Skip to main content

ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 

กรณีทุบรถ คนทุบมีฐานะดี มีอำนาจต่อรองสูง ทำลายของส่วนบุคคล ละเมิดของส่วนตัว ไม่ได้ตั้งใจประท้วงปัญหานโยบายแต่แรก โทสะส่วนบุคคล ส่วนการขยายไปเป็นเรื่องสาธารณะนั้น ไม่แน่ใจว่าคนทุบรถคิดไว้แต่แรกหรือเปล่า หรือเพราะสื่อมวลชนและสังคมขยายประเด็นกันไปเอง 

ที่น่าแปลกใจก็คือ คนทุบรถกลายเป็นผู้มีส่วนเปิดโปงปัญหาของการบริหารราชการไป ทั้งๆ ที่อันที่จริงเป็นการละเมิดผู้อื่นที่มากีดขวางทางตน ไม่ได้ตั้งใจประท้วงความผิดผลาดเชิงนโยบายหรือการบริหารอะไรเลย  

กรณีทุบลิฟ คนทุบเป็น "คนพิการ"* อำนาจต่อรองน้อย ทำลายของสาธารณะ ตั้งใจทำเพื่อประท้วงปัญหาการบริหารและนโยบาย อาจมีโทสะส่วนตัว แต่การบันดาลโทสะในที่นี้ถือเป็นตัวแทนปัญหาส่วนรวมที่กว้างใหญ่กว่ากรณีทุบรถมาก อาจไม่ได้คิดวางแผนแต่แรกเช่นกัน แต่เป็นไปได้ว่าจะคิดทำให้เป็นประเด็นสาธารณะด้วยวิธีใดมานานแล้ว เพราะประสบปัญหานี้ด้วยตนเองมานานแล้ว 

แต่ผมกำลังคิดว่า กรณีนี้จะไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากรณีแรก ส่วนหนึ่งเพราะสังคมไทยสนใจคนพิการน้อยอยู่แล้ว มีคนเคารพที่จอดรถที่มีสัญลักษณ์รถเข็นมากน้อยแค่ไหน กฎหมายมีบทลงโทษการจอดรถในที่คนพิการจริงจังแค่ไหน มีบัตรสำหรับคนพิการใช้แสดงสิทธิพิเศษในการจอดที่แบบนั้นไหม เพราะคนพิการบางคนไม่ได้ต้องนั่งรถเข็นเสมอไป แต่เขาสัญจรลำบากไม่น้อยกว่าคนใช้รถเข็น 

เห็นได้ชัดว่าสังคมไทยหมักหมมปัญหานี้ไว้ ไม่ถือว่าคนเหล่านี้เป็นคนเท่ากับคนที่เดินเหินสบาย สังคมไทยไม่เอาใจใส่กับสิทธิการสัญจรไปมาของพวกเขา ไม่ต้องอะไรมาก ไปดูกระทรวงสาธารณสุขสิครับ ดูสิว่ารถวีลแชร์คันไหนจะวิ่งบนทางเท้าในกระทรวงนี้ได้บ้าง ลำพังแค่คนจะเดินบนทางเท้าในกระทรวงนี้ยังลำบากเลย นี่ขนาดกระทรวงที่ตามหน้าที่ต้องดูแลสุขภาวะของคนนะครับ 

ฉะนั้น กรณีทุบรถมีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งส่วนตัว ที่มีปัญหาเชิงนโยบายและการบริหารเป็นโครงสร้างอีกชั้น คนทุบไม่ได้ทุบไปที่ตัวปัญหาใหญ่ ส่วนกรณีทุบลิฟมีพื้นฐานจากความขัดแย้งระหว่างสังคม แสดงออกผ่านคนพิการ กับปัญหาเชิงนโยบายและการบริหารของรัฐและบริษัทสัมปทานจากรัฐ เป็นการทุบไปที่ปัญหาใหญ่ 

กรณีทั้งสองชวนให้นึกถึง civil disobedience แล้วนึกเทียบว่าบางกรณีอาจเป็น uncivil disobedience การประท้วงสังคม ประท้วงรัฐ ผ่านการสื่อสารด้วยวิธีรุนแรง ส่วนหนึ่งเป็นการทำผิดเพื่อให้สังคมรับรู้ปัญหา  

การที่คนในสังคมต้องใช้วิธีรุนแรงตัดสินปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐหรือบริการสาธารณะ ย่อมชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของสถาบันการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งก็คือกระบวนการยุติธรรมหรือองค์กรกลางที่ทำงานอย่างที่ควรทำ ถ้าสถาบันเหล่านั้นทำงานอย่างแข็งขัน จริงจัง อย่างเสมอหน้ากัน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล คนที่ลงไม้ลงมือกันเองก็คงไม่เกิดบ่อยนักขนาดนี้ 

แต่ในสังคมที่สถาบันจัดการความขัดแย้งไม่ทำงานดี หรือไม่มีเอาเสียเลย การประท้วงรุนแรง การจัดการปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีรุนแรงของประชาชนด้วยกันเอง การปะทะกัน ก็จะเกิดขึ้นอีกต่อไปเรื่อยๆ เพราะประชาชนไม่ไม่ที่พึ่งที่ดีกว่าการลงมือลงไม้กันนั่นเอง

*หมายเหตุ: มีผู้อยู่ในแวดวงนักต่อสู้เพื่อคนพิการท้วงติงว่า คำว่า “คนทุพลภาพ” ไม่เหมาะสม ขอเปลี่ยนคำเป็น "คนพิการ" ตามข้อท้วงติงครับ ภาษาอังกฤษปัจจุบันก็พยายามเลี่ยงคำว่า disable ไปใช้คำว่า physically challenged แทน อาจแปลว่า “ผู้ประสบความท้าทายทางกายภาพ”

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย