Skip to main content

ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ

 

ที่ได้ไปก็เนื่องจากเพื่อนคนหนึ่งสนใจงานช่างมาก โดยเฉพาะงานช่างไม้ของญี่ปุ่น เพื่อนคนนี้เคยฝากซื้อเลื่อยจากญี่ปุ่นครั้งหนึ่ง ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่าเลื่อยญี่ปุ่นมีอะไรพิเศษนักหนา แล้วอีกครั้งก็มีคนฝากซื้อหินลับมีดจากญี่ปุ่น ก็สงสัยว่าทำไมถึงต้องเจาะจงอยากได้ของพวกนี้จากญี่ปุ่นกันนัก สุดท้ายก็ไม่ได้ซื้อกลับไปเพราะลือกไม่เป็น

 

พอรู้ว่ามีพิพิธภัณฑ์แบบนี้ด้วย ก็เลยต้องติดสอยห้อตามเขามา ยิ่งมีนักวิชาการญี่ปุ่นเองช่วยนัดภัณฑารักษณ์ให้ ยิ่งดีใหญ่ เพราะนอกจากจะทำให้เข้าชมฟรีแล้ว (แต่ที่จริงค่าเข้าชมก็ไม่เท่าไหร่ แค่ 500 เยน ถือว่าคุ้มค่ามาก) ภัณฑารักษ์ยังอธิบายด้วยภาษาอังกฤษอย่างดี กระชับ เน้นข้อมูลสำคัญ แนะนำได้ครบถ้วน แล้วปล่อยให้เราศึกษาเพิ่มเติมเอง แถมบอกว่าหากมีคำถามเพิ่มเติมก็ถามได้ แต่แค่เท่าที่เขาช่วยพาชมนั่นก็เกินหนึ่งชั่วโมงแล้ว 

ผมชอบหลายอย่างของที่นี่ ที่น่าทึ่งคือ เขาทำให้เราเข้าใจความเฉพาะเจาะจงของงานช่างไม้ญี่ปุ่นได้ดีจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแยกความแตกต่างระหว่างงานช่างไม้ญี่ปุ่นกับงานช่างไม้จีน มีสองสามประเด็น 

เช่นว่า การที่เครื่องหลังคาของญี่ปุ่น โดยพื้นฐานก็เหมือนของจีนนั่นแหละ แต่เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีฝนมากกว่า กันสาดของหลังคาจึงยื่นออกมามากกว่า ทำให้โครงสร้างบางอย่างต้องแตกต่างกันไปด้วย 

เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์นี้นำเสนอคือคำถามที่ว่า ชาวญี่ปุ่นเลื่อยไม้จากต้นไม้ใหญ่ให้เป็นแผ่นกระดานอย่างไร สำหรับช่างจีน จะใช้เลื่อยที่ใบเลื่อยเป็นปื้นแคบๆ ยาวๆ เข้ากรอบไม้ที่มีแกนกลาง มีไม้เป็นมือจับสองข้าง ซึ่งเป็นแบบที่เห็นได้ทั่วไปในประเทศไทยเช่นกัน 

แต่ญี่ปุ่นไม่ใช้วิธีนั้น เขาจะใช้ลิ่มเหล็กหรือลิ่มไม้ ตอกลงไปในลำต้นทีละตอนๆ ตามแนวที่ขีดไว้ ให้แยกจากกันทีละแผ่น แล้วจึงค่อยมาใช้มีดพิเศษชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเคียวแต่ไม่โง้งยาวเท่า ค่อยๆ เหลาเข้าตัว ให้หน้ากระดานเรียบขึ้นๆ จนเนียน แต่เราก็ยังสัมผัสได้ถึงร่องรอยของใบมีดนั้น หรือถ้าจะให้เรียบจริงๆ เขาจะใช้กบที่ใบมีดละเอียดไสจนเรียบเนียนกริบเราวผ้าไหม 

เครื่องมืออีกชนิดที่ญี่ปุ่นใช้เลื่อยแผ่นกระดานคือ เลื่อยรูปร่างประหาด ที่ใบเลื่อยมีขนาดกว้างใหญ่เหมือนมีดปังตอ เพียงแต่ด้านคมเป็นฟันเลื่อย อย่างในรูปที่ถ่ายจากโบรชัวของพิพิธภัณฑ์ (ที่นี่ไม่ให้ถ่ายรูปสิ่งของและการจัดแสดงในท่จัดแสดง) เขาจะพาดลำต้นไม้ให้สูงขึ้นด้านหนึ่ง แล้วเหมือนนั่งเลื่อยจากด้านล่าง ท่าทางและการจัดการขี้เลื่อยคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไปอีกอย่างหนึ่ง (ผมอาจจะจำผิด ต้องตรวจสอบดูอีกทีหนึ่ง) 

นอกจากนั้น การจัดแสดงยังพยายามเทียบงานไม้ญี่ปุ่นกับงานไม้ที่ต่างๆ ทั่วโลก เขามีความสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ช่างไม้ในยุโรบหลายแห่ง จึงแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อนำเสนอกันได้ ทำให้สามารถเปรียบเทียบวิธีการเลื่อยไม้ การทำงานไม้ได้พอสมควร 

นอกจากการจัดแสดง ของที่เขาสะสม การเล่าเรื่องราวต่างๆ แล้ว การออกแบบตกแต่งอาคารก็สมกับเป็นผลงานของช่างไม้มืออาชีพ เขาใส่ใจไม่เพียงแต่พื้นผิว ที่ว่าง สีสัน วัสดุ แต่ยังสร้างกลิ่นไม้ด้วยการฉีดน้ำหอมกลิ่นไม้ให้ได้รู้สึกกันตั้งแต่เข้าชมเลยทีเดียว น้ำหอมนี้มีขายด้วย หากใครคิดว่าอยากอยู่ในห้องที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงไม้ตลอดเวลาก็น่าจะซื้อมาฉีดดมดู ผมคนหนึ่งละที่ไม่เอาด้วย 

แถมขณะนี้มีงานแสดงงานไม้ของศิลปินแห่งชาติ พร้อมทั้งผลงานของพ่อและปู่ของเขา จัดแสดงอยู่ นอกจากนั้นยังแสดงความละเอียดอ่อนของการเลือกวัสดุ ที่ภัณฑารักษ์เล่าว่า ขณะนี้ไม้ดีๆ ที่ได้อายุหาไม่ได้ในญี่ปุ่นอีกแล้ว ศิลปินจึงต้องไปหาไม้จากต่างประเทศมาแทน รวมทั้งการเปิดให้เห็นวิธีการเชื่อมต่อไม้ และให้ชมเครื่องมือต่างๆ ของช่างศิลปินแห่งชาติ เขาไม่ได้ให้ชมเครื่องมือของช่างเอง เพราะเขายังใช้งานอยู่ แต่ให้ชมของพ่อช่างเอง 

ถ้ายังไม่จุใจ พิพิธภัณฑ์นี้ยังมีห้องสมุดให้ค้นคว้า ทั้งข้อมูลเอกสารและข้อมูลวีดีโอ มีห้อง work shop ให้เรียนทำงานไม้แล้วเอาผลงานตนเองกลับบ้านได้เลย 

เมื่อชมจบ ก็มีคำถามคาใจมากมายเกี่ยวกับท้องถิ่นของงานช่าง และความแตกต่างระหว่างช่างพื้นบ้าน ที่เขาก็แสดงไว้ส่วนหนึ่ง กับช่างในวัดและในวัง รวมทั้งพัฒนาการของงานสถาปัตยกรรมต่างๆ แต่แค่นี้แม้ยังไม่ได้ถาม พิพิธภัณฑ์นี้ก็ทำหน้าที่มันได้อย่างดีแล้ว 

ถ้าจะถามกลับมาที่ประเทศไทยบ้าง เราคงเดาได้ไม่ยากว่าหากมีพิพิธภัณฑ์ประเภทนี้ในบ้านเราบ้าง "เพดาน" ของความคิดมันจะอยู่ตรงไหน ใครบ้างที่จะถูกเรียกว่าช่างไม้ แล้วเราจะได้เข้าใจงานช่างไม้สามัญมากกว่าช่างใครคนใดที่ถูกยกย่องกันจนพิเศษเกินไปหรือไม่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา