Skip to main content

ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 

กรณีทุบรถ คนทุบมีฐานะดี มีอำนาจต่อรองสูง ทำลายของส่วนบุคคล ละเมิดของส่วนตัว ไม่ได้ตั้งใจประท้วงปัญหานโยบายแต่แรก โทสะส่วนบุคคล ส่วนการขยายไปเป็นเรื่องสาธารณะนั้น ไม่แน่ใจว่าคนทุบรถคิดไว้แต่แรกหรือเปล่า หรือเพราะสื่อมวลชนและสังคมขยายประเด็นกันไปเอง 

ที่น่าแปลกใจก็คือ คนทุบรถกลายเป็นผู้มีส่วนเปิดโปงปัญหาของการบริหารราชการไป ทั้งๆ ที่อันที่จริงเป็นการละเมิดผู้อื่นที่มากีดขวางทางตน ไม่ได้ตั้งใจประท้วงความผิดผลาดเชิงนโยบายหรือการบริหารอะไรเลย  

กรณีทุบลิฟ คนทุบเป็น "คนพิการ"* อำนาจต่อรองน้อย ทำลายของสาธารณะ ตั้งใจทำเพื่อประท้วงปัญหาการบริหารและนโยบาย อาจมีโทสะส่วนตัว แต่การบันดาลโทสะในที่นี้ถือเป็นตัวแทนปัญหาส่วนรวมที่กว้างใหญ่กว่ากรณีทุบรถมาก อาจไม่ได้คิดวางแผนแต่แรกเช่นกัน แต่เป็นไปได้ว่าจะคิดทำให้เป็นประเด็นสาธารณะด้วยวิธีใดมานานแล้ว เพราะประสบปัญหานี้ด้วยตนเองมานานแล้ว 

แต่ผมกำลังคิดว่า กรณีนี้จะไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากรณีแรก ส่วนหนึ่งเพราะสังคมไทยสนใจคนพิการน้อยอยู่แล้ว มีคนเคารพที่จอดรถที่มีสัญลักษณ์รถเข็นมากน้อยแค่ไหน กฎหมายมีบทลงโทษการจอดรถในที่คนพิการจริงจังแค่ไหน มีบัตรสำหรับคนพิการใช้แสดงสิทธิพิเศษในการจอดที่แบบนั้นไหม เพราะคนพิการบางคนไม่ได้ต้องนั่งรถเข็นเสมอไป แต่เขาสัญจรลำบากไม่น้อยกว่าคนใช้รถเข็น 

เห็นได้ชัดว่าสังคมไทยหมักหมมปัญหานี้ไว้ ไม่ถือว่าคนเหล่านี้เป็นคนเท่ากับคนที่เดินเหินสบาย สังคมไทยไม่เอาใจใส่กับสิทธิการสัญจรไปมาของพวกเขา ไม่ต้องอะไรมาก ไปดูกระทรวงสาธารณสุขสิครับ ดูสิว่ารถวีลแชร์คันไหนจะวิ่งบนทางเท้าในกระทรวงนี้ได้บ้าง ลำพังแค่คนจะเดินบนทางเท้าในกระทรวงนี้ยังลำบากเลย นี่ขนาดกระทรวงที่ตามหน้าที่ต้องดูแลสุขภาวะของคนนะครับ 

ฉะนั้น กรณีทุบรถมีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งส่วนตัว ที่มีปัญหาเชิงนโยบายและการบริหารเป็นโครงสร้างอีกชั้น คนทุบไม่ได้ทุบไปที่ตัวปัญหาใหญ่ ส่วนกรณีทุบลิฟมีพื้นฐานจากความขัดแย้งระหว่างสังคม แสดงออกผ่านคนพิการ กับปัญหาเชิงนโยบายและการบริหารของรัฐและบริษัทสัมปทานจากรัฐ เป็นการทุบไปที่ปัญหาใหญ่ 

กรณีทั้งสองชวนให้นึกถึง civil disobedience แล้วนึกเทียบว่าบางกรณีอาจเป็น uncivil disobedience การประท้วงสังคม ประท้วงรัฐ ผ่านการสื่อสารด้วยวิธีรุนแรง ส่วนหนึ่งเป็นการทำผิดเพื่อให้สังคมรับรู้ปัญหา  

การที่คนในสังคมต้องใช้วิธีรุนแรงตัดสินปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐหรือบริการสาธารณะ ย่อมชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของสถาบันการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งก็คือกระบวนการยุติธรรมหรือองค์กรกลางที่ทำงานอย่างที่ควรทำ ถ้าสถาบันเหล่านั้นทำงานอย่างแข็งขัน จริงจัง อย่างเสมอหน้ากัน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล คนที่ลงไม้ลงมือกันเองก็คงไม่เกิดบ่อยนักขนาดนี้ 

แต่ในสังคมที่สถาบันจัดการความขัดแย้งไม่ทำงานดี หรือไม่มีเอาเสียเลย การประท้วงรุนแรง การจัดการปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีรุนแรงของประชาชนด้วยกันเอง การปะทะกัน ก็จะเกิดขึ้นอีกต่อไปเรื่อยๆ เพราะประชาชนไม่ไม่ที่พึ่งที่ดีกว่าการลงมือลงไม้กันนั่นเอง

*หมายเหตุ: มีผู้อยู่ในแวดวงนักต่อสู้เพื่อคนพิการท้วงติงว่า คำว่า “คนทุพลภาพ” ไม่เหมาะสม ขอเปลี่ยนคำเป็น "คนพิการ" ตามข้อท้วงติงครับ ภาษาอังกฤษปัจจุบันก็พยายามเลี่ยงคำว่า disable ไปใช้คำว่า physically challenged แทน อาจแปลว่า “ผู้ประสบความท้าทายทางกายภาพ”

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน