Skip to main content

ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 

 

ผมเพิ่งได้รับเชิญไปเสนองานในการประชุมวิชาการในโอกาสครบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กแก่งกิจการและภาษาต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studie) ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ และก็ได้มีโอกาสเที่ยวในกรุงโซลและบริเวณใกล้เคียงอีกสองวัน 

 

เรื่องที่อยากจะเขียนหลายตอน เพราะมีหลายเรื่อง ที่จริงเรื่องที่มี passion มากที่สุดคือเรื่องอาหารการกิน แต่เอาไว้ก่อนดีกว่า ขอเริ่มที่เรื่องที่เห็นได้ชัด และช่วยให้เข้าใจ "ความเป็นเกาหลี" แบบที่คนเกาหลีเลือกนำเสนอ  

 

เกาหลีที่ไปไม่ว่าจะครั้งแรกหรือครั้งที่สอง ก็มักจะมีเพื่อนชาวเกาหลีนำเสนอผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องย้อนกลับไปถึงราชวงศ์และประวัติศาสตร์เกาหลี ตั้งแต่ก่อนหน้าที่จะตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อนเกาหลีจึงมักพาไปดูวังเวียงต่างๆ  

 

ไปคราวนี้ ผมได้นักศึกษาปริญญาเอกชาวเกาหลีที่มาเรียนมานุษยวิทยากับผมที่ธรรมศาสตร์พาเที่ยว ก็จึงได้ความรู้มากมาย ขอเรียกรวมๆ ว่า “เพื่อน” แทนแล้วกัน เพราะบางครั้งก็เป็นคำอธิบายจากชาวเกาหลีคนอื่นๆ ผมไปดูวังสองแห่ง แห่งแรกคือที่พำนักชั่วคราวของกษัตริย์ราชวงศ์โชซอน (Joseon) ที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 - 20 เป็นราชวงศ์สุดท้าย ก่อนหน้านี้เป็นราชวงศ์ซิลลา (Silla) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล 50 กว่าปีมาจนถึงศตวรรษที่ 10  

 

ที่ได้เรียนรู้จากการเดินทางครั้งนี้มีหลายอย่าง หนึ่งคือ อำนาจการปกครองในเกาหลี ทั้งเหนือและใต้ เป็นอิสระจากจีนมายาวนาน ดูได้ จากวัฒนธรรม โบราณวัตถุ ความเชื่อท้องถิ่น และอักษร ส่วนตัวผมสนใจอักษรเป็นพิเศษ อักษรเกาหลีที่ใช้ในปัจจุบันคิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แล้วมีการพิมพ์เผยแพร่หนังสือด้วยอักษรนี้ควบคู่กับอักษรและภาษาจีนตั้งแต่อย่างน้อยศตวรรษที่ 15 เช่นกัน เรื่องอักษรนี้ดูจะเป็นเรื่องสำคัญมาก บริเวณลานหน้าพระราชวังกีอองบุ๊กคุงจึงมีหุ่นกษัตริย์ที่ประดิษฐ์อักษรเกาหลีตั้งอยู่ นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมการสร้างสถาปัตยกรรมหินครอบพระพุทธรูป (เรื่องนี้เล่าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ) ธรรมเนียมการทำสุสานเป็นเนินดินขนาดใหญ่ของราชวงศ์ซิลลา 

 

อีกอย่างที่ได้รู้คือ เกาหลีไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้อนี้ไม่แปลก แต่ได้รู้ก็ดี นอกจากมีอาณาจักรเล็กน้อยอย่างน้อย 3-4 อาณาจักรที่ผลัดกันเป็นใหญ่แล้ว แต่ละอาณาจักรก็มีอิทธิพลตั้งต้นจากถิ่นต่างๆ ทางใต้ของเกาหลีใต้บ้าง ทางเหนือบ้าง ภาคกลางบ้าง แต่ที่มีอิทธิพลมากและสืบทอดอำนาจยาวนานคือราชวงศ์ซิลลาและราชวงศ์โชซอน 

 

ราชวงศ์ซิลลามีพื้นฐานปรัชญาความคิดสำคัญคือพุทธศาสนา ส่วนราชวงศ์โชซอนอาศัยปรัชญาขงจื่อเป็นหลัก ที่น่าสนใจคือ เพื่อนเกาหลีอธิบายว่า การที่สถาปัตยกรรมเกาหลียุคโชซอนเรียบง่าย เพราะมีหลักคิดแบบขงจื่อ ผมไม่รู้ว่าขงจื่อในความคิดของเกาหลีเป็นอย่างไรบ้าง แต่เคยอ่านงานของผู้เชี่ยวชาญขงจื่อในเอเชีย เขียนเปรียบเทียบเกาหลี จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม แล้วพบว่า ขงจื่อในเกาหลีนั้นมีอิทธิพลมากยิ่งกว่าในจีนด้วยซ้ำ คงจะเพราะสืบเนื่องยาวนาน สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากสถาปัตยกรรมคือ ความเรียบง่าย และไม่ค่อยมีรูปบูชาอะไร ส่วนใหญ่เป็นเส้นสายลวดลายประดับที่เป็นรูปทรงเลขาคณิตและนามธรรม ส่วนสีสันก็มีโทนสีที่ไม่ฉูดฉาด ไม่ค่อยมีทองประดับ 

 

อย่างไรก็ดี เพื่อนเกาหลีเล่าว่า โบราณสถานหลายแห่งถูกทำลายไปด้วยน้ำมือของทหารญี่ปุ่น โบราณวัตถุจำนวนมากก็ถูกขโมยไปญี่ปุ่น ผมถามซื่อๆ ว่าทำไมญี่ปุ่นถึงต้องทำลายวัฒนธรรมเกาหลี เพื่อนเล่าว่า เพราะเขาต้องการทำให้เกาหลีกลายเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น กลายเป็นญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ในช่วงที่ญี่ปุ่นมาปกครองเกาหลีราว 30 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด ไม่ต้องสงสัยเลยว่า พระราชวังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ส่วนมากก็ถูกทำลายไป แล้วจึงได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ 

 

ผมถามคนเกาหลีว่า ที่เห็นนักเรียนจำนวนมากสวมชุดประจำชาติเกาหลีนั้น เป็นเพราะเขารักวัฒนธรรมเดิมหรืออย่างไร เพื่อนเกาหลีหัวเราะแล้วบอกว่า ไม่น่าจะใช่ คนรุ่นใหม่เขาไม่สนใจหรอก เขาคงแต่งตัวมาเดินเพราะครูสั่งให้ทำการบ้าน ให้แต่งตัวมาเดินในย่านพระราชวังแล้วถ่ายรูป แต่ผมก็เห็นหลายคนเหมือนเขาชอบอยู่ ถึงอย่างนั้นก็ตาม เพื่อนเกาหลียืนยันว่า คนเกาหลีไม่ได้สนใจราชวงศ์อะไรหรอก เพราะช่วงที่กษัตริย์เสียอำนาจนั้น คนเกาหลีไม่ได้มีส่วนรู้สึกถึงความเป็นประเทศ ไม่ทันได้มีการพัฒนาสำนึกว่ากษัตริย์เกาหลีกับประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมาเลย การเสียอำนาจที่สำคัญคือเสียให้ญี่ปุ่นนั้น ก็เหมือนเป็นการเสียอำนาจของกษัตริย์เองมากกว่า 

 

ผมจึงคิดว่า ความภูมิใจในโบราณสถานและวัฒนธรรมเกาหลี คือการสร้างสำนึกความเป็นเอกเทศของเกาหลี การเป็นเกาหลีที่ไม่อยู่ใต้การปกครองของคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่น มากกว่าจะถึงกับเป็นการหลงใหลในประเพณีดั้งเดิมหรือประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของเกาหลี

 

ชมภาพได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.782899915181728.1073741843.173987589406300&type=1&l=92b62ebfe9

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย