Skip to main content

ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ

  

ญี่ปุ่นเป็นเมืองที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งที่จริงก็น่าสนใจ คงเพราะโลกของการใช้ภาษาญี่ปุ่นใหญ่พอที่จะไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษให้ดีนักก็ก้าวหน้าทางการงานได้ เดาเอาน่ะนะครับ และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ผมเจอคนญี่ปุ่นหลายคนที่เขียนภาษาอังกฤษดีมาก แต่พูดไม่ได้เลย ฟังบางคนยังพอฟังได้ แต่บางคนฟังก็แทบจะไม่ได้เลย แต่เขียนได้ได้ดีมาก การเขียนภาษาอังกฤษได้ดีคงเพียงพอแล้วกระมัง

 

แต่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และในภาควิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตนี่แตกต่างจากที่อื่น ผู้บริหารที่ศูนย์เองคุยว่านักวิชาการที่ทำงานและที่เกี่ยวข้องศูนย์นี้น่ะ พูดกันได้หลายภาษามากกว่าหลายๆ ที่ในญี่ปุ่น ที่จริงบรรยากาศแบบนี้ก็มีในบางที่ในอเมริกาเหมือนกัน และที่อื่นๆ ในโลกเช่นกัน แต่ต้องเป็นที่ที่มีภาษาสอนหลายภาษา

 

แน่นอนว่าเมื่อมีการเสนองานวิชาการ ภาษาสำหรับการสื่อสารก็เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น แต่ภาษาในการแลกเปลี่ยนสนทนานอกเวลานำเสนอผลงาน อย่างในห้องทำงานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านเหล้าล่ะก็ อยากพูดภาษาอะไรก็พูดกันไปเถอะ แต่ผมว่าบรรยากาศร้านเหล้านี่แหละที่จะยิ่งทำให้คนพูดกันหลายภาษา เพราะคนอยากแลกเปลี่ยนกันแบบสบายๆ บางทีภาษาอังกฤษก็เป็นอุปสรรคสำหรับนักวิชาการญี่ปุ่นจำนวนมากเช่นกัน

 

บางวันผมไปนั่งกินเหล้ากับกลุ่มนักวิชาการญี่ปุ่น ที่กลุ่มคนพูดภาษาเวียดนาม อีกคนพูดภาษาไทย ทั้งสองคนไม่ถนัดพูดภาษาอังกฤษ กับอีกคนที่พูดสองภาษานี้ไม่ได้เลย หันข้างนึงก็พูดภาษาเวียด หันมาอีกข้างก็พูดภาษาไทย หันไปอีกข้างก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ นี่ถ้าพูดญี่ปุ่นได้ด้วยคงยิ่งสนุกกว่านี้อีก หรือไม่ก็คือทุกคนพูดญี่ปุ่นหมดมีผมคนเดียวที่พูดภาษาต่างประเทศ

 

เมื่อวาน (27 พฤษภาคม 2559) ไปดูหนังเวียดนามเรื่องหนึ่งกับกลุ่มนักวิชาการญี่ปุ่นที่ศึกษาเวียดนาม กลุ่มที่มาดูก็แน่นอนว่าเป็นพวกที่รู้ภาษาเวียดนาม ไม่รู้มากก็ต้องรู้บ้าง แต่หนังมีซับไทเทิลภาษาญี่ปุ่น ดูหนังจบมีการบรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งผมไม่รู้เรื่อง แต่ก็นั่งอยู่จนจบ เพราะหลังจากนั้นจะมีกิจกรรมทางวิชาการที่ผมถือว่าสำคัญ คือการที่พวกอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท-เอกก็ไปกินข้าวด้วยกัน  

 

ตามปกติของวัฒนธรรมทางวิชาการที่นี่ งานเสวนาวิชาการก็มักจะจัดเย็นๆ เสร็จแล้วจะให้สมบูรณ์ก็ต้องจบลงที่การไปดื่ม-กินด้วยกันอย่างนี้แหละ หากขยันไปเข้าร่วมสัมมนาซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีไม่ต่ำกว่า 2 งาน ไม่มากก็น้อยก็จะต้องติดสอยห้อยตามกันไปดื่ม-กินหลังงานเสวนาวิชาการ ซึ่งก็จะเหนื่อยไม่น้อย

 

คืนวานหลังดูหนัง ผมสนุกมากที่ได้พูดคุยภาษาเวียดนามเหมือนกับอยู่ที่เวียดนามเลย บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลของคนที่ศึกษาเวียดนามพื้นที่ต่างๆ และเรียนรู้จากนักวิชาการเวียดนามเอง เป็นไปอย่างครึกครื้น  

 

ที่สนุกอีกอย่างคือ นอกจากจะแลกเปลี่ยนกันเป็นภาษาเวียดนามเป็นส่วนใหญ่แล้ว นักศึกษาชาวเวียดที่มาเรียนที่นี่ที่เจอกันเมื่อวานน่ะ เธอมาจากเวียดนามภาคกลาง เสียงภาษาเวียดเธอก็เลยมีสำเนียงภาคกลาง ฟังรื่นหูไปอีกแบบ ได้บรรยากาศแบบไม่ค่อยฮานอยนัก งานวิจัยของเธอก็น่าสนใจ เธอศึกษาเรื่องการคลอดลูกของชาวม้งที่จังหวัด Hà Giang (ห่าซาง) เธอก็ไปเรียนภาษาม้งด้วยเพราะคนม้งที่นั่นแทบไม่พูดภาษาเวียด แล้วพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ซึ่งผมเคยเดินทางไปเยือนมาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ก็จึงแลกเปลี่ยนกันถามไถ่ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมกี่มากน้อย

 

ความบันเทิงอีกอย่างของเมื่อคืนวานคือ นักศึกษาคนนี้มีลูกสาวอายุ 6 ขวบ ตอนนี้มาอยู่ด้วยกันที่ญี่ปุ่น เด็กคนนี้อยู่มาแค่ปีเดียวก็พูดได้ทั้งภาษาเวียดและภาษาญี่ปุ่นอย่างคล่องแคล่ว แม่เธอบอกว่าลูกสาวพูดภาษาอังกฤษด้วย แต่ยังไม่ได้ลองคุยด้วยว่าพูดไ้ด้ดีแค่ไหน คือในบรรยากาศทางวิชาการแบบนี้ ลูกคนเหล่านี้ก็มักพูดกันหลายภาษาไปด้วย  

 

ไม่มีอะไรมากครับ แค่เล่าสู่กันฟังเพราะอยากให้มีบรรยากาศทางวิชาการแบบนี้ในประเทศไทยบ้าง มหาวิทยาลัยไทยมีหลายแห่งที่จัดสอนภาษาต่างๆ แต่จะมีสักกี่มากน้อยที่สร้างบรรยากาศทางวิชาการที่แลกเปลี่ยนกันด้วยภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษแบบนี้ แล้วบรรยากาศวิชาการนอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนา ก็แทบจะไม่เกิดขึ้น เพราะความสัมพันธ์ศิษย์อาจารย์ของไทยน่ะดูห่างเหินแข็งทื่อยิ่งกว่าระบบอาวุโสที่ดูเคร่งครัดแต่สนิทสนมกันแบบญี่ปุ่น

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้