะน้ัน สำหรับซาห์ลินส์ การศึกษามนุษย์คือการศึกษาระบบสัญลักษณ์

ซาห์ลินส์จึงศรัทธางานของเลวี-สโตรทส์ (Claude Lévi-Strauss) จนทำให้เขาไปศึกษากับเลวี-สโตรทส์ที่ฝรั่งเศสในปี 1968 (ก่อนหน้านั้น L-S มาอาศัยที่นิวยอร์คก่อนกลับไปฝรั่งเศส) ในยุคนั้นเขาเล่าว่า "โครงสร้างนิยมได้ลงไปสู่ท้องถนนแล้ว" คือชาวบ้านร้านตลาดที่ไหนก็พูดถึงโครงสร้างนิยมกัน

มีเกร็ดคือ เลวี-สโตรทส์ชอบเขาเพราะซาห์ลินส์ชอบแสดงความเห็นในชั้นเรียน ต่างกับนักเรียนฝรั่งเศสที่กลัวโชว์โง่ในชั้น แต่เขาไม่กลัวโง่ ซาห์ลินส์เล่าสนทนาของเขากับเลวี-สโตรทส์ว่า เขาถามว่าโครงสร้างนิยมคืออะไร L-S ตอบว่า "คือการเป็นนักมานุษยวิทยาที่ดี" 

หลังจากนั้นซาห์ลินส์เล่าถึงการศึกษาเรื่องกัปตันคุกซึ่งถูกชาวฮาวายอิฆ่าตาย เขาพบว่าการตายของคุก นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าเพราะคุกว่ายนำ้ไม่เป็นก็เลยหนีชาวฮาวายอิที่ตามมาฆ่าไม่ได้แล้ว คุกตายเพราะระบบความเชื่อของชาวฮาวายอิสมัยนั้น ที่เชื่อว่าการกลับมาของเขาคือการมาของเทพเจ้าตนหนึ่ง ซึ่งท้ายที่สุดเทพเจ้านี้จะต้องถูกฆ่า ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การที่ซาห์ลินส์นำเอาโครงสร้างนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักโครงสร้างนิยมยุคเลวี-สโตรทส์ไม่ทำกัน 

ส่วนสำคัญส่วนหลังคือการเข้าไปมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับโลกของซาห์ลินส์ เขาเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขบวนการประท้วงสงครามเวียดนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซาห์ลินส์เห็นว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือของรัฐบาลอเมริกันสมัยนั้นผิดพลาดอย่างร้ายแรง ก่อผลเลวร้ายต่อผู้คนมากมาย เขาเริ่มการประท้วงด้วยการหยุดสอน (สมัยนั้นคือที่มิชิแกน) แล้ว teach-in คือยึดพื้นที่ห้องเรียนแล้วบรรยายเรื่องเวียดนาม ขบวนการของเขาค่อยๆ แพร่ขยายไปจนถึงท้ายที่สุดพวกที่ยูซี-เบิร์กลีย์ก็รับเอาไปทำการประท้วงขนาดใหญ่ของคนหลักหมื่น 

ล่าสุด ซาห์ลินส์มีส่วนสำคัญในการวิจารณ์และทักท้วงการขยายอำนาจทางการศึกษาของประเทศจีน ผ่านสถาบันขงจื่อ ซึ่งมีผลนอกจากทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษาที่รับทุนของสถาบันขงจื่อแล้ว ต้องใช้ผู้สอนและตำราเรียนของรัฐบาลจีน และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์จีนได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อเสรีภาพทางวิชาการอย่างยิ่ง 

ซาห์ลินส์เป็นตัวอย่างของนักมานุษยวิทยาที่ไปจนสุดทางของการเป็นนักมานุษยวิทยาสมัยใหม่ ทั้งการทำวิจัยภาคสนาม การศึกษาสังคมนอกตะวันตก การศึกษาประวัติศาสตร์ และการสร้างข้อเสนอทางทฤษฎี งานของซาห์ลินส์ถือว่าเป็นงานสำคัญต่อแวดวงมานุษยวิทยาปัจจุบันโดยเฉพาะมานุษยวิทยาที่เน้นการศึกษาระบบสัญลักษณ์ ที่อยู่ในแทบทุกอนูของชีวิตมนุษย์ 

นอกจากนั้น เขายังไม่ได้เพียงนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง หากแต่ยังมีส่วนรณรงค์ทางการเมืองเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนทั้งในสังคมเขาเองและในสังคมอื่นที่ประเทศเขามีส่วนไปทำลาย

https://www.youtube.com/watch?v=O0S0jN1wb3Q&feature=youtu.be

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน