Skip to main content

เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน

ครั้งสุดท้ายที่ผมเดินทางมารู้จักเมืองไลคือเมื่อปี 2004 เมื่อสิบกว่าปีก่อน เมืองไลมีบ้านเรือนที่สวยงานจำนวนมาก ตัวเมืองไลเอง เมื่อมองลงมาจากที่สูง จะเห็นทุ่งเมืองไลทอดตัวอยู่ขนาบลำห้วยหนึ่ง บริเวณนั้นมีที่นาและบ้านเรือนผู้คนตั้งอยู่ ทางเข้าเมืองไลมีสองทาง ทางหนึ่งวิ่งตรงไปยังสะพานข้ามห้วย จะเห็นหาดหินกว้างบริเวณปากน้ำที่จะไปบรรจบกับอีกสองลำน้ำ คือน้ำหนากับน้ำแต๊ (ที่คนไทยเรียกตามฝรั่งเศสว่าน้ำดำ) อีกทางหนึ่งคือข้ามสะพานก่อนถึงเมือง แล้ววิ่งเลาะหมู่บ้านริมเขาไป จะผ่านบ้านไตขาวจำนวนเกือบร้อยหลังคาเรือน เรียงรายริมนา มีครั้งหนึ่งที่ผมได้อาศัยข้าวปลาจากเรือนแถบนี้เมื่อมาเยือนเมืองไล

ณ ที่ตั้งของเมืองไล ฝั่งหนึ่งของน้ำดำมีท่าเรือ ที่ผมเคยล่องน้ำดำสำรวจเส้นทางและผู้คนจากเมืองไลไปยังเมืองเจียน ก่อนที่บริเวณนั้นทั้งหมดจะจมอยู่ใต้ลำน้ำดำเหนือเขื่อนเซอนลาในปัจจุบัน ตรงท่าเรือ ที่ก็เป็นเพียงหาดทรายริมน้ำดำ มีเมืองเก่าของชาวฝรั่งเศส อีกฝั่งหนึ่งเป็นบ้านของชาวไต เรียกบ้านจาง ตั้งรายล้อมยอดเขาเล็ก ๆ ที่เหมือนเป็นชะง่อนผา อันเป็นที่ตั้งของเรือนเจ้าเมืองเมืองไลในอดีต เรือนนี้เป็นเรือนแบบฝรั่ง ถูกทิ้งร้างมานานแล้ว บ้านจางนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางไปเมืองแต๊ จัดเป็นเมืองทางทิศตะวันตกสุดของชายแดนจีน-เวียดนาม

เมืองไลในอดีตมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสงคราม “ปราบฮ่อ” ของสยาม จนเกิดบันทึกสองมุมมองคือ มุมของแม่ทัพบันทึกโดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กับบันทึกของไพร่พลคือนิราศหนองคาย ที่เมื่อพิมพ์แล้วก็ถูกเผา นอกจากนั้นยังมีพงศาวดารเมืองไล หากแต่จะมีใครสักกี่คนที่สนใจว่า เมืองไลสำคัญอย่างไร

หากจะเล่าย่อ ๆ จากบันทึกของฝรั่งเศส เวียดนาม ชาวไต และผลการศึกษาต่าง ๆ อีกมากในภาษาอังกฤษ เมื่อกบฏไท่ผิงพ่ายแพ้กองทัพจีนแล้วหนีลงมาเวียดนาม ถูกเรียกว่า “ฮ่อ” โดยชาวไต พวกนี้มีหลายกลุ่ม บางกลุ่มปล้นฆ่าชาวไตและคนในเวียดนาม บางพวกได้เข้ากับพวกไต ปราบปรามพวกฮ่อด้วยกัน จนเมื่อฝรั่งเศสขยายอำนาจขึ้นมาภาคเหนือในทศวรรษ 1870 พวกฮ่อ ไต และเวียดนาม รวมกำลังกันต่อต้านฝรั่งเศส จนกระทั่งปี 1890 นั่นเองที่ฝรั่งเศสกับสยามทำสนธิสัญญาแบ่งเขตแดนกัน

ในความวุ่นวายนั้น เจ้าเมืองเมืองไลมีบทบาทสำคัญไม่น้อยทีเดียว บันทึกต่าง ๆ เล่าว่า แดววันแสงกับลูกชื่อแดววันจิ (ที่มักออกเสียงว่า แดววันตรี นั่นแหละ) มีกำลังเข้มแข็งมากเนื่องจากสมทบกำลังกับพวกฮ่อ จึงได้มีอำนาจเหนือเมืองของพวกไตหลายเมือง เมื่อกองทัพสยามขึ้นมา ได้จับน้องชายและน้องเขยของแดววันจิไปกรุงเทพฯ (คนพวกนี้น่าจะมีส่วนในการทำบันทึกพงศาวดารเมืองไล) แดววันจิกับพวกฮ่อจึงนำกำลังไปเผาหลวงพระบาง จากนั้นฝรั่งเศสก็นำทัพขึ้นมาจากหล่าวกาย (Lào Cai) ปราบปรามอำนาจของพวกไตขาว

หากแต่ในท้ายที่สุด ฝรั่งเศสให้พวกเจ้าเมืองปกครองดังเดิม แต่ต้องยอมรับอำนาจเหนือกว่าของฝรั่งเศส ส่วนเจ้าเมืองไลก็ได้รับฐานะใหม่ กลายเป็นเจ้าเมืองเหนือเมืองไตขาวและไตดำจำนวนหนึ่ง จนมาถึงยุคของลูกของแดววันจิคือแดววันลอง ฝรั่งเศสแต่งตั้งเขาเป็นเสมือนกษัตริย์ของพวกไต ที่สำคัญคือเมื่อเขามีอำนาจเหนือเดียนเบียนฟู ทำให้ชาวไตขาวเข้าไปอาศัยในเมืองแถงเป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อฝรั่งเศสแพ้ในสงครามเดียนเบียนฟู แดววันลองและครอบครัวต้องหนีไปอยู่ฝรั่งเศส แล้วบ้านเรือนเขาที่เมืองไลก็ถูกทิ้งร้าง

เมืองไลในทศวรรษที่ผมทำวิจัยจนปัจจุบันถูกทำให้สับสนหลายครั้ง เมืองไลถูกเรียกว่า ลายเจิว ในภาษาเวียดนามมาแต่ดั้งเดิม แต่ในทศวรรษ 2000 เมืองไลถูกรวบเป็นส่วนหนึ่งกับเดียนเบียนฟู แล้วตั้งเป็นจังหวัดลายเจิว แต่กลับมีตัวอำเภอเมืองอยู่ที่เมืองแถง ต่อมาเมื่อเมื่อรัฐบาลจะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นนำ้ดำที่เซอนลา ซึ่งจะทำให้น้ำท่วมเมืองเจียน เมืองไตขาวขนาดใหญ่อีกเมือง และท่วมมาจนถึงเมืองไล ลายเจิวใหม่ก็ถูกตั้งขึ้นมา ณ เมืองของไตขาว คนม้ง คนเย้า และคนลื้อ ที่ตามเดื่อง (Tam Đường) และบิ่งลือ (Bình Lư) ส่วนเมืองแถงก็กลายเป็นจังหวัดเดียนเบียนฟูแยกจากเมืองไลดังเดิม

 

 

 

จนในปัจจุบัน เมืองไลไม่ได้ถูกทิ้งร้างไปเสียทีเดียว เมืองไลกลาายเป็น เทศบาลเมืองไล (Thị xã Lai Châu) ขึ้นกับจังหวัดลายเจิว แต่น้ำท่วมทุ่งนาเมืองไลไปจนหมดสิ้น บ้านเรือนที่เคยตั้งอยู่ริมนา ก็ถูกโยกย้ายไตั้งอยู่ริมถนน บรรดาที่ตั้งบ้านเรือนเก่า ๆ ทั้งก่อนเข้าเมืองและนอกเมือง ก็ถูกน้ำท่วมไปจนหมดสิ้น เมืองจัน ที่เคยหนาแน่นที่สุดในเขตเมืองไล และเป็นเมืองบริวารที่สำคัญของเมืองไล ก็จมอยู่ใต้น้ำเสียส่วนใหญ่ ส่วนเรือนของแดววันลองที่เคยตั้งตระหง่านอยู่บนชะง่อนผา ก็เกือบจะถูกน้ำท่วมเสียเช่นกัน

 

 

 

แต่การกลับมาเมืองไลครั้งนี้ก็ทำให้เกิดความสนใจใหม่ ๆ ได้รับรู้และรู้จักเรื่องราวกับผู้คนใหม่ ๆ อีกมาก ผมตื่นเต้นที่ได้เข้าไปพบชาวเมืองซอ เมืองไตขาวที่สำคัญคู่กับเมืองไล ตื่นเต้นที่ได้เจอชาวขมุที่สร้างเรือนแบบไตและพูดได้ทั้งภาษาไตและภาษาเวียดอาศัยอยู่ริมทางก่อนเข้าเมือง และได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากเขื่อนไฟฟ้าขนาดเล็กถึง 3 เขื่อนกั้นลำน้ำหนา กับการเปิดชายแดนเวียดนาม-จีนบริเวณใกล้ ๆ เมืองซอที่คึกคักขนาดมีรถพ่วงขนาดใหญ่ขนสินค้าผ่านไปมาตลอดเส้นทาง

 

 

 

อีกสิบปีให้หลัง คงไม่มีใครสนใจเรื่องราวของเมืองไล อดีตของดินแดนและผู้คนในที่แห่งนี้คงถูกลบเลือนไปอีกมาก ผมจำต้องกล่าวอำลาเมืองไลอันเกรียงไกร แต่ผมก็ตั้งใจว่าจะกลับมาเยี่ยมเยียนทำความเข้าใจผู้คนที่ได้พบปะในการเดินทางครั้งนี้อีกอย่างแน่นอน

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้