Skip to main content

ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้

 
เมื่อไม่กี่วันก่อนมีหนังสารคดีที่ผมอยากดูสองเรื่อง ก็เลยดั้นด้นไปดู แล้วก็จึงพลอยได้ดูหนังตัวอย่างเรื่อง "อาบัติ" ไปด้วย ดูหนังตัวอย่างแล้วก็คิดว่า หนังก็พูดเรื่องทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว แถมเป็นพุทธแบบบ้านๆ มีผี มีเปรต สอนบาปบุญคุณโทษ ไม่ได้ท้าทายอะไรเลย คิดว่าเดาเนื้อเรื่องได้เลยด้วยซ้ำ มันจืดมาก
 
ประเด็นเดียวของหนังเท่าที่ผมรู้สึกได้ว่าน่าสนใจคือ บอกว่าพระเป็นคนธรรมดา แต่ดูทรงแล้ว เรื่องมันไม่ได้จี๊ดจ๊าดขนาด แบบว่า "นี่สังคมไทยคะ/ครับ พระก็เป็นนะครับ/คะ" ไม่ใช่ขนาดจะบอกว่า "เป็นการท้าทายความเป็นปุถุชนในคราบไคลของนักบวช" หรือว่า "คือการปะทะกันของความเป็นมนุษย์ที่ต้องการบริสุทธิกับความดิบเถื่อสามัญของมนุษย์" มันไม่ได้มีอะไรเท่ๆ ขนาดนั้นสักนิด
 
เพียงแต่ในสังคมนี้ ขณะนี้ "พระ ไม่ใช่ คน" พระก็เลยเป็นได้แค่ตัวประกอบในหนัง แต่เป็นตัวประกอบที่ดีเกินจริง เป็นตัวประกอบที่เป็นภาคงดงามของสังคม 
 
ในสังคมจริงๆ พระก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครสนใจว่าพระจะดีหรือไม่ดี (นี่ก็เซ็นเซอร์ตัวเอง แทนที่จะใช้คำว่า เลว หรือ ชั่ว) พระเป็นเพียงตัวประกอบของสังคม 
 
ในสังคมไทย อย่างแย่ที่สุด พระก็เป็นแค่กรรมกรทางพิธีกรรม สวดมนต์เหมือนพระก็เป็นพระได้ ไม่จำเป็นต้องแสดงว่าเข้าใจบทสวดหรือไม่ ไม่จำเป็นว่าจะสามารถสร้างคำสั่งสอนจากบทสวดได้หรือไม่ จะคิดถึงว่าสามารถค้นพบอะไรในทางธรรมได้หรือไม่ ก็ไม่จำเป็น
 
อย่างดีขึ้นมาหน่อย พระก็เป็นหนุ่มนั่งดริ๊งในผับบาร์ความดี หรือผู้บำบัดจิต เป็นนักปลด(เปลื้อง)ทุกข์ชั่วคราวให้ชาวบ้าน นั่นดีมากแล้ว คือพระสามารถปลอบประโลมผู้คนได้ แต่นั่นก็เป็นกรรมกรทางวิญญาณ ส่วนมากก็แค่นั้น พอหมดกิจของสงฆ์ คือหมดหน้าที่ใช้แรงงานทางวิญญาณเมื่อไหร่ พระก็ต้องออกไปจากชีวิตคน
 
ไม่มีใครสนใจว่าพระเป็นอยู่อย่างไรกันแน่ พระเป็นคนหรือไม่ พระต่อสู้กับความเป็นคนในตัวเองอย่างไร แล้วคนก็ไม่มีใครอยากเป็นพระ แค่มีพระไว้ข้างกาย พระที่เดินไปเดินมาก็มีค่าเท่าพระคล้องคอหรือพระที่หิ้งพระ เอาไว้กราบไหว้เป็นที่พึ่งห่างๆ เอาเป็นตัวประกอบด้านดีของละครสังคม
 
ฉะนั้น ถ้าพระจะปรากฏตัวในหนัง ก็ต้องปรากฏตัวแบบพระในสังคม คือเป็นตัวประกอบด้านดี ถ้าพูดถึงพระในแง่ดีอย่างเดียว พระในแง่ที่ "ควรจะเป็น" อย่างเดียว ก็ฉายได้แน่ แต่นี่หนังอาบัติพูดถึงพระในแง่ที่ "อาจจะเป็น" หรือที่จริงพระที่ "เป็นๆ กัน" คือพระที่เป็นคนสามัญแบบในหนังนี้แหละ ฉายไม่ได้ ส่วนใหญ่พระจึงไม่ได้เป็นตัวแสดงเอก
 
หรือถ้าเป็น ก็ต้องเป็นเรื่องพระๆ มากๆ อย่างในอดีต พระที่เล่นบทตลก ฉายได้และขายได้ดีด้วย เพราะพระตลกก็ยังเล่นบทเป็นพระ ไม่ใช่คน แต่ถ้าพระไม่ตลก ก็มีแต่ด้านดี หนังพระตัวเอกที่ดีอย่างเดียวก็คงเป็นหนังที่ไม่รู้ว่าใครจะไปดูทำไม สู้ไปเดินดูภาพจิตกรรมเอาตามผนังโบสถ์ไม่ดีกว่าหรือ 
 
โจทย์คือพระต้องไม่ใช่คน แค่นั้นเอง ถึงหนังจะสอนว่า "นี่นะ แบบนี้เป็นพระที่ไม่ดีนะ ทำตัวเป็นคนมากเกินไป" ก็ฉายไม่ได้ 
 
สงสัยนิดเดียวว่า ทำไมคนสร้างหนังถึงคิดว่าเรื่องนี้น่าจะผ่านกองเซ็นเซอร์ หรือคนสร้างไม่รู้ว่า พล็อตเดิมๆ ของพระในหนังน่ะ ก็คือพล็อตเดียวกับบทบาทพระในชีวิตจริงนั่นแหละ ถ้าในชีวิตจริงยังพูดถึงความเป็นคนของพระไม่ได้ ในหนังก็ยิ่งพูดว่าพระเป็นคนไม่ได้เข้าไปใหญ่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย