Skip to main content

อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น

 
การได้รู้จักโรงเบียร์นี้ก็เป็นความบังเอิญอย่างมาก คือเริ่มจากคืนแรกที่ไปถึงโตรอนโต ซึ่งก็ดึกดื่นแล้ว แต่เป็นคืนที่หนาวเหน็บพอสมควร แถมเมื่อไปถึงก็เท่ากับเป็นเวลาเที่ยงวันของประเทศไทย ก็ย่อมหิวโหยเป็นธรรมดา ผมก็เลยเลือกเข้าบาร์ ซึ่งเปิดถึงตีหนึ่งและตีสอง บาร์แห่งหนึ่งอยู่ตรงข้ามที่พักเป็นที่เดียวที่ยังเปิดอยู่
 
นั่งสักพัก ผมก็สั่งเบียร์ชื่อเตะตาชื่อ Steam Whistle ในใจนึกถึงความเป็นเมืองท่าเพราะติดทะเลสาบออนทาริโอ หนึ่งในทะเลสาบขนาดยักษ์ 5 แห่งของทวีปอเมริกาเหนือ ทีแรกนึกว่าชื่อเชื่อมโยงกับเรือกลไฟ ที่ไหนได้ เมื่อจิบไป ดูข้อมูลเบียร์ในอินเตอร์เน็ตไป ก็กลายเป็นว่าที่ตั้งของโรงเบียร์นี้อยู่บริเวณที่เป็นศูนย์กลางสถานีรถไฟของแคนาดามาก่อน แล้วเขามีทัวร์ด้วย ก็เลยคิดว่าต้องไปเยี่ยมชมให้ได้
 
ที่ตั้งโรงเบียร์นี้เป็นอาคารเก่าที่เลิกใช้แล้ว เดิมทีเป็นอาคารที่จอดซ่อมบำรุงหัวรถไฟ* ของศูนย์รถไฟของประเทศเลยทีเดียว เรียกว่าเรือนกลม (Round House) ปัจจุบันเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ ในบริเวณนั้นก็คือที่ตั้งหอคอยโตรอนโต ซึ่งถือว่าเป็นหอคอยสูงที่สุดในโลกแห่งหนึ่งทีเดียว
 
การได้นั่งรถรางแล้วเดินไปยังโรงเบียร์แห่งนี้ทำให้ได้เห็นสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้ทะเลสาบออนทอริโอ พร้อมๆ กับได้เห็นบรรยากาศที่พักหรูๆ ริมทะเลสาบ หากแต่เมืองก็ไม่ได้ปิดกั้นการใช้พื้นที่หรูหรานี้แต่อย่างใด บริเวณนั้นมีทั้งร้านอาหาร ร้านของชำที่ไม่ได้ราคาโหดร้าย แถมมีโรงเบียร์ที่ราคาปกติกว่าคราฟเบียร์ไทยตั้งอยู่แห่งหนึ่งด้วย
 
เมื่อเข้าไป ก็จะเจอบาร์ของโรงเบียร์ ซึ่งก็ขายเบียร์ชนิดเดียว กับขายของกินเล่นและเอบร์เกอร์ของที่นี่เอง ผมไม่กินอะไรเพราะอิ่มแล้ว เลยซื้อทัวร์ 12 เหรียญแคนาดา จะได้ดื่มแก้วเล็กชิมก่อน แล้วระหว่างเดินก็จะได้ถือเดินจิบไปอีกขวดนึง เดินชมเสร็จก็ได้ชิมแบบไม่กรองอีกแก้วนึง
 
โรงเบียร์แห่งนี้ตั้งโดยคนรุ่นใหม่ อายุสี่สิบกว่าๆ ในปี 1998 สิ่งที่น่าสนใจของสตีมวิสเทิ่ลมีหลายอย่าง
 
อย่างแรกคือ เขายืนยันที่จะทำเบีบร์ชนิดเดียวคือ pilsner ผมเพิ่งสงสัยกับเพื่อนดื่มในกรุงเทพฯ ว่า พิลสเนอร์คือเบียร์อย่างไรกันแน่ พอมาที่นี่ก็เจอกับพิลสเนอร์มากมายของหลายโรงเบียร์ แต่ละแห่งทำรสไม่เหมือนกัน ถามคนนำทัวร์ในโรงเบียร์นี้ เขาก็ให้คำตอบแค่ว่า "ก็เป็นลาเกอร์อย่างหนึ่งนั่นแหละ"
 
ที่สำคัญคือ เขายืนยันว่าจะใช้วัตถุดิบเพียง 4 อย่างคือ น้ำ (จากแหล่งน้ำแห่งหนึ่ง ต้องขนมา) มอลต์ ฮอบ และยีส เท่านั้น ไม่ปรุงแต่งอะไรอีกเลย เมื่อเดินชม ได้ดมกลิ่นมอลต์กับฮอบแล้ว จึงได้รู้ว่า ความสด หอมกลมกล่อม และชวนหลงไหลของเบียร์ของเขา มาจากวัตถุดิบง่ายๆ แค่นี้เอง
 
เบียร์ของที่นี่จึงรสชาติซื่อตรงกับวัตถุดิบมาก ดื่มแล้วสดชื่น ยิ่งความสดใหม่ที่เขาประดันว่าต้องไม่เกิน 3 เดือนหลังบรรจุแล้ว ยิ่งทำให้กลิ่นวัตถุดิบชัดเจน ยิ่งหากดื่มแบบไม่กรอง ซึ่งน้ำขุ่น (ดูจากรูปเทียบกับที่กรองแล้ว ซึ่งปกติเขาจะขายแบบกรองแล้ว) ยิ่งได้รสวัตถุดิบ ได้ความแน่นของเนื้อเบียร์
 
นอกจากนั้น ที่นี่ยังยืนยันที่จะใช้ขวดแก้ว เขาบอกว่าต้นทุนการล้างขวดแก้ว การใช้ขวดแก้วซ้ำนั้น ถูกกว่าการใช้กระป๋อง ขวดแก้วยังน่าจะเป็นภัยกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แถมยังได้อารมณ์ของความเก๋าของเครื่องดื่มรุ่นเก่าด้วย แต่เขาก็ส่งเบียร์สดตามบาร์ด้วย นอกจากกระป๋องและขวดแล้ว ก็ยังหาดื่มได้ตามแทปเบียร์ในบาร์ทั่วเมือง
ดูจากขนาดแล้ว โรงเบียร์แห่งนี้ผลิตไม่มาก น่าจะแค่พอขายในประเทศแคนาดา ไม่มีการผลิตที่ไหนอีก แต่ราคาเขาก็ปกติของเบียร์ที่แคนาดา คือถ้าเบียร์สดในบาร์แก้วขนาด 500-600 cc ก็ราวๆ 6-7 เหรียญแคนาดา (150-180 บาท) ถ้าใส่กระป๋องหรือขวด ก็ถูกลงไปครึ่งหนึ่ง
 
ความมึนเมาถ้าฉลาดจัดการ ก็ไม่เห็นเป็นปัญหาที่ตรงไหน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่กับวัฒนธรรมการกินดื่มของมนุษย์มานานกว่าศาสนาไม่กี่ศาสนาที่มาห้ามการดื่มกิน แต่ก็คงอีกนานที่ประเทศไทยจะเลิกดัดจริตกับเรื่องการดื่ม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้