Skip to main content

รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เพราะคนไทยติดใจรักใครรถกระบะเป็นพิเศษหรอก แต่เพราะโครงส้รางราคารถและราคาน้ำมัน รวมทั้งโครงสร้างการขนส่งในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้รถกระบะเป็นที่นิยม การที่รัฐไม่พัฒนาระบบการขนส่งมวลชน ไม่พัฒนาระบบรถไฟทั่วประเทศ แต่อาศัยหากินกับการผลิตและการขายรถยนตร์นี่แหละ ที่ทำให้การบริโภครถกระบะเติบโตขึ้นมา
หลายคนคงรู้ดีกว่าผมว่า ประเทศไทยผลิตรถกระบะทั้งขายและส่งออกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่หากกวาดตาดูประเทศรอบบ้าน หรือมองให้ไกลไปว่าประเทศไทย มีประเทศไหนบ้างที่ใช้รถกระบะมากทั้งจำนวนและประเภทการใช้งานเท่าประเทศไทย ไม่มีหรอกครับ
เมื่อสักยี่สิบปีที่ผ่านมา รถกระบะจึงเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม ไม่เพียงคนซื้อรถกระบะแบบใช้นั่งสองคนแล้วมีกระบะบรรทุกด้านหลัง รถกระบะเองยังพัฒนาการออกแบบให้มี "แคป" นั่งหลังได้ แถมพัฒนาประตูให้เปิดกลับด้าน เพื่อให้ขึ้นนั่งบนแคปได้ รถกระบะจึงกลายเป็นรถอเนกประสงค์ แล้วมีการดัดแปลงใช้โครงสร้างรถกระบะต่อเติมเป็นรถแวน เรียกลูกค้าที่อยากใช้รถแวนราคาประหยัดได้อีกจำนวนมาก
การดัดแปลงรถกระบะเป็นรถสองแถวก็ไม่ใช่สิ่งที่เก่าแก่อะไรนัก เพิ่งจะมีมาเมื่อไม่เกิน 30 ปีมานี้เอง เดิมทีสมัยผมเด็กๆ ในกรุงเทพฯ หรือรวมทั้งรถโดยสารราคาถูกในต่างจังหวัด รถสองแถวล้วนแต่เป็นรถบรรทุก 6 ล้อที่ดัดแปลงมาเป็นรถโดยสารประจำทาง รถกระบะถูกดัดแปลงเป็นรถสองแถวเมื่อไม่นานมานี้เอง อาจจะด้วยความคุ้มทุนกว่า ขนาดเล็กเหมาะกับถนนเมืองไทยมากกว่า คล่องตัวกว่า และน่าจะประหยัดกว่ารถบรรทุก
เพื่อนๆ ญาติๆ ผมหลายคนเปรยอยู่เสมอๆ ว่า หากจะซื้อรถ เขาไม่อยากซื้อรถเก๋งหรอก ซื้อรถกระบะดีกว่า ได้ประโยชน์กว่า ขนได้ทั้งของและคน เรื่องบรรทุกคนท้ายรถกระบะเป็นเรื่องธรรมดา ผมเองก็ยังเคยนั่งท้ายรถกระบะระยะทางเป็นร้อยกิโลมาแล้ว แถมรถกระบะยังสมบุกสมบัน อายุการใช้งานยาวนาน และประหยัดค่าน้ำมันมากกว่า
ความผูกพันกับรถกระบะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ดัดแปลงไปมากมาย คนอยู่บนเขา นอกจากจะเชี่ยวชาญการขับรถบนที่สูงแล้ว รถกระบะแรงดี พอถึงหน้าฝน ถนนเข้าหมู่บ้านมีแต่ดินเบน รถกระบะยังถูกดัดแปลงเอาโซ่พันล้อ ให้วิ่งได้ราวรถตีนตะขาบ ตะกุยดินเลนได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งกว่ารถขับเคลื่อนสี่ล้อ
เมื่อสิบกว่าปีมานี้ รถกระบะจึงกลายเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง และยิ่งกว่านั้นคือ รถกระบะกลายเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม รถกระบะถูกใช้เป็นพาหนะบรรทุกคนและถังน้ำเล่นสาดน้ำกันในช่วงสงกรานต์ นั่นเป็นภาพที่เห็นกันทั่วไป
นอกจากนั้น สักสิบปีมานี้ ยังมีการดัดแปลงรถกระบะติดเครื่องเสียง เปิดเสียงดังชนิดจะเรียกเผื่อแผ่หรือยัดเยียดเพื่อนร่วมท้องถนนก็แล้วแต่มุมมอง แต่ชมรมคนรักเครื่องเสียงติดท้ายรถกระบะก็สร้างวัฒนธรรมการใช้รถพ่วงไปกับรสนิยมการฟังเพลงเน้นจังหวะและการเต้นท้ายรถกระบะ งานมอร์เตอร์โชว์ไทยจึงไม่เหมือนที่ไหนในโลก ที่รถกระบะกลายเป็นสื่อทางเพศแบบเน้นผู้ชายมองเรือนร่างผู้หญิงยิ่งกว่ารถเก๋ง ใครจะชอบหรือไม่ชอบวัฒนธรรมแบบนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง
หากเห็นว่าการใช้รถกระบะอย่างทุกวันนี้เป็นความผิดเพี้ยน มันก็ผิดเพี้ยนบิดเบี้ยวกันมาตั้งแต่โครงสร้างการจัดการการคมนาคม และเหนืออื่นใดคือความด้อยประสิทธิภาพของรัฐในการจัดการนโยบายการขนส่งนั่นแหละ แทนที่จะมาไล่เบี้ยเล่นงานแต่กับคนรายได้จำกัด สู้เอาสมองไปคิดถึงการจัดการเรื่องใหญ่ๆ ไม่ดีกว่าเหรอครับ หรือเพราะไม่เคยถูกฝึกให้คิดเรื่องใหญ่ ถูกฝึกให้ใช้แต่กำลัง ก็เลยเห็นแต่วิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย