Skip to main content

วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 

อย่างแรกที่ชอบคือ พวกเขาไม่ได้ใส่เสื้อดำปี๋กันแบบที่ท่าพระจันทร์ ที่จริงระหว่าง 3 แคมปัส ที่รังสิตก็ยังไม่เคร่งครัดเท่าไหร่กับเสื้อดำ มีแต่ท่าพระจันทร์นี่แหละที่ดำปี๋ๆ ตลกดีที่ท่าพระจันทร์สิ้นความดื้อไปแล้ว 

ที่ลำปางวันนี้ ก่อนเริ่มสอน ผมถามพวกเขาว่าพวกคุณคิดว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกว่าชีวิตมหาวิทยาลัยแตกต่างจากเมื่อเป็นนักเรียนที่สุด ขอ 3 คำตอบ นศ. ร่วมร้อยคนในห้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงตอบกันอย่างรวดเร็ว คนแรกบอกว่า ได้นอนตื่นสาย คนต่อมาบอก ไม่ต้องแต่งชุดนักศึกษา อีกคนบอก เลือกวิชาเรียนได้มากขึ้น 

เรื่องชุดนักศึกษา ผมว่านักศึกษามหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ทางเหนือใส่ชุด นศ. มากกว่า มธ. ลำปางเสียอีก 

ผมถามว่าสามคำตอบนี้มีอะไรร่วมกัน คนหนึ่งตอบว่า ความอิสระ ผมแอบตกใจในใจว่าทำไมเชื่อมโยงได้ไวจัง แต่พยายามเก็บอาการ เริ่มนึกในใจว่า ห้องนี้เริ่มสนุกแระ  

ผมรีบสำทับทันทีว่า ความอิสระคือการเลือกได้ การเลือกได้มีความยุ่งยาก มีความรับผิดชอบต่อผลที่เลือก แต่ก็ดีกว่าเลือกไม่ได้ พวกเขานั่งฟังอย่างสนใจ ตาใส หลายคนอมยิ้ม ผมเริ่มมีความหวังขึ้นอีก  

แล้วบอกพวกเขาว่า ผมมาสอนลำปางเมื่อเกือบสิบปีก่อนแล้วไม่ได้มาอีกเลย ตอนนั้นผมคิดว่า นศ. ธรรมศาสตร์ลำปางทำไมต่างจากที่ท่าพระจันทร์และรังสิตมากจัง เพราะมีแต่คนใส่ชุดนักศึกษา แต่ไม่ตั้งใจเรียนเลย มาถึงรุ่นพวกคุณ ต่างไปมากเลย คงมีใครมาปลูกอะไรไว้ อันหลังนี้ผมแอบนึกคนเดียวในใจ 

ผมได้ใจบอกพวกเขาต่อไปว่า พวกคุณต้องรู้จักเลือก กล้าเลือก ถ้าพวกคุณอยู่ในสังคมที่เลือกไม่ได้เสียจนไม่คิดว่าการเลือกเป็นสิ่งจำเป็น สังคมเราจะถดถอย สังคมจะไม่มีทางเลือกใหม่ๆ 

แล้วผมก็สอนสังคมศาสตร์ ผ่านจากการบอกว่าสังคมคืออะไร จะรู้จักมันได้อย่างไร ผมบอกให้พวกเขารู้จักดื้อกับสังคม บอกพวกเขาว่า อย่าสร้างสรรค์สังคมด้วยการแค่ผลิตซ้ำสิ่งที่สังคมต้องการ ผมบอกให้เขาเป็นนักสังคมศาสตร์ที่นอกจากศึกษาสังคมแล้วยังต้องเปลี่ยนแปลงสังคม  

ผมบอกว่า ในฐานะที่พวกเขาเป็นนักเรียนสังคมสงเคราะห์ พวกเขาต้องกล้าสงสัยว่า สิ่งที่สังคมบอกว่าดีนั้น ดีต่อใครกันแน่ พวกเขาต้องกล้าที่จะดื้อเพื่อเปลี่ยนสังคมให้เป็นธรรม นักสังคมศาสตร์ต้องเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พวกเขาดูอึ้งๆ แต่ก็เหมือนจะสนใจดีอยู่ 

ตอนท้ายๆ ของเวลาเรียน ผมล้อพวกเขาว่า พรุ่งนี้อาจมีผู้ปกครองไปฟ้องครูใหญ่ว่า อาจารย์คนนี้สอนให้เด็กดื้อ แต่ผมดักคอไว้แล้วว่า ถ้าคุณพิมพ์ชื่อผมแล้วพิมพ์ชื่อครูใหญ่ตามมา จะรู้ว่าครูใหญ่คุณไม่อยากยุ่งกับผมหรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน