Skip to main content

ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 

ยิ่งจากคำชี้แจงอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยเองแล้ว (ดู http://www.chula.ac.th/th/archive/63023) ยิ่งชี้ว่า ระบบการศึกษาไทยไม่เพียงจะยังไม่ก้าวหน้าทางวิชาการ แต่ยังยิ่งกลับถดถอยเสื่อมทรามในทางคุณธรรม ไม่ว่าจะวัดกันด้วยหลักจริยธรรมแบบไทย หรือหลักจริยธรรมสากลคือหลักสิทธิมนุษยชน 

จากคำชี้แจงของมหาวิทยาลัย กลับกลายเป็นว่ามหาวิทยาลัยเรียกร้องให้สังคมเห็นใจอาจารย์ที่กระทำความผิด ไม่ได้แสดงความเห็นใจต่อนิสิตที่ถูกทำร้าย แล้วนิสิตที่ถูกทำร้ายเขาเป็นอย่างไรบ้าง สภาพจิตใจเขาจะยิ่งเลวร้ายกว่าอาจารย์ไหม ไม่มีการกล่าวถึง 

ความแตกต่างทางความคิดจะต้องลงเอยด้วยความรุนแรงแบบนี้หรือ แล้วถ้าบรรดาอาจารย์ (จากคลิปคุณฟ้ารุ่ง ไม่ใช่คนเดียวที่ไร้วุฒิภาวะ) ประพฤติตนอย่างนี้ จะยังเป็นครูอยู่ได้อย่างไร จะมาเรียกร้องเอาจริยธรรมจากนิสิตได้อย่างไร  

มหาวิทยาลัยจะกลบเกลื่อนความผิดนี้ด้วยการขอความเห็นใจจากสังคมไม่ได้ การกระทำรุนแรงแบบนี้เกินกว่าเหตุแน่นอน มีความผิดอาญา เกินกว่าจะอาศัยความเห็นใจมาบดบังความผิด ไม่สมควรที่จะเพิกเฉยและปล่อยให้การกระทำผิดลอยนวลจนเป็นเหตุให้อาจเกิดความรุนแรงขึ้นอีก และอาจเลวร้ายกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปอีก 

ในระดับของมหาวิทยาลัยเอง สภาอาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรออกมาแสดงความรับผิดชอบไต่สวนวินัยอาจารย์เรื่องนี้ โดยให้ความเป็นธรรมแก่นิสิตเป็นหลัก ถึงอย่างไร คนที่สมควรมีวุฒิภาวะมากกว่าก็คืออาจารย์ไม่ใช่หรือ ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจารย์ต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่า คือหากอาจารย์ผิดก็ควรต้องถือว่าผิดมากกว่านิสิต ร้ายแรงกว่าความผิดของนิสิต เพราะต้องรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรมากกว่า ต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจมากกว่า 

มหาวิทยาลัยและสาธารณชนต้องแยกการให้ความเห็นใจต่อสภาวะจิตใจปัจจุบันของอาจารย์คนนั้น ออกจากกรรมที่ที่เขาได้ก่อไปแล้ว อย่างน้อยระหว่างก่อกรรมนั้น คนคนนี้ก็ไม่ได้อยู่ในภาวะวิปลาสไม่ใช่หรือ หรือหากเป็นเช่นนั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็น่าสงสัยว่ามหาวิทยาลัยจะปล่อยให้เขามีสภาวะจิตที่ไม่สามารถดำเนินการเรียนการสอนอยู่ได้อย่างไร  

สาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า แล้วอาจารย์คนนี้จะถูกสอบสวนทางวินัยไหม อยู่ในสภาพที่ยังสามารถสอนหนังสือได้ไหม ยังมีวุฒิภาวะ มีสภาวะจิตใจที่ยังเป็นครูได้ไหม หากยังไม่พร้อม สมควรพิจารณาพักงานเขาไหม 

ถึงที่สุดแล้ว ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วยกัน ผมเสียใจที่ได้เห็นว่าความเป็นครูจะบ่นปี้กันไปขนาดไหน ความมั่นใจของนิสิตต่อครูบาอาจารย์จะเป็นอย่างไร และยิ่งน่าสงสัยว่า ในระบบการศึกษาปัจจุบันที่เน้นการแข่งขันมุ่งเน้นกันแต่คะแนนประกันคุณภาพสูงๆ แข่งกันไต่อันดับในเวทีมหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก จะดำเนินไปโดยไม่ใส่ใจต่อระบบอำนาจนิยม หรือเลวร้ายกว่านั้นคือความไร้จริยธรรมของอาจารย์ ความขาดสติยั้งคิดของอาจารย์อย่างนั้นหรือ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย