Skip to main content

รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 

เซเล็บหลายคนชอบโพสต์ข้อความหล่อๆ อย่างหล่อลอยๆ ก็เช่นแปะข่าวที่มีข้อถกเถียงแล้วเขียนว่า "อีกมุมมองหนึ่ง" ดูไปเขาก็เห็นด้วยกับข้อความนั้นนั่นแหละ แต่กลัวไม่หล่อ กลัวเสียสาวก กลัวเสียแม่ยก กลัวเรียกน้ำลายไม่ได้ กลัวเสีย Like ก็เลยทำได้แค่แหย่ๆ สงวนท่าที ประทังความหล่อของตัวเองไว้  

ยังไงหล่อแบบนั้นก็ไม่ถึงกับเลวร้ายเท่าหล่อไม่รับผิดชอบ คือหล่อแบบเอาทุกทาง หล่อแบบรักทุกคน หล่อแบบไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจน หล่อแบบรักษาตัวรอดเสมอ หล่อแบบอยู่ทุกฝ่าย หล่อแบบ "ที่คุณว่าก็ดีนะ แต่ที่อีกฝ่ายหนึ่งเขาพูดก็ต้องพิจารณา" ไม่ก็ "อย่าเอาผมไปอยู่ข้างคุณเลย" "ฉันถูกนับเป็นทุกฝ่ายแหละ" 

คือหล่อแบบกลัวเสียสาวกน่ะ อย่างน้อยเราก็พอเดาได้ว่ามีความคิดไปทางไหนบ้าง แต่เขากลัวๆ กล้าๆ ก็เลยไม่ยืนยันจริงๆ จังๆ ว่า ตกลงคิดยังไงแน่ ซึ่งบางทีก็ทำให้คนเขาตีความกันวุ่น ชุลมุนกันไปหมด ทำเอาสาวกงงหลายตลบ เดินตามไม่ถูก เอาใจไม่ทัน  

ความหล่อที่ผมว่าเลวร้ายยิ่งกว่าคือ การเป็นนักวิชาการหล่อๆ หล่อแบบทำตัวอยู่เหนือสถานการณ์ หล่อแบบวิจารณ์ทุกฝ่าย วิธีหล่อแบบนี้คือการแสดงว่าตัวเองมองโลกจากเบื้องบน มองลงมาเห็นหมด เห็นทุกแนวโน้มทุกมุมมอง แล้วก็เปล่งวาจาว่า "หึหึ อย่าทะเลาะกันเลย พวกสูผิดหมดนั่นแหละ" "หรือถ้าเป็นพวกไม่เสนอทางออกก็จะออกแนวว่า "รักกันไว้ดีกว่า" "เก็บแรงไว้ไปทำงานวิชาการเถอะ"  

แต่พวกนักวิชาการหล่อจะพิศดารยิ่งกว่านั้น หล่อวิชาการจะแอบซ่อนความเห็นของตนเองไว้ในท่าทีที่ยอกย้อนพิสดาร แต่อย่างน้อยหากใครจะหล่อด้วยการหลบท่าทีตนเองในข้อเขียนที่พิศดาร ผมก็ยังคิดว่าถ้าอ่านเขาออกแล้ว เขาก็ยังมีทิศทางที่ชัดเจน อ่านได้ หาเจอได้ในที่สุด ก็ยังดีกว่าอีกพวกคือหล่อนักวิชาการที่เน้นประคองตัวเหนือสถานการณ์อย่างเดียว 

นักวิชาการที่หล่อเหนือโลกสุดๆ น่ะ เขาจะหล่อด้วยการเขียนอะไรด้วยความคิดยากๆ ยากจนต้องตีความไปตีความมา จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าตกลงกำลังพูดอะไรแน่ นั่นคือหล่อแบบทำตัวดูฉลาดเหนือโลกจนไม่ไปทางไหนสักทาง เป็นหล่อถนอมน้ำใจ หล่อบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น หล่ออ้อมๆ แอ้มๆ หล่ออ้อมไปอ้อมมาจนคนที่จะต้องถูกวิจารณ์กลับเข้าใจว่ากำลังชมเขาไปเลย 

หล่อแบบนี้มีมากเหมือนกัน หล่อแบบนี้ทำให้หากินได้หลายแวดวง หล่อแบบนี้อาจมีท่าทีสำคัญบางอย่างที่เขาไม่ประนีประนอมด้วยหรอก แต่เมื่อเขาถูกเรียกร้องให้ต้องแสดงท่าทีกับอะไรบางอย่างที่อาจจะกระทบกับสาวกหรือเครือข่ายที่เขาบูชาแล้ว เขาจะหลบความชัดเจนอยู่หลังความหล่อเหลือโลก 

ผมเองก็เคยอยากหล่อ อยากมีสาวกมากมาย อยากอยู่เหนือสถานการณ์ เหนือกาลเวลา แต่เมื่อพบว่าไม่ว่าจะพยายามหล่อขนาดไหน มันก็ไม่พ้นว่าจะต้องเป็นแบบใดอยู่ดี จะต้องเกลือกกลั้วทางใดทางหนึ่งอยู่ดี ผมก็เลยเลิกอยากหล่อ  

นักเขียน-นักวิชาการหลายคนขณะนี้ก็หล่อน้อยลง บางคนก็เลิกหล่อไปเลย แต่บางคนยังหล่ออยู่ในหลายๆ แบบข้างต้น บางคนเพิ่งเห่อความหล่อ ไม่ก็ยังหลงคิดว่าตัวเองหล่ออยู่ แต่ถ้าถ้าจะเลือกไม่หล่อ ก็ขออย่าให้กลายเป็นพวกเกรียนจนเที่ยวไล่บี้ bully ใครต่อใครก็พอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี